วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนที่ 2 แนวรบด้านตะวันออก

สงครามโลกครั้งที่ 1



สงคราม ค.. 1914-1915

ตอนที่ 2 แนวรบด้านตะวันออก
   
ภาพแสดงการเคลื่อนทัพของกองทัพรุสเซีย 1914

       เมื่อรุสเซียเคลื่อนทัพมาเป็นสองทางคือยุโรปไปทางทิศเหนือและตะวันตกจากโปแลนด์เพื่อเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออกทางหนึ่ง
    
       และอีกทัพหนึ่ง ก็ยกลงไปทางใต้เพื่อเข้าโจมตีออสเตรีย  ฮังการี
    
กลาง นายพลฟอน ฮินเดนเบิร์ก
       การเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออก กองทัพของของรัสเซียต้องเข้าประจัญบานกับกองทัพเยอรมนีที่มีอาวุธที่ดีกว่าและทันสมัยกว่าอีกทั้งยังมีแม่ทัพที่ดีกว่านั่นคือมีนายพลฟอน ฮินเดนเบิร์ก(Fol Hindenburg) และนายพลลูเดนเดอร์ฟ เป็นผู้นำทัพของเยอรมนี
      
       การรบที่เทนเนนเบิร์ก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25-30 สิงหาคม กับการรบที่ทะเลสาบมาซูเรียน ในวันที่ 4-10 กันยายน ทั้งสองครั้งนี้ทำให้กองทัพรัสเซียถูกกองทัพเยอรมนีเข้าตีแตกพ่ายอย่างไม่เป็นท่า จนดูเหมือนว่าจะไม่สามารถจะกลับมารวมตัวกลับมาโจมตีใหม่ได้อีกต่อไป
     
       ขณะที่ทางด้านออสเตรียนั้น กลับปรากฏว่ารุสเซียมีชัยชนะติดต่อกันได้หลายครั้ง โดยได้เข้ายึดครองภาคตะวันออกของกาลิเซียส่วนใหญ่ไว้ได้ และทำลายทั้งผู้คนและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงอย่างมหาศาล
    
แผนที่แคว้นกาลิเซีย ที่รุสเซียยึดไว้ได้
       ทำให้ฝ่ายเยอรมนีมองว่าจำเป็นที่จะต้องช่วยบรรเทาเหตุแห่งการโจมตีของรัสเซียที่มีต่อออสเตรียลงได้บ้าง จึงได้ว่างปฏิบัติการตอบโต้โปแลนด์
    
ทหารเยอรมนีกำลังเคลื่อนพลผ่านกรุงวอร์ซอ
หลังจากชัยชนะเหนือรุสเซีย 1915
       กองทัพรุสเซียวางแผนที่จะโจมตีหลายทิศทางโดยพุ่งเป้าหมายไปยังแคว้นกาลีเซีย(Galicia)ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และปรัสเซียตะวันออกของเยอรมนีถึงแม้ว่าการรุกเข้าไปยังแคว้นกาลิเซียจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ด้านปรัสเซียตะวันออกนั้นกลับถูกตีโต้ออกมาหลังความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเทนเนนเบิร์กและยุทธการทะเลสาบมาซูเรียนครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของปี 1914 เนื่องจากพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงรัสเซียและการนำกองทัพที่ไม่มีประสิทธิภาพกำลังจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของรุสเซียในไม่ช้านี้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1915 กองทัพปรัสเซียได้ถอยทัพถึงแคว้นกาลิเซีย และเดือนพฤษภาคม กองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ตีแนวรบรุสเซียด้านทางทิศใต้ในโปแลนด์ได้อย่างน่าประหลาดใจ วันที่ 5 สิงหาคมกรุงวอร์ซอแตกและกองทัพรุสเซียล่าทัพออกจากโปแลนด์อีก เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม การล่าถอยครั้งใหญ่ ของรุสเซีย และ การรุกครั้งใหญ่ ของเยอรมนี
     
แผนที่สงครามระหว่างตะวันออกและตก ในสงครามโลกครั้งที่ 1
 
       สรุปได้ว่า ทางด้านแนวรบตะวันออก แม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแนวรบด้านตะวันตก แต่เมื่อสิ้นปี 1914 ก็นับได้ว่าทั้งสองฝ่ายสามารถยันกันเอาไว้อยู่และไม่มีอะไรคืบหน้า ในปี 1915 เยอรมนี ได้ทำการรุกทางแนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีลึกเข้าไปในโปแลนด์ และเข้ายึดกรุงวอร์ซอและเมืองวิลนาได้ รัสเซียเสียทหารและล้มตายไปในสงครามด้านแนวรบตะวันออกนี้ร่วม 1 ล้านคน

     

       และนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา รุสเซียก็ไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวอีกต่อไปต่อมหาอำนาจกลาง แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะพ่ายแพ้เสียทีเดียวหากแต่ยังมีสถานะเป็นคู่สงครามอยู่ และรุสเซียยังได้พยายามอีกครั้งในปี 1916 โดยการโจมตีครั้งใหญ่แต่ก็ทำให้ทหารรุสเซียตายลงอีกจำนวนมากเช่นเดิม ---

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 1 #แนวรบด้านตะวันตก

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงคราม ค.. 1914 – 1915
     
       หลังจากที่กระสุนนัดแรกดังขึ้นมาแล้ว แผนการ การสงครามก็ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
       
       บทความบทนี้จะนำเสนอ ถึงแต่ละจุดของสงครามไม่ว่าจะเป็นทิศเหนือ ใต้ ออก ตก หรือแม้กระทั่งคาบสมุทรต่างๆ โดยจะเริ่มจาก แนวรบด้านตะวันตกก่อน
    
       ตอนที่ 1  แนวรบด้านตะวันตก เยอรมนี ฝรั่งเศส ในสงครามแห่งลุ่มแม่น้ำมาร์น (Maene)
   
       ในแนวรบด้านตะวันตกนี้ หมายถึงการรุกเพื่อเข้าไปโจมตีฝรั่งเศสของเยอรมนี
    
       กล่าวกันว่าแผนสงครามดั้งเดิมของเยอรมนีนั้นมีความมุ่งหมายที่จะทุ่มเทกำลังทหารเข้าสู่ฝรั่งเศส และจะโจมตีฝรั่งเศสให้ชนะโดยเร็วที่สุด คือไม่เกินสองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งการที่จะให้สำเร็จดังนี้ จะต้องดำเนินไปตามที่แผนที่ชื่อว่า ชลีฟเฟน
     
แผนที่แสดงแนวรบบริเวณแม่น้ำมาร์น(Marne)
       
       นั่นคือ ต้องทุ่มเทกองทัพจำนวนมากเข้าสู่ฝรั่งเศสโดยผ่านทางเบลเยียมเพราะเป็นทางตัดตรง แล้วจะตีโอบเป็นวงล้อมกองทหารฝรั่งเศสซึ่งเยอรมนีคาดเอาไว้ว่าจะมาตั้งรับอยู่ทางอัลชาช
      
       แผนการชลีฟเฟนนี้เป็นแผนที่ ชลีฟเฟน ซึ่งเป็นประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการของเยอรมนีเป็นผู้คิดขึ้น และถือกันว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ชิ้นเยี่ยม แต่ปรากฏ มอลต์เก ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการแทนชลีฟเฟนได้ปรับปรุงแผนนี้เสียจนกระทั่งแผนไม่ได้ให้ผลอย่างที่คาดเอาไว้แต่ต้นเลย
     
       ทั้งนี้เพราะมอลต์เก ได้ทำให้ปีกขวาของกองทัพใหญ่อ่อนกำลังลงทำให้ขาดกำลังที่จะเป็นในการจะตีเข้าโอบล้อมทหารฝรั่งเศส
      
ทหารฝรั่งเศสในยุทธการแม่น้ำมาร์น
       แต่เดิมแผนการชลีฟเฟนได้มีเป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพเยอรมนีโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่องช้าและความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลากขัดขวางรถไฟขนเสบียงของเยอรมนี ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 1 ( 5- 12 กันยายน )
      
       ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำไปในสัปดาห์แรก ๆ เพราะถูกโจมตีโดยไม่ทันได้ตั้งตัว กระนั้นภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยอฟร์ กองทัพก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว กองทัพบกของฝรั่งเศสสามารถต้านทานการรุกของเยอรมนีได้อย่างกล้าหาญ
   
ทหารฝรั่งเศสตั้งแนวรับหลังคลองแม่น้ำมาร์น
   
       กล่าวว่า การรบอย่างเด็ดขาดเกินขึ้นครั้งแรกที่แม่น้ำมาร์น ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-12 โดยที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้ารบกันอย่างดุเดือนและเมื่อเยอรมนีไม่สามารถยึดกรุงปารีสเอาไว้ได้การรบของทั้งสองฝ่ายจึงต้องหยุดลงลงโดยที่เยอรมนีได้ถอยกำลังไปตั้งมั่นที่แวร์ดัง ที่นี่เองว่ากันว่าเยอรมนีสามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า 230,000 คน แม้ฝ่ายพันธมิตรจะพยายามขับไล่แต่ก็ไม่สำเร็จแถมเยอรมนีก็ได้พยายามเข้ายึดเมืองท่าต่างๆ ทางบริเวณช่องแคบ ทั้งนี้เพื่อที่จะขับไล่อังกฤษให้พ้นจากแผ่นดินทวีปออกไปแต่ก็ยังไร้ผล
    

       กระทั่งสิ้นปี 1914 แนวรบด้านตะวันตกนี้ยังอยู่คงที่ แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างก็เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เหตุการณ์คงที่อยู่เช่นนั้นถึงสามปี
     
สภาพเมืองบริเวณแม่น้ำมาร์นหลังสงครามสงบ
       สงครามในแนวรบด้านตะวันตกนี้กลายเป็นสงครามที่คู่ปฏิปักษ์ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สนามเพลาะเป็นที่มั่นกำบังตน แล้วหาทางสังหารฝ่ายตรงข้ามจนกว่าจะล้มตายไปตามๆ กัน หรือจนกว่าจะหมดกำลังยอมแพ้กันไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
     
       แนวรบด้านตะวันตกมีความยาวจากทะเละเหนือลงมาทางใต้ถึงสวิส คือยาวทอดตามแนวเส้นกั้นเขตแดนฝรั่งเศสและเยอรมนี เว้นไว้เสียแต่ดินแดนในฝรั่งเศสและเบลเยียมที่อยู่ในความยึดครองของเยอรมนี เยอรมนียึดครองเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ และได้เข้ายึดครองดินเดนของฝรั่งเศสอีก 21,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในดินแดนส่วนนี้เป็นแหล่งแร่และถ่านหินที่สำคัญ

     
แม่น้ำมาร์นในปัจจุบัน ในฝรั่งเศส
       การรบที่แม่น้ำมาร์นได้ยุติปัญหาทางแนวรบด้านตะวันตกเป็นระยะเวลาถึงสามปี ในที่สุดได้ทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ในสงคราม ความหวังเยอรมนีเคยยึดมั่นเอาไว้ว่าจะมีชัยชนะอย่างรวดเร็วและสุดท้ายมีเวลา ทำให้สัมพันธมิตรสามารถหาทางเอาชนะเยอรมนีได้ในที่สุด---

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามปะทุ

สงครามปะทุ



หน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ตีพิมพ์เรื่องการลอบปลงพระชนม์
ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่สงครามโลก



แท้จริงนับได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่ออสเตรีย-ฮังการี  ประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1914 นั่นเอง
      
      ซึ่งเมื่อออสเตรีย-ฮังการียกทัพเพื่อเข้าโจมตีเซอร์เบียแล้ว ในวันต่อมารุสเซียก็ได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วนมุ่งตรงมายังชายแดนของของจักรวรรดิของออสเตรีย-ฮังการี กลายเป็นการขยายวงการสงครามออกมาอีกขั้นหนึ่ง แทนที่จะเป็นเพียงสงครามระหว่างออสเตรีย-ฮังการี กับเซอร์เบีย ก็เริ่มกลายเป็นออสเตรีย-ฮังการี ต้องมารบกับรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่งและเมื่อยับยั้งเหตุการณ์เอาไว้ไม่ได้แล้วเยอรมนีก็เลยต้องประกาศว่าการระดมพลของรุสเซียในครั้งนี้ย่อมหมายความว่ารุสเซียต้องการทำสงครามกับเยอรมนีเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเยอรมนีมีพันธะตามข้อสัญญาอยู่กับออสเตรีย-ฮังการีเดิมอยู่แล้ว
      
      ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 นั้นเองเยอรมนีก็ได้หันไปถามฝรั่งเศสซึ่งเวลานั้นก็ดูเหมือนจะเตรียมตัวและเยอรมนีก็รู้ดีว่าฝรั่งเศสในเวลานั้นมีความสัมพันธ์และเป้นกลุ่มเดียวกับรุสเซียอยู่ โดยถามกับฝรั่งเศสว่าฝรั่งเศสจะมีข้อเสนออะไรต่อสงครามที่เกิดขึ้นมาครั้งนี้บ้าง
    
      ฝรั่งเศสจึงประกาศอย่างท้าทายขึ้นมาทันใดว่า ฝรั่งเศสจะดำเนินการตามที่ฝรั่งเศสเห็นสมควร นั่นก็คือ การสั่งระดมพลเพื่อเตรียมช่วยเหลือรุสเซีย
      
      เมื่อเป็นเช่นนั้น เยอรมนีจึงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยการประกาศทันทีว่าจะทำสงครามกับฝรั่งเศส โดยประกาศในวันที่ 3 สิงหาคม นั้นเอง
      
      อันที่จริงแล้วแม้จะประกาศสงครามในวันที่ 3 ก็ตาม แต่เยอรมนีที่ไม่ปล่อยเวลาให้ทันตั้งตัวได้ รีบยกพลเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศสนับแต่วันก่อนหน้านั้นแล้ว 1 วัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบมากที่สุด เยอรมนีทำลายกำแพงแห่งปัญหาลงอีกขั้นโดยการยกพลในวันที่ 2 สิงหาคมเข้าไปยึดครองประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งประกาศวางตัวเป็นกลางมาแต่แรก โดยไม่สนใจคำคัดค้านของผู้ครองเจ้านครเล็กๆ แห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นแม้แต่อีกประเทศหนึ่งที่เป็นกลาง นั้นคือเบลเยียม เยอรมนีก็รุกเข้าไปหวังครอบครองในวันที่ 2 ด้วยเช่นกัน เยอรมนีได้ยื่นคำขาด โดยให้เบลเยียมตอบภายใน 12 ชั่วโมงคือระหว่างหนึ่งทุ่มถึงหนึ่งโมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ว่าเบลเยียมจะยอมอนุญาตให้เยอรมนีเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศสหรือไม่
    
ทหารเยอรมนีกำลังเคลื่อนพลภายในกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม 
      ในข้อเสนอและคำขาดที่ว่านั้นมีเงื่อนไขว่า ถ้าเบลเยียมยินยอม รัฐบาลเยอรมนีจะให้สัญญาว่าจะเคารพในเขตแดนและประชาชนชาวเบลเยียม แต่ถ้าปฏิเสธ เยอรมนีก็จะกระต่อเบลเยียมเยี่ยงศัตรู
    
      และแล้วคำตอบของเบลเยียมก็ได้รับคำชื่นชม โดยในครั้งนั้นคำตอบของเบลเยียมมีอย่างเด็ดเดี่ยวและเชื่อมั่นว่า ความเป็นกลางของเบลเยียมนั้นมีมหาอำนาจทั้งหลายรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็นผู้ค่ำประกัน ดังนั้นเบลเยียมไม่ยินยอมให้ผู้ใดละเมิดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยประการใด ๆ ก็ตาม
      
      ย้อนกลับมามองทางมหาอำนาจอย่างจักรวรรดิบริเทนใหญ่หรืออังกฤษกันบ้าง เมื่อสงครามปะทุแล้ว ในวันที่ 1 สิงหาคม เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำกรุงลอนดอนได้เข้าสอบถามรัฐบาลอังกฤษจะวางเป็นตัวเป็นกลางในสงครามครั้งนี้หรือไม่ แถมมีเงื่อนไขต่อมาอีกว่าหากอังกฤษประกาศเป็นกลางเยอรมนีก็จะยอมรับความเป็นกลางของเบลเยียมด้วย
     
      แต่ข้อเสนอนี้ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงการแผ่บารมีของเยอรมนีที่อังกฤษหวาดระแวงอยู่แล้วมากเกินไป ดังนั้นไม่เพียงแต่ปฏิเสธข้อเสนอนั้นเท่านั้น ในวันที่ 2 สิงหาคม อังกฤษก็ได้ส่งสารถึงฝรั่งเศสโดยบอกและยืนยันว่ากองทัพเรือของอังกฤษจะเข้าช่วยเหลือและป้องกันฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ถ้าหากว่าเรือรบของเยอรมนียกเข้ามาทางช่องแคบของอังกฤษหรือมาทางทะเลเหนือ
      
แผนที่แสดงที่ตัังของประเทศเบลเยียม เยอรมนี และฝรั่งเศส
      แล้วอีกสองวันรัฐบาลอังกฤษก็ได้ยื่นคำขาดถึงเยอรมนีในกรณีเยอรมนีกำลังจะรุกเข้าเบลเยียม โดยที่อัครมหาเสนนาบดีของเยอรมนีก็ได้ตอบกลับว่าเยอรมนีจำเป็นจะต้องเดินทัพผ่านเบลเยียม  ทั้งได้แจ้งผ่านอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลินอีกว่า อังกฤษไม่ควรเข้าร่วมสงครามเพียงเพราะ เศษกระดาษชิ้นนิดเดียว
     
      ซึ่งนั้นหมายถึงสัญญาค้ำประกันความเป็นกลางที่เคยทำขึ้นมาก่อนหน้านี้นั่นเอง การกล่าวอย่างดูหมิ่นต่อสัญญาที่ได้ทำขึ้นมาเช่นนี้ของเยอรมนีทำให้อังกฤษไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ทั้งนี้เพราะการไม่สนใจและยอมรับในสัญญาที่ตัวเองได้ทำขึ้นเองเช่นนั้นแสดงให้เห็นถึงการไร้คุณธรรมและไม่ถูกต้องตามคำนองคลองธรรม ภาพของเยอรมนีจึงเสื่อมลงในสายตาของชาวอังกฤษและประชาคมโลกบางส่วน
    
      ประชาชนชาวอังกฤษไม่พอใจการกระทำของเยอรมนี และให้การสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ให้กระโดดเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคมรัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีขึ้นมาอีกประเทศหนึ่ง
     
      เรียกว่าอังกฤษประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้แล้ว ก็นับได้ทันทีว่าบรรดาประเทศมหาอำนาจของโลกเวลานั้นได้เข้าตะลุมบอนกันในสงครามกันเกือบครบแล้ว บรรดาประเทศเล็กประเทศน้อยที่คอยจับตามองอยู่อย่างหวาดระแวงจำเป็นที่จะต้องเริ่มหันเข้าไปจับมือกับอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่ออย่างน้อยก็จะได้มีแนวร่วมในการป้องกันละส่งเสริมซึ่งกันและกัน
      
      มอนเตเนโกร ประเทศเล็กๆ อีกประเทศหนึ่งก็ได้ประกาศทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี ขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นประเทศต่อมา
     
      สงครามกำลังลุกลามอย่างต่อเนื่องญี่ปุ่นซึ่งนับเป็นพันธมิตรกับอังกฤษตามสนธิสัญญาที่เคยลงร่วมกันเอาไว้ ก็ไม่อาจนิ่งเฉยมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้ได้เช่นกัน แม้จะอยู่ห่างไกลออกไปก็ตามที กระนั้นในเดือนพฤศจิกายน ต่อมาก็ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษรบกับเยอรมนีด้วย
     
      ความวุ่นวายที่กำลังดำเนินไปนี้ยังไม่มีทีท่าสิ้นสุดเมื่อจู่ๆ ตุรกีหรือจักรวรรดิออตโตมันก็ประกาศเข้าร่วมกับเยอรมนีเข้าทำสงครามอีกประเทศหนึ่ง
      
      กลายเป็นว่าถึงเวลานี้ กลุ่มเยอรมนี ก็มี เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี เรียกกันว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง ขณะที่ฝ่ายอังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย จะเรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร
     
      เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 3 เดือน สงครามครั้งนั้นที่มีฝ่ายมหาอำนาจกลางคือ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี ต้องเข้าทำสงครามเผชิญหน้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรที่มี เซอร์เบีย รุสเซีย ฝรั่งเศส เบลเยียม อังกฤษ มอนเตเนโกร และญี่ปุ่น
    
      ซึ่งเวลานั้นอิตาลี แม้จะมีข้อผูกมัดและสัญญากับกลุ่มมหาอำนาจกลางอยู่ก็ตามแต่เมื่อเห็นว่ามหาอำนาจกลางมีตุรกีก็เข้าร่วมจึงประกาศขอวางตัวเป็นกลางไว้ก่อน โดยอ้างว่า ในข้อสัญญานั้นมีว่าอิตาลีจะเข้าร่วมหรือช่วยคู่สัญญาต่อเมื่อประเทศคู่สัญญาถูกรุกรานเข้ามาโจมตีต่างหากเท่านั้น แต่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ประเทศภาคีรุกเข้าไปโจมตีประเทศอื่น อิตาลีจึงเป็นอิสระอยู่ภายนอกเงื่อนไขของสัญญานั้น

       
      มาถึงเวลานี้ถือว่า ประเด็นแท้จริงของสงครามก็ได้แสดงตัวออกมาให้เห็นชัดเจนแล้วนั่นเองกล่าวคือหลังสามเดือนเมื่อประเทศต่างๆ กระโดดเข้าร่วมในสงครามแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เป็นจุดกำเนิดหรือเริ่มต้นระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบีย ก็ค่อยๆ กลายเป็นเรื่องรองที่ถูกสนใจ การแข่งขันกันเป็นปฏิปักษ์ของกลุ่มมหาอำนาจต่างหากที่แสดงตัวให้เห็นอย่างชัดเจนหลังจากจุดชนวนขึ้นมา ซึ่งมองว่ากันว่าการที่เยอรมนีรีบยกทัพบุกเบลเยียมเพื่อเข้าโจมตีฝรั่งเศส และอังกฤษต่างหากที่ถือเป็นการรับผิดชอบที่สัมพันธมิตรจะต้องร่วมกันเข้าปราบปรามเยอรมนีที่ก่อสงครามแท้จริง ขณะที่ฝ่ายเยอรมนีหรือมหาอำนาจกลางนั้นกลับมองว่า การรุกของเยอรมนีและมิตรประเทศในครั้งนั้น เป็นการรบกับฝ่ายศัตรูที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายล้างเยอรนีนั้นเอง---

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์ทางการเมือง และสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน วิกฤตการณ์ซาราเจโว

วิกฤตการณ์ซาราเจโว
    

      
      สงครามบนคาบสมุทรบอลข่านระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และ เซอร์เบียนั้นถูกพิจารณาว่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ด้วยอิทธิพลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้เสื่อมถอยและการเจริญเติบโตของลัทธิรวมเชื้อชาติสลาฟและความเจริญขึ้นของลัทธิชาตินิยมภายในประเทศในประจวบกับความเจริญเติบโตของเซอร์เบีย ซึ่งความรู้สึกต่อต้านชาวออสเตรียอาจจะมีความรุนแรงมากที่สุดจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นได้ยึดครองแคว้นบอสเนีย-เฮอร์เชโกวินาของจักรวรรดิออตโตมัน ซึ่งมีจำนวนประชากรชาวเซิร์บเป็นจำนวนมากในปี 1878 และจากนั้นก็ได้ถูกยุบรวมเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิของออสเตรีย-ฮังการีในปี 1908 ความรู้สึกรักชาติที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมกับที่จักรวรรดิออตโตมัน รัสเซียนั้นได้สนับสนุนการเคลื่อนไหวเพื่อการรวมเชื้อชาติสลาฟ และกระตุ้นโดยมนุษยธรรมและความจงรักภักดีต่อศาสนาและการแข่งขันกับจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
  
กัฟริโล ปรินชิป ลอบปลงพระชนม์
   
      ในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 1914 เวลาก่อนเที่ยงเพียงเล็กน้อย อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์ออสเตรีย-อังการี พร้อมด้วยพระชายา ทรงพระนามโซฟี ในขณะที่ทรงประทับรถม้าไปตามท้องถนนแห่งนครซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย อันเป็นการเสด็จเยือนแคว้นนั้นอย่างเป็นทางการ ได้มีชายหนุ่มชาวบอสเนีย ชื่อกัฟริโล ปรินชิป ใช้ปืนเป็นอาวุธ แหวกฝูงชนที่กำลังเฝ้าเสด็จ สาดกระสุนสองนัดเข้าใส่พระวรกาย สิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์
    

      จำต้องรู้ก่อนว่าในสมัยนั้นบอสเนียเป็นแคว้นหนึ่งในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อเกิดเหตุการณ์ลอบปลงพระชนม์ขึ้นมาแล้วในอีก 6 สัปดาห์ต่อมาก็ได้เกิดการรบกันกระทั่งขยายพื้นที่ออกเป็นสงครามโลกในที่สุด
     
กัฟริโล ปรินชิปขณะถูกควบคุมตัว
      กัฟริโล ปรินชิป เป็นสมาชิกของสมาคมลับที่ชื่อ แบล็กแฮนด์ อันเป็นสาขาของสมาคมลับ แพน-เซิร์บ ซึ่งมีความรู้สึกด้านชาตินิยมสูงและรุนแรงเกลียดชังชาวออสเตรีย และอยากจะแยกตนเองออกเป็นเอกราชจากการปกครองของออสเตรีย และรวมชนเผ่าสลาฟเข้าเป็นประเทศเดียวกันภายใต้การปกครองของชาวสลาฟเอง
    
      เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาเช่นนั้น รัฐบาลแห่งจักรพรรดิของออสเตรีย-ฮังการี ถือว่ารัฐบาลเซอร์เบียได้ปล่อยปละละเลยให้ใรการมั่วสุมสมคบคิดกันต่อต้านรัฐบาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิจนกระทั่งมีผลให้เกิดคดีฆาตกรรมขึ้นมา ดังนั้นจักรพรรดิแห่งออสเตรีย-ฮังการีจึงถือเอาโอกาสนั้นในการเข้าไปย้ำยีเซอร์เบียรวมไปถึงการปราบปรามพวกสลาฟที่คอยรบกวนอยู่เสมอ พร้อมประกาศว่าเซอร์เบียจะต้องรับผิดชอบต่อเรื่องที่เกิดขึ้นมาทั้งหมด
     
      การประกาศออกมาเช่นนั้นของออสเตรีย-ฮังการี ในภาวะที่โลกหรือยุโรปในเวลานั้นต่างหันปากกระบอกปืนของกลุ่มเข้าหาและเตรียมพร้อมกันอยู่เสมอตกตะลึงและพร้อมที่จะยกอาวุธขึ้นมาประทับบ่าทันที
      
      กล่าวกันว่าจากการสอบสวนและดำเนินคดีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนั้นสรุปกันว่าแท้จริงแล้วรัฐบาลออสเตรียไม่มีพยานหลักฐานอันใดที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า รัฐบาลเซอร์เบียได้มีส่วนรู้เห็นเป็นใจกับการลอบปลงพระชนม์ กระนั้นเคานต์แบคโทลด์ รัฐมนตรีต่างประเทศของออสเตรียในเวลานั้นก็ได้แสร้งทำเสมือนหนึ่งว่าออสเตรียมีหลักฐานที่เอาผิดแก่เซอร์เบียและเริ่มลงมือตระเตรียมดำเนินแผนการขั้นต่อไปโดยถามเยอรมนีถึงความช่วยเหลือที่เยอรมนีเคยสัญญาว่าจะให้แก่ออสเตรีย
     
      เยอรมนีตอบว่า ออสเตรียจะปฏิบัติประการใดต่อเซอร์เบียก็ได้ตามแต่ปรารถนาและเห็นสมควร และอาจจะรับเอาว่าเยอรมนีสนับสนุนเพราะเยอรมนีเป็นคู่สัญญาร่วมกัน เมื่อได้รับคำตอบเช่นนี้ก็ดูเหมือนจะเป็นการเปิดโอกาสให้แก่ออสเตรียอย่างเต็มที่และโดยตรงนั้นเอง
    
      ดังนั้นเคานต์แบคโทรล์ จึงได้เชิญชวนให้จักรพรรดิฟรานซิส โจเซฟและเคานต์ติสชา ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของฮังการีเห็นว่าถ้าออสเตรียไม่รีบจัดการเรื่องการลอบปลงพระชนม์แล้วออสเตรียก็จะกลายเป็นเพียงแค่เหยื่อของศัตรูเท่านั้น
     
      การดำเนินการของออสเตรียเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศต่างๆ ทั่วยุโรปกำลังเงียบเสียงและเงี่ยหูฟังอย่างตั้งใจ ก็ปรากฏว่ารุสเซียไม่อาจที่จะนั่งมองและสงวนท่าที่เอาไว้ได้ รุสเซียในเวลานั้นซึ่งก็ติดตามการเคลื่อนไหวของออสเตรียอย่างไม่ละสายตาก็ได้ออกประกาศเตือนออสเตรียว่ารุสเซียจะไม่ยอมนิ่งดูดายให้ออสเตรียรังแกเซอร์เบียได้อย่างแน่นอน
    
      เป็นอันว่าเมื่อประกาศนี้ถูกแถลงออกไปแล้วเหตุการณ์จากที่เป็นแค่เรื่องลอบปลงพระชนม์ก็เริ่มขยายเป็นเรื่องปัญหาทางการเมืองของโลกขึ้นมาทันใดออสเตรียนั้นได้เยอรมนีเปิดไฟเขียวให้แล้วแต่กลับต้องมาเผชิญกับไฟแดงห้ามจากรุสเซียซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งมหาอำนาจในเวลานั้นด้วยเช่นกัน
     
      แต่ดูเหมือนออสเตรียกำลังเลือดขึ้นหน้าไปแล้ว ในเวลาต่อมาออสเตรียจึงเดินหน้ายื่นคำขาดต่อเซอร์เบียโดยมีข้อความสำคัญในคำขาดที่ต้องให้ตอบมาภายในเวลา 48 ชั่วโมง สรุปได้ว่า เซอร์เบียจะต้องยินยอมปราบปรามการพิมพ์ สมาคมต่างๆ ที่บงการต่อต้านราชวงศ์ที่ครองจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และให้กำจัดการอบรมสั่งสอนให้ชิงชังออสเตรียซึ่งดำเนินอยู่ตามโรงเรียนต่างๆ ให้สิ้นซาก ให้ปลดบุคคลที่รัฐบาลออสเตรียไม่ปรารถนาออกจากตำแหน่งข้าราชการฝ่ายทหาร และให้เซอร์เบียยินยอมให้ผู้แทนออสเตรียเข้าไปทำการปราบปรามทำลายล้างขบวนการต่อต้านออสเตรีย รวมทั้งให้จับกุมผู้ร่วมคบคิด กันวางแผนเกี่ยวกับเหตุการณ์เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน
       
      แล้วเวลาก็ดำเนินไป ก่อนที่จะถึงเส้นตายที่กำหนด เซอร์เบียก็ได้ใช่คำตอบยอมรับเงื่อนไขที่ออสเตรียเสนอมาเกือบทุกข้อ ส่วนที่เหลือจากนั้นเซอร์เบียก็ขอให้เสนอเรื่องต่อศาลโลก ณ กรุงเฮกเพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งคำตอบของเซอร์เบียที่ออกมานี้เรียกว่าทำให้ทุกฝ่ายสามารถถอนหายใจได้ระยะหนึ่งที่สำคัญมันสร้างความประทับใจให้กับบรรดาประเทศอื่นๆ ที่เฝ้าคอยจับตาเองอยู่และเริ่มเข้ามาเห็นใจเซอร์เบียมากยิ่งขึ้น
     
      แต่ปรากฏว่าออสเตรียกลับปฏิเสธคำตอบของเซอร์เบียอย่างทันทีทันใดโดยที่ทันทีที่เอกอัครราชทูตออสเตรียประจำเซอร์เบียได้อ่านคำตอบเสร็จสิ้นลงแล้วเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง เขาก็เดินทางออกจากกรุงเบลเกรดนครหลวงของเซอร์เบียและประกาศตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับเซอร์เบียทันที
         
      เรียกว่าประเทศต่างๆ ต้องตกใจกับปฏิกิริยาของออสเตรียขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ทั้งที่คิดว่าเรื่องนี้จะสามารถจบลงได้อย่างง่ายดายกลับกลายเป็นไม่เข้าใจและมึนงงต่อท่าทีที่เกิดขึ้นมาครั้งใหม่ของออสเตรีย กล่าวกันว่าบรรดานานาชาติทั้งหลายที่เกี่ยวข้องและจับตามองอยู่ต่างตกใจเป็นการใหญ่ เพราะต่างฝ่ายต่างคิดเหมือนกันว่า ไม่มีใครอยากให้เกิดสงครามที่หลายๆ ประเทศสำคัญต้องหันมาทำการรบกันเป็นการใหญ่ขึ้นมาแน่ ดังนั้นบรรดาประเทศเหล่านี้จึงไม่อาจนิ่งดูดายได้ ต่างพากันยื่นข้อเสนอเพื่อปัดเป่าสงครามอันอาจจะเกิดขึ้นมาได้นี้
ภาพ:พาดหัวข่าวของวันที่ 28 กรกฏาคม 1914
      
      โดยลอร์ดเกรย ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษในเวลานั้น  ได้เร่งเร้าให้มีการเปิดประชุมในระดับเอกอัครราชทูตของประเทศที่เกี่ยวข้องขึ้นมาในวันที่ 28 กรกฏาคม แต่ปรากฏว่าเยอรมนีซึ่งเวลานั้นอยากจะเห็นเซอร์เบียถูกลงโทษได้ขอให้ประเทศต่างๆ ใช้ความพยายามจำกัดเขตสงครามโดยจะให้รบกันเพียงออสเตรียและเซอร์เบียเท่านั้น ทางออกนี้ดูเหมือนจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกเช่นกัน กระนั้นรุสเซียกลับมองตรงข้ามกัน กล่าวคือรุสเซียมองว่าถ้าทำเข่นนั้นก็มีค่าเท่ากับพวกที่เกี่ยวข้องได้แต่พากันตีวงนั่งดูออสเตรียเข้าบดขยี้เซอร์เบียเล่นกันอย่างสนุกสนานเท่านั้นเอง ดังนั้นการเจรจาระหว่างประเทศจึงไม่อาจนำมาใช้แก้ปัญหาในครั้งนั้นได้
       
      และแล้วในวันที่ 28 กรกฏาคม 1914 ออสเตรียประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
       
กองทัพรุสเซีย 1914 (Army Russian)
      เมื่อออสเตรียกระหายสงครามเช่นนั้น รุสเซีย ก็มิอาจนิ่งนอนใจได้ ในวันรุ่งขึ้นรุสเซียก็ได้ประกาศระดมพลของตัวเองทันทีทันใดเช่นกัน
     
      สถานการณ์ตึงเครียดขึ้นมา พร้อมกับที่ทางเยอรมนีเองก็ดูเหมือนจะเริ่มมองเห็นและเข้าใจถึงความสูญเสียที่กำลังจะเกิดขึ้นกับตัวเอง ดดยเฉพาะเรื่องผลประโยชน์ที่มีอยู่ในภูมิภาค ดังนั้นในเวลานั้นเองพระเจ้าไกเซอร์ของเยอรมนีก็ได้ตรัสสั่งให้อัครมหาเสนาบดีของพระองค์ส่งวิทยุด่วนไปยังกรุงเวียนนา เพื่อพยายามยับยั้งออสเตรีย พร้อมกันได้ต่อสายตรงไปขอร้องพระเจ้าชาร์แห่งรุสเซียให้ช่วยพยายามธำรงสันติภาพเอาไว้ให้ได้ก่อน

    
      แต่ปรากฏว่า ความพยายามนั้นสายเกินไปเสียแล้ว ทั้งนี้เพราะรุสเซียโดยพระเจ้าซาร์ได้สั่งหยุดการระดมพลตามคำขอด่วนของพระเจ้าไกเซอร์ก็จริงแต่เป็นการระงับเอาไว้เพียงวันเดียว ทั้งนี้เพราะบรรดาคณะรัฐมนตรีของพระองค์ต่างมองเห็นว่า รุสเซียมัวแต่ชักช้าอยู่อาจจะส่งผลให้รุสเซียต้องเสียหายอย่างมหาศาลในเวลาต่อมาดังนั้นรัสเซียจึงเดินหน้าระดมพลต่อไป ---

      นี้คือเรื่องราววิกฤตการณ์ทั้งหมด ก่อนที่จะระเบิดกลายมาเป็นสงครามที่มีวงกว้าง และรุนแรงที่สุดเป็นครั้งแรกของโลก ตอนหน้าจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1 ครับ

ขอขอบคุณเจ้าของความรู้ คุณวีระชัย โชคมุกดา และผู้อ่านทุกคนมากๆครับ ที่ติดตามมาจนถึงตอนนี้ครับ สวัสดี...

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน เหตุแห่งสงคราม v.2

      
อาร์ค ดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดิานด์ กับพระชายา
      …ต่อ จุดแตกหักเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 1914 เมื่อ **อาร์ค ดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ (Archduke Franz Ferdinand) มกุฎราชกุมารแห่งออสเตรีย ฮังการี และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์ที่เมืองซาราเจโวในแคว้นบอสเนีย โดยนักศึกษาชาตินิยมชาวเซอร์เบีย ชื่อ กัฟริโล ปรินชิบ (Gavrilo Princip) รัฐบาลออสเตรีย ฮังการี จึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจยอมรับได้ ออสเตรีย - ฮังการี จึงตัดสินใจจะทำลายล้างเซอร์เบียให้ราบคาบ และเมื่อได้รับแรงสนับสนุนจากเยอรมนี จึงยื่นข้อเรียกร้องที่เซอร์เบียไม่อาจจะยอมรับได้ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามกับเซอร์เบีย
     
เจ้าหน้าที่รวบตัวกัฟริโล ปรินชิป
ภายหลังจากก่อนเหตุบุกยิงมงกุฏราชกุมารแห่งจักรวรรดิออสเตรีย
      รัสเซียได้เข้าสนับสนุนเซอร์เบียและระดมพลเตรียมต่อสู้ เยอรมนีจึงได้เรียกร้องมิให้รัสเซียและฝรั่งเศสเข้ามาแทรกแซง ครั้นสองมหาอำนาจไม่ปฏิบัติตาม เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 และฝรั่งเศสในวันที่ 3 สิงหาคม 1914 ตามลำดับ
     
      และเพื่อให้มองเห็นภาพความขัดแย้งก่อนสงครามที่ปะทุขึ้นมาของสงครามโลกครั้งที่ 1 เราจำเป็นต้องย้อนกลับไปดูถึงสภาพความตึงเครียดของการเมืองระหว่างประเทศในยุโรปในช่วงเวลาดังกล่าวกันเสียก่อน
      
      กล่าวกันว่าในขณะที่ประเทศในยุโรปเวลานั้นต่างเผชิญหน้ากับความตึงเครียดภายในประเทศอยู่แล้ว ความแตกแยกในระดับชาติระหว่างประเทศก็เกิดขึ้นเรื่อยๆ แม้มีความพยายามที่จะให้หรือจัดให้มีการเจรจาทางการฑูตเพื่อหาทางออกให้กับปัญหาจนเกิดสนธิสัญญาต่างๆ มากมายก็ตามทีกระนั้นด้วยวิกฤตการณ์ทางการทูตที่เกิดขึ้นหลายครั้ง แลพการแก้ปัญหาในต่ละครั้งก็ได้แค่เพียงทำให้รอดพ้นจากการการทำสงครามอย่างหวุดหวิดไปเท่านั้นหากแต่สิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านั้นยังส่งผลให้เกิดการสะสมความระแวงและความแค้นจนในที่สุดก็นำมาสู่การเกิดวิกฤตการณ์ที่ส่งผลให้ทุกฝ่ายต่างต้องเดินเข้าไปสู่ความพินาศในที่สุด---
    
      **อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย มีพระนามเต็มว่าฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ คาร์ล ลุดวิก โจเซฟ (Franz Ferdinand Karl Ludwig Joseph von Habsburg-Lothringen) ทรงเป็นโอรสของอาร์คดยุค ลุดวิก
     
      อาร์คยุคคาร์ล ลุดดวิก ทรงเป็นประพระโอรส และพระราชบุตรองค์ที่ 3 ในอาร์คดยุคฟรานซ์ คาร์ลแห่งออสเตรีย (พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์) และเจ้าหญิงแห่งโซฟีแห่งบาวาเรีย เมื่อทรงพระเยาว์ อาร์คดยุคฟรานซ์ โจเซฟ พระเชษฐาของพระองค์ได้ทรงขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย ทำให้พระองค์ทรงเป็นรัชทายาทอันดับที่ 1 แห่งจักรวรรดิออสเตรีย (อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ แม็กซีมีเลียน พระเชษฐาไม่ดืทรงอยู่ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ เพราะว่าทรงไปเป็นสมพระจักรพรรดิแห่งเม็กซิโก)  แต่เมื่ออาร์คดยุคครูดอล์ฟ พระราชโอรสในสมเด็จพระจักรรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟได้ทรงประสูติ พระองค์ก็ทรงถูกเลื่อนไปอยู่ในลำดับ 2 ในลำดับการสืบสันตติวงศ์ แต่เมื่ออาร์คดยุคครูดอล์ฟ ได้ทรงสิ้นพระชนม์กะทันหันด้วยพระแสงปืนทำให้พระองค์ได้ทรงถูกเลื่อนมาอยู่ในลำดับที่ 1 อีกครั้ง แต่พระองค์ได้ทรงปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยพระองค์ได้ทรงมอบตำแหน่งองค์รัชทายาทให้กับพระโอรสองค์โตของพรองค์ อาร์คยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ดังนั้นอาร์คดบยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ก็ทรงดำรงตำแหน่งองค์รัชทายาทตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา
      
      อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ ทรเป็นอาร์คยุคแห่งออสเตรีย-เอสต์ ประมุขแห่งพระราชอิสริยยศออสเตรีย-เอสต์ ทรงเป็นเจ้าฟ้าชายแห่งฮังการีและโบฮีเมีย และองค์รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอีกด้วย  โดยพระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาททางพฤตินัย ไม่มีการสถาปนาอย่างเป็นทางการพระองค์ทรงเป็นองค์รัชทายาทจวบจนกระทั่งสิ้นพระชนม์กะทันหัน โดยถูกลอบปลงประชนม์โดยนักอนุรักษ์ชาติชาวเซอร์เบีย ที่เมืองซาราเจโวประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวินาซึ่งขณะนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีอยู่ หลังจากพระองค์และพระชายาถูกลอบปลงพระชนม์นั้น ทำให้ออสเตรีย-ฮังการี ประกาศสงครามกับเซอร์เบียในสงครามโลกครั้งที่ 1 ทันที

    
      ตอนหน้าจะเป็นวิกฤตการณ์สุดท้ายของภาคนี้นั้นคือ วิกฤตการณ์ซาราเจโว แล้วเราจะได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 เสียที 

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน เหตุแห่งสงคราม V.1

เหตุแห่งสงคราม
    
อาร์คดยุคฟรานด์ เฟอร์ดินานด์

      กล่าวกันว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นจุดเริ่มต้นของการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของยุโรป  นำไปสู่การสิ้นสุดของจักรวรรดิออตโตมันเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาของการปฏิวัติรัสเซีย การพ่ายแพ้ของประเทศเยอรมนีในสงครามครั้งนี้ ส่งผลให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในหลายประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อปี 1939 อีกทั้งสงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นสงครามความขัดแย้งบนฐานการล่าอาณานิคม  ระหว่างมหาอำนาจยุโรปสองค่ายที่เกิดขึ้น
     
กัฟรีโล ปรินชิป (Gavrilo Princip)
      โดยจุดเริ่มต้นนั้นอยู่ที่ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย ฮังการี  โดยกัฟรีโล ปรินชิป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งค์มือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิ ออสเตรีย ฮังการี ต่อราชอาณาจักเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม
      
      กระนั้นหากจะว่าไปแล้ว การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุค ฟรานช์ เฟอร์ดินานด์ ในครั้งนั้นเป็นเพียงสัญญาณการเริ่มต้นของสงครามเท่านั้น ทั้งนี้เพราะแท้จริงแล้วในบรรดามหาอำนาจของยุโรปและของโลกในเวลานั้นได้ตั้งค่ายและป้อมพร้อมที่จะหันเข้ามาห้ำหั่นกันก่อนหน้าอยู่แล้ว
       
      กล่าวคือย้อนกลับไปในสมัยบิสมาร์คเป็นผู้นำในการสร้างจักรวรรดินิยมเยอรมนี เมื่อบิสมาร์ครบชนะฝรั่งเศส และประกาศตั้งจักรวรรดิเยอรมนีแล้วจึงดำเนินการตั้ง The Three Emperor’ s League ซึ่งแสดงความเป็นสัมพันธมิตรระหว่าง เยอรมนี ออสเตรีย ฮังการี และรัสเซีย ด้วยเจตนาสำคัญประการแรกคือ ป้องกันการแก้แค้นของฝรั่งเศส ต่อมาภายหลังเมื่ออสเตรีย - ฮังการี และรัสเซีย ขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์กัน จนมิอาจเป็นพันธมิตรต่อกันได้ บิสมาร์คจึงชักชวนอิตาลีเข้าแทนที่รัสเซีย จึงเกิด Triple Alliance (ไตรพันธมิตร) ขึ้น
  
ออตโตฟอน บิสมาร์ค
   
      ครั้นบิสมาร์คหมดอำนาจลง จักรพรรดิเยอรมนี (Kaiser Wilhelm II) ทรงเลิกนโยบายเป็นพันธมิตรกับรัสเซีย และสร้างความไม่พอใจให้อังกฤษด้วยการเริ่มโครงการขยายกองทัพเรือและขยายอิทธิพลเหนือดินแดนตะวันออกมาฝรั่งเศสจึงได้โอกาสเสริมสร้างสัมพันธไมตรีกับรัสเซียและสร้างความเข้าใจอันดีกับอังกฤษและในที่สุดเมื่อทั้งสามมหาอำนาจตกลงในความขัดแย้งเรื่องอาณานิคมที่เคยมีต่อกันแล้ว จึงจัดตั้ง Triple Entente (พันธมิตร หรืออำนาจไตรภาคี) ในปี 1907

    
      และทั้งสองฝ่ายต่างก็ตั้งป้อมและหันปากกระบอกปืนเข้าหากัน พร้อมประกาศความยิ่งใหญ่ของตัวเองอย่างที่ไม่มีใครเกรงหรือกลัวใครกัน






To be Continue

วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน สงครามบอลข่านครั้งที่ 2

สงครามบอลข่านครั้งที่ 2.. 1913
      
แผนที่แสดงความเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังสงครามของแต่ละประเทศ
      เมื่อเซอร์เบียบถูกออสเตรีย ฮังการี และอิตาลีกันท่าในอัลเบเนียแล้ว แต่ตนเองยังต้องการทางออกทะเละอยู่ ดังนั้นเซอร์เบียจึงหันไปขอส่วนแบ่งในมาซิโดเนียจากบัลแกเรียเพิ่มมากยิ่งขึ้น บัลแกเรียก็รีบออกมาปฏิเสธ โดยมีรุสเซียหนุนหลังอยู่บัลแกเรียที่อดีตก็ไม่เคยถูกกับเซอร์เบียอยู่แล้วจึงส่งกำลังออกไปโจมตีกองทหารองเซอร์เบียกับกรีซทางมาซิโดเนียในเดือนมิถุนายน 1913
     
ภาพ:ทหารเซอร์เบียระหว่างสงครามบอลข่าน
      มอนเตเนโกร โรมาเนีย และตุรกี ก็กระโดดเข้าร่วมรบกับฝ่ายของเซอร์เบียกับกรีซ การที่ตุรกีกระโดดเข้ามาร่วมด้วยก็เพราะตุรกีหวังว่าหากเป็นไปได้ตนเองอาจจะได้รับดินแดนทางแคว้นเทรซซึ่งก่อนหน้านี้บัลแกเรียแย่งเอาไปก่อนแล้วคืนได้
     
      สงครามครั้งนี้การสู้รบกันอย่างหนัก จนสุดท้ายบัลแกเรียสู้ไม่ไหว ต้องยอมแพ้และยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาบูคาเรสต์ เมื่อเดือนสิงหาคม 1913 โดนเนื้อหาตามสนธิสัญญานี้มีว่า บัลแกเรียจะได้รับส่วนแบ่งในดินแดนมาซิโดเนียน้อยลงกว่าที่ได้ตกลงไว้เดิมมาก และเซอร์เบียก็จะได้ดินแดนทางมาซิโดเนียมากกว่าบัลแกเรียซึ่งก็ทำให้เซอร์เบียใหญ่โตขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่มืทางออกทะเลอยู่ดี ส่วนกรีซก็จะได้รับเมืองสโลนิกาและฝั่งทะเลทางแคว้น เทสสาลี ทั้งบัลแกเรียยังต้องยกโดยรุดจาตอนใต้ให้แก่โรมาเนีย ส่วนตุรกีจะเหลือดินแดนทางยุโรปเพียงแค่ด้านตะวันออกของแคว้นเทรซและเมืองเอเดรียนโนเปิล
     
ภาพบ้านเมืองหลังสงครามบอลข่านใน กรีซ
      บรรดาวิกฤตการณ์และสงครามที่เกิดขึ้นมานี้ ล้วนแต่เป็นตัวจุดประกายของสงครามใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาทั้งสิ้น แม้วิกฤตการณ์จะผ่านพ้นไปแล้วแต่ว่ากันว่าหลังสิ้นสงครามบอลข่านภัยแห่งสงครามได้แผ่เข้าครอบงำทวีปยุโรปเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น แม้สงครามการต่อสู้บนคาบสมุทรบอลข่านจะยุติลงแล้วก็ตามแต่คาบสมุทรแห่งนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพยุ่งเหยิง
       
      บัลแกเรียต้องการแก้แค้นเซอร์เบีย ส่วนเซอร์เบียเมื่อได้ดินแดนมาเพิ่มจนประเทศตนเองใหญ่โตขึ้นเป็นสองเท่าก็ยิ่งกระหายที่จะสร้าง มหาอาณาจักรเซอร์เบีย  โดยมองแหละหวังว่าจะรวมเอาดินแดนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวสลาฟจากจักรวรรดิออสเตรีย ฮังการี มาไว้เป็นของตน โดยรุสเซียก็สนับสนุนอย่างเต็มที่ ทั้งนี้เพราะมองว่าตนเองจะได้กลายเป็นมหานาจยุโรปตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง อีกทั้งความต้องการที่จะได้ใช่ช่องแคบดาร์คเนลส์กับช่องแคบฟอรัสได้สะดวก ซึ่งแผนการนี้รุสเซียก็ไปขัดแย้งกับแผนของเยอรมนีที่ต้องการสร้างทางรถไฟจากเบอร์ลินไปยังแบกแดดและต่อออกไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย ตุรกีนั้นอนุญาตให้เยอรมนีสร้างได้แต่ส่วนหนึ่งของเส้นทางนี้ก็ยังต้องผ่านเซอร์เบียอยู่ดี ดังนั้นเยอรมนีจึงต้องยืนยันแข็งขันไม่ให้ชาวสลาฟรวมตัวกันได้
     
ทหารโรมาเนียกำลังเคลื่อนพลเข้าสู่บัลแกเรีย ในสงครามบอลข่าน
      มาถึงชั่วโมงนี้ประเทศทั้งหมดในยุโรปต่างรู้อยู่แก่ใจทั่วไปแล้วว่า การแย่งกันแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไปทั่วนี้เกิดจะนำมาซึ่งสงคราม ทางออกเดียวที่ทำได้เวลานั้นก็คือ แต่ละประเทศต้องเตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อว่าเวลาเกิดเรื่องขึ้นมาตนเองจะได้สามารถเข้าปฏิบัติการได้ทันทีทันใด
      
