วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ราชอาณาจักรอิตาลี v.1

ราชอาณาจักรอิตาลี

ตราแผ่นดินราชอาณาจักรอิตาลี

            ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชอาณาจักรอิตาลี (Kingdom of Italy) เพิ่งจะก่อเกิดและรวมชาติกันใหม่อีกครั้งและโลกรู้จักกันในนามของราชอาณาจักรอิตาลี


ราชาอาณาจักรอิตาลีในปี 1861-1946

     
            ราชอาณาจักรอิตาลีได้มีการสถาปนาขึ้นในปี 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลายๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรชาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ
     
            การรวมชาติของอิตาลีในระยะแรกอาจจะยังไม่สงบดีนัก แต่เมื่อมาถึงปี 1870 การเมืองในอิตาลีก็เริ่มนิ่งลงเมื่อพวกเสรีนิยมเข้ามามีอำนาจ
      
คามิลโล เบนโซ ดิ คาวัวร์, นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งราชอาณาจักรอิตาลีหลังการรวมชาติ
            ยุคเสรีนิยม (ค.. 1870-1914) หลังจากการรวมชาติ ทิศทางการเมืองของประเทศอิตาลีเป็นไปในวิถีทางของลัทธิเสรีนิยม  สิทธิในทางการเมืองถูกกระจายออกเป็นส่วนๆ และนายกรัฐมนตรีหัวอนุรักษนิยม มาร์โค มิเจตตี ก็ได้รักษาอำนาจในตำแหน่งของตนไว้ด้วยการออกนโยบายเชิงปฏิวัติและและเอียงซ้าย(เช่น การดึงเอากิจการรถไฟมาเป็นของชาติ) เพื่อเอาใจฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในปี 1876 มิเจตตีได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแทนที่ด้วยอากอสติโนเดพรสติส ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสมัยแห่งเสรีนิยมอันยาวนาน ยุคแห่งเสรีนิยมนี้เป็นที่จดจำจากการฉ้อราษฏร์บังหลวง รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ ภาวะความยากจนที่ยยังกำรงอยู่ในอิตาลีตอนใต้ และการใช้มาตรการแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาลอิตาลี
    
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิตาลีหลังการรวมชาติ
           เดเพรสติสเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีโดยการริเริ่มทดลองแนวคิดทางการเมืองที่เรียกว่า ทรานสฟอร์มิสโม(“Transformismo”แนวคิดปฏิรูปนิยม) หลักของแนวคิดนี้ก็คือ คณะรัฐมนตรีควรเบือกนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ โดยต้องมีความหลากหลาย และนักการเมืองที่เลือกมาต้องเป็นที่มีความสามารถและความเหมาะสมจากผู้ที่มีทัศนะไม่เป็นกลุ่มหัวรุนแรง (non-partisan perspective) แต่ในทางปฏับติ แนวคิดทรานสฟอร์มิสโมเป็นแนวคิดที่ผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จและมีปัญหาการคอรัปชั่น


จูเซปเป การีบัลดี ผู้นำทางการทหารคนสำคัญในการรวมชาติอิตาลี
    
            เดเพรสติสได้กดดันให้บรรดาอำเภอต่างๆ ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของเขา เพื่อแลกกับการได้รับการผ่อนปรนอันเป็นที่น่าพอใจจากเดเพรสติสในขณะที่เขาอยู่ในอำนาจ ผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1876 ปรากฏว่ามีผู้สมัครเพียง 4 คนจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาเท่านั้นที่ได้รับเลือกตั้ง อันเปิดการเปิดทางให้เดเพรสติสสามารถเข้าครอบงำรัฐบาลได้ เชื่อกันว่าการกดขี่และการฉ้อราษฏร์บังหลวงที่เกิดขึ้นในหลายคราวเป็นกุญแจสำคัญที่เดเพรสติสใช้จัดการเพื่อรักษาคะแนนเสียงสนับสนุนของเขาในอิตาลีตอนใต้ เดเพรสติสได้ใช้มาตรการเผด็จการเบ็ดเสร็จต่างๆ ในการบริหารบ้านเมือง เช่นห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ การส่งตัวบุคคลที่เป็น อันตรายไปเนรเทศในเกาะที่ห่างไกลของอิตาลี และการออกนโยบายแบบทหารนิยม (militarist policies) เขายังได้ผ่านกฏหมายซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งในหลายคราว เช่นการยกเลิกการจำคุกเพื่อใช้หนี้ การให้การศึกษาขั้นประถมศึกษาแบบให้เปล่า และการบังคับให้เลิกการสอนวิชาศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษา


ฟรานเชสโก คริสปี ผู้ส้งเสริมให้อิตาลีล่าอาณานิคม
     
           ในปี 1887 ฟรันเชสโก คริสปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศ เขาได้พยายามที่จะทำให้อิตาลีได้เป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจของโลกด้วยการเพิ่มงบประมาณทางการทหารสนับสนุสให้อิตาลีมีการขยายอาณาเขต และพยายามเอาใจจักรวรรดิเยอรมนีอิตาลีได้เข้าร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรทีมีทั้งจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นสมาชิกอยู่ด้วยในปี 1882 และมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการจนถึงปี 1915
     
