วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์เมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน วิกฤตการณ์โมร็อกโก

วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

      กล่าวได้ว่านับเป็นเวลา 10 ปี ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นใน ยุโรปได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยและล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งจองการสั่งสมและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 แทบทั้งสิ้น
     
      นับแต่ปี 1904-1913 ภายใต้การพัฒนาทางการทหาร ลัทธิชาตินิยมและจักรวรรดินิยม ที่ครอบงำไปทั่วทั้งยุโรป ทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ระหว่างชาติที่ติดตามกันมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า แต่กระนั้นคู่กรณีก็สามารถก้าวพ้นการเสื่อมเสียมาได้แทบทุกครั้ง แต่กระนั้นด้วยแนวคิดชาตินิยมและการปลูกฝังที่มีอย่างต่อเนื่องสู่รุ่นลูกรุ่นหลานก็ทำให้สั่งสมความเกลียดชังและขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง
       
      ในจำนวนวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่น่าสนใจและมีผลโดยตรงต่อความขัดแย้งมีดังนี้
ภาพ:แมว3ตัวกำลังสู้กันแย่งหนู(โมร็อกโก) แมว 3 ประกอบด้วย
Edward VII,Wilhelm II , French foreign minister(รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ)Theophile Delcasse
     

วิกฤตการณ์โมร็อกโก ค.. 1905 และ ค.. 1906
     
      วิกฤตการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความขัดใจและขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีโมร็อกโกเป็นตัวกลาง และเป็นผู้ที่ต้องรับปัญหาโดยตรง
     
      กล่าวคือ ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 โมร็อกโกมีสถานะเป็นประเทศเอกราชโดยมีสุลต่านปกครอง ข้อดีของโมร็อกโกคือความอุดมสมบูรณ์ในแร่ธาตุและมีผลิตผลทางการเกษตรที่ดีกว่าหลายประเทศในแอฟริกาตอนเหนือ ด้วยข้อดีเช่นนี้เองจึงทำให้โมร็อกโกเข้าไปเป็นที่พึงปรารถนาของยักษ์ใหญ่แห่งยุโรปในเวลานั้น
    
      สิ่งสำคัญที่โมร็อกโกมีและเป็นที่หมายปองอย่างมากของยุโรปในเวลานั้นคือ โมร็อกโกมีบ่อแร่เหล็กและแมงกานิส และโอกาสด้านการค้าต่างๆ อีกสองมหาอำนาจแห่งยุโรปเวลานั้นคือเยอรมนีและฝรั่งเศสประกาศตัวชัดเจนที่จะเข้าไปหาผลประโยชน์ที่โมร็อกโก เมื่อทั้งสองชาติมาชิงดีชิงเด่นกันเช่นนั้นผลที่ออกมาก็คือไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบ
      
      แต่เมื่อถึงปี 1904 เมื่ออังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสขึ้นมา ซึ่งในสนธิสัญญานี้มีข้อความตอนหนึ่งกำหนดเอาไว้ว่าให้ฝรั่งเศสปฏิบัติกับโมร็อกโกได้ตามแต่ฝรั่งเศสจะปรารถนาซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนทางการฑูตต่อเยอรมนีโดยตรง ทั้งนี้เพราะเยอรมนีต้องการให้ชาติของตนเองมีส่วนร่วมในการเจรจาด้วยหากมีการพูดคุยกันในเรื่องของปัญหาโมร็อกโก
    
      ปลายปี 1904 นั่นเองฝรั่งเศสก็ได้ขอให้สุลต่านโมร็อกโกยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปปรับปรุงด้านการทหารและการคลังซึ่งหากองค์สุลต่านยินยอมก็จะทำให้ฝรั่งเศสมีอำนาจในโมร็อกโกเท่ากับที่เวลานั้นอังกฤษมีอำนาจเหนืออียิปต์อยู่ก่อนแล้ว
     
      รัฐบาลเยอรมนีวางเฉยในระยะแรก แต่อีกสองหรือสามเดือนต่อมาไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของเยอรมนี เสด็จเยือนเมืองแทนเจียร์ของโมร็อกโกอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 1905 อีกทั้งไกเซอร์ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ยอมรับในเอกราชและอธิปไตยของโมร็อกโก อีกทั้งในเวลานั้นกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีก็ได้เข้าขอร้องว่าหากจะมีการตกลงเกี่ยวกับอนาคตของโมร็อกโกแล้วก็ขอให้มีการเปิดการประชุมระหว่างชาติขึ้น
     
      ผลที่เกิดขึ้นมานี้ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสในเวลานั้นโกรธอย่างมากึงกับยืนยันที่จะทำให้เกิดสงครามขึ้นกับเยอรมนีให้ได้ แต่เมื่อเจรจากับพันธมิตรของตนเองอย่างรุสเซีย ซึ่งเวลานั้นยังไม่พร้อมจะไปออกรบกับใครได้เพราะกำลังติดพันในสงครามกับญี่ปุ่นอยู่ และเพิ่งจะพ่ายแพ้ญี่ปุ่นมา อีกทั้งเหตุการณ์ภายในประเทศของตนเองก็ไม่น่าไว้วางใจนักขณะอังกฤษนั้นแม้ด้านการฑูตจะแสดงออกถึงการสนับสนุนฝรั่งเศสอย่างเดิมทีแต่ก็ละเว้นการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าจะเข้ามาช่วยเหลือฝรั่งเศสหรือไม่หากเกิดสงครามขึ้นมา
Theophile Delcasse
รัฐมนรตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ณ เวลานั้น
     
      สุดท้ายฝรั่งเศสจึงจำต้องยอมจำนนต่อการกระทำของเยอรมนี ถึงขั้นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสต้องลาออกจากตำแหน่งและถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ทางการฑูตที่หน้าอายของฝรั่งเศส แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะ ทั้งนี้เพราะในการประชุมนานาชาติที่เยอรมนียืนยันให้จัดขึ้นที่เมืองอัลจาซีรา ในการลงคะแนนเสียงเยอรมนีพ่ายแพ้เกมการทูต โดยอิตาลีเข้าข้างฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ทุกกรณี ส่งผลให้เยอรมนีสามารถทำได้ก็เพียงแค่ยืนยันให้โมร็อกโกเป็นเอกราขแต่เพียงในนามเท่านั้น
    
      อธิปไตยของสุลต่านหมดไป โมร็อกโกต้องเปิดประเทศให้ชาติต่างๆ เข้ามาค้าขายได้โดยมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่จะมีเพียงฝรั่งเศสกับสเปนที่ได้มีอำนาจเข้ามาตรวจดูแลรักษาโมร็อกโกและการประชุมในครั้งนี้เองที่ทำให้เยอรมนีเริ่มสงสัยและไม่ไว้วางใจอิตาลีรวมถึงประเทศในค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร(Triple entente) และเป็นจุดเพิ่มพูนความกินแหนงแคลงใจ---
   
      และนี้ก็เป็น 1 ในเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นและเป็น 1 ใน ปัจจัยที่ทำให้เกิดสงครามโลกนั้นเอง

      ตอนหน้าจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไหน แบบไหน  ติดตามตอนหน้าครับ ^^

วันอาทิตย์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร (Triple entente)

กำเนิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร(Triple entente) ค.. 1907
Triple Entente 1907
     
      อย่างที่ว่านั้นเอง เมื่ออังกฤษสามารถเข้าไปปรองดรองกับฝรั่งเศสได้แล้วทำไมจะไม่สามารถปรองดรองกับรุสเซียได้ ในเมื่อมาถึงเวลานั้นอังกฤษมองว่าชาติที่จะมีปัญหากับอังกฤษมากที่สุดคงไม่มีใครเกินไปกว่าเยอรมนีที่กำลังขยายอำนาจทางทหารของตัวเองอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นในเวลาดังกล่าวอังกฤษจึงเริ่มหันกลับมาใช้กุศโลบาย มิตรของศัตรูคือศัตรูแต่ศัตรูของศัตรูย่อมคือมิตรแม้ว่าแท้จริงศัตรูของศัตรูนั้นก่อนหน้านี้เคยเป็นศัตรูของเรามาก่อน
     
      เมื่