      เยอรมนีและฝรั่งเศสเพิ่มกำลังทหารบกของตนเอง ส่วนอังกฤษรัฐสภาก็ออกเสียงเพิ่มงบประมาณมหาศาลแก่กองทัพเรือของตนเอง เยอรมนีและตุรกีตกลงให้นายเยอรมนีเข้าฝึกวิชาทหารให้แก่กองทัพตุรกี แถมยังมีข้อตกลงอีกว่าเมื่อฝึกเสร็จแล้วก็จะให้ทหารเหล่านั้นอยู่ใต้การบังคับบัญชาการของนายทหารเยอรมนี แม้แต่เบลเยียมก็นำเอาวิธีการเกณฑ์พลเมืองเข้ามาเป็นทหารแบบเยอรมนีมาใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมตัวเอาไว้เพราะถึงเวลานั้นเยอรมนีได้สร้างทางรถไฟจนมาประชิดชายแดนเบลเยียมแล้ว ก็หมายความว่าหากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีต้องยกพลผ่านเบลเยียมไปยังฝรั่งเศสอย่างแน่นอน

     
      ทั่วภาคพื้นยุโรปทุกคนรู้ดีว่าสงครามใหญ่ใกล้จะปะทุขึ้นทุกที - - -

วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน สงครามบอลข่าน

สงครามบอลข่าน ค..1912 – 1913
     

       จำต้องย้อนกลับไปยังสงครามบอลข่านครั้งที่ผ่านมาก่อน(บทความเก่ามีครับ) ผลของสงครามครั้งนั้นทำให้เซอร์เบียกับออสเตรียบาดหมางกันอย่างมาก ทั้งยังเป็นผลกระตุ้นให้อิตาลีหันไปทำสัญญากับรุสเซียเพื่อต่อต้านออสเตรีย ฮังการี ทั้งนี้ก็เพื่อกันไม่ให้ออสเตรีย ฮังการี ขยายอิทธิพลเข้าไปบอลข่านอีก ซึ่งการลงนามสัญญานี้เกิดขึ้นในปี 1909 ก่อนที่อิตาลีทำสงครามกับตุรกี
    
กลุ่มสันนิบาตบอลข่าน 1912
      ค.. 1911 อิตาลีทำสงครามกับตุรกีกรณียึดทริโปลี พร้อมกันนั้นรุสเซียก็ได้เข้าไปเกลี่ยวกล่อมบัลแกเรียประเทศซึ่งถือเป็นศัตรูโดยตรงของเซอร์เบียให้หันมาจับมือร่วมกันกับเซอร์เบียจนก่อเกิดสัญญาลับขึ้นมาเพื่อร่วมกันโจมตีตุรกีในปี 1912 ซึ่งมีข้อตกลงในสัญญาลับนั้นว่า หากทำสงครามกับตุรกีจนได้รับชัยชนะแล้วบัลแกเรียจะได้ดินแดนส่วนใหญ่ของมาซิโดเนียซึ่งขณะนั้นเป็นของตุรกีอยู่ ฝ่ายเซอร์เบียก็จะได้ดินแดนมาซิโดเนียส่วนที่เหลือจากบัลแกเรียรวมถึงได้อัลเบเนียตอนที่ติดกับฝั่งทะเลอาเดรียติก
     
      ผลของการรวมกลุ่มกันครั้งนี้ยังทำให้กรีซและมอนเตเนโกรกระโดดมาเข้าร่วมจับมือด้วย กลายเป็นกลุ่มประเทศแถบคาบสมุทรบอลข่าน เรียกกันว่ากลุ่มสันนิบาตบอลข่าน โดยชาวประเทศกลุ่มนี้มีเป้าหมายคือปลดปล่อยชาวสลาฟซึ่งถือว่าเป็นพวกเดียวกันกับตนเองให้หลุดพ้นจากอำนาจการปกครองของมุสลิมของตุรกี
  
เหล่าทหารของออตโตมันกำลังยืนตรวจเช็คกำลังพล
    
      ตุรกีกำลังเดือดร้อนกับการทำสงครามกับอิตาลีอยู่ก็โดนโจมตีซ้ำอีกจากการปล่อยข่าวกล่าวหาว่า ตุรกีได้บีบคั้นชาวคริสต์ซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของตุรกีแถบมาซิโดเนียแล้ววันที่ 21 ตุลาคม 1912 กลุ่มสันนิบาตบอลติกก็ประกาศสงครามกับตุรกี ทำให้ตุรกีต้องรีบปิดฉากปัญหาของตนเองในแอฟริกากับอิตาลีแล้วเร่งกลับมาตั้งรับทัพสันนิบาตบอลข่านในประเทศตนเอง
ตามเข็มนาฬิกาด้านขวาบน : กองทัพเซอร์เบียกำลังเคลื่อนพลเข้าเมือง Mitrovica
,กองทัพออตโตมันที่กำลังรบใน Kumanovo
กษัตริย์กรีซและซาร์บัลแกเรียใน Tessaloniki
กองทัพและปืนใหญ่บัลแกเรีย
     
      กรีซส่งกองกำลังเข้ามารุกมาซิโดเนียและเทรซ จณะที่บัลแกเรียก็ส่งกำลังเข้าล้อมเมืองปราการสำคัญคือเอเดรียโนเปิลซ้ำยังรุกไล่กองทหารของตุรกีไปจนเกือบถึงกรุงคอนสแตนติโนเปิล ด้านเซอร์เบียก็กำลังเข้าตียึดบริเวณลุ่มแม่น้ำวาดาร์ได้ ได้รับชัยชนะเรื่อยไปจนได้อัลเบเนียตอนเหนือ
    
      กล่าวได้ว่าเวลานั้นสันนิบาตบอลข่านสามารถเข้ายึดดินแดนของตุรกีในส่วนที่อยู่ในทวีปยุโรปไว้ได้เกือบหมด
ภาพแผนที่แสงถึงการเปลี่ยนแปลงก่อนและ หลัง สงครามบอลข่าน
     
      และสงครามครั้งนี้ไม่เพียงแค่ทำให้ตุรกีลำบากเท่านั้น ในยุโรปก็เกิดปัญหาตามมา โดยมีจุดปัญหามาจากความเป็นศัตรูของออสเตรีย ฮังการีกับเซอร์เบีย ซึ่งการที่เซอร์เบียเข้าทำสงครามในครั้งนี้ก็เพื่อให้ได้อัลเบียเพื่อไว้ใช้เป็นทางออกทะเล แต่เดิมนั้นเซอร์เบียหวังจะยกไปยึดเอาบอสเนียแต่ปรากฏว่าถูกออสเตรีย ฮังการี กันท่าและยึดได้ก่อนในปี 1908 และครั้งนี้ก็เช่นกัน ออสเตรียอังการี ก็พยายามกันท่าไม่ให้เซอร์เบียได้อัลเบเนียอีก ขณะที่อิตาลีซึ่งเวลานั้นก็คิดเช่นกันว่าไม่อยากให้เซอร์บียยิ่งใหญ่จนสามารถมาแข่งขันกับตนเองแถบทะเลเอเดรียติก เพราะอิตาลีถือว่าทะเลแห่งนี้เป็นของตนเองอิตาลีจึงหันไปร่วมมือกับออสเตรียทำหนังสือรับรองความเป็นเอกราชของอัลเบเนีย และรุสเซียก็จำต้องยอมให้เป็นเช่นนั้น ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงมีการสถาปนาอัลเบเนียของตุรกีเดิมขึ้นเป็นประเทศเอกราชมีกษัตริย์ปกครอง

    
      เพื่อรักษาสันติภาพเอาไว้ เซอร์เบียจึงจำเป็นต้องยอมสละผลประโยชน์ของตนเองไปอีกครั้งหนึ่ง - - -