กลุ่มไตรพันธมิตรในปี ค.ศ. 1913 แสดงด้วยพื้นที่สีแดง
     
          ในขณะที่คริสปีได้ช่วยพัฒนาอิตาลีในเชิงยุทธศาสตร์ เขาก็ยังคงบริหารบ้านเมืองตามแนวทางทรานสฟอร์มิสโมต่อไปด้วยความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดดังปรากฏว่าครั้งหนึ่งเขาคิดจะใช้กฏอัยการศึกในปิดกั้นพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ถึงแม้เขาจะเป็นเผด็จการโดยการใช้อำนาจรัฐก็ตาม คริสปีก็ยังได้ออกนโยบายในเชิงเสรีนิยมออกมาบ้างเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การตราพระราชบัญญัติการสาธารณสุขในปี 1888 หรือการก่อตั้งองค์คณะศาลเพื่อพิจารณาชดเชยสำหรับการใช้อำนาจโดยมิชอบจากรัฐบาล เป็นต้น
     
           สังคมของชาวอิตาลีหลังจากการรวมชาติและตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของยุคเสรีนิยม เป็นไปในลักษณะของสังคมที่แบ่งแยกอย่างเด่นชัดทั้งในเรื่องของชนชั้น ภาษา ภูมิภาค และระดับทางสังคม
    
          โดยทั่วไปลักษณะทางวัฒนธรรมของอิตาลีในเวลานั้นเป็นสังคมแบบอนุรักษนิยมโดยธรรมชาติ เช่น การเชื่อมั่นในคุณค่าของครอบครัวอย่างแรงกล้าหรือและค่านิยมของการนับถือบิดาเป็นใหญ่ในครอบครัว
    
           ในการรวมชาติอิตาลีขึ้นมานั้น ราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ก็พบเจอกับปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตลอดจนไปถึงปัญหาทางการเมือง สังคม และการแบ่งแยกชนชาติและชนขั้น ในช่วงยุคสมัยใหม่ของอิตาลีนี้สภาพทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าขายจากต่างประเทศ และการส่งออกถ่านหิน
     
           และจากการรวมชาตินี้เอง ทำให้อิตาลีกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการทำงานของประชาชนในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในแถบยุโรปถึง 60% ของประชากร และกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนศาสนาจักรเองก็มีทรัพย์สินจำนวนมากมายจากการบริจาคในประเทศ และยังมีการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศที่รุนแรงอีกด้วย ทำให้ช่องทางและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศในภาคเกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากการรวมชาติขึ้นมาได้ไม่นาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งหมดในช่วงระยะเวลานี้ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมทางใต้ของอิตาลีต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนในช่วงฤดูร้อน,ความแห้งแล้ง,และไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตรได้ ซ้ำยังต้องเผชิญกับการระบาดของไข้มาลาเรียในพื้นที่เสื่อมโทรมตลอดทั้งชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
      
             เมื่อเกิดรัฐชาติที่ชัดเจนแล้ว อิตาลีก็มีแนวความคิดเรื่องการล่าอาณานิคมไม่ต่างจากชาติอื่นๆ ในยุโรป โครงการสร้างอาณานิคมจำนวนมากได้ผ่านการรับรองจากรัฐบาลอิตาลี เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากกลุ่มชาตินิยมและจักรวรรดินิยมชาวอิตาลี

          
เมืองมาสซาวา หรือประเทศเอริเทรียในปัจจุบัน
              
             ชาวอิตาลีมีความคิดในเรื่องการจะสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในเวลานั้นอิตาลีได้มีเขตที่ชาวอิตาลีได้ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ไคโร และตูนิสบนทวีปแอฟริกาเหนืออยู่แล้ว ประเทศอิตาลีได้พยายามแสวงหาอาณานิคมครั้งแรกผ่านการเจรจากับชาติมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อขอสัมปทานดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นอาณานิคมของอิตาลี ซึ่งการเจรจาดังกล่าวปรากฏว่าล้มเหลว นอกจากนั้น อิตาลียังได้ส่งมิชชันนารีไปยังดินแดนที่ยังไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมเพื่อสืบหาช่องทางที่จะยืดครองเป็นอาณานิคมของอิตาลี พื้นที่ที่อิตาลีมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างอาณานิคมของตนขึ้นได้จริงมากที่สุดก็คือทวีปแอฟริกา มิชชันนารีของอิตาลีได้เริ่มบุกเบิกการเผยแผร่ศาสนาที่เมืองมาสซาวา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเอริเทรีย) และเริ่มเดินทางลึกเข้าไปในจักรวรรดิเอธิโอเปียในช่วงทศวรรษที่ 1830


To be continue...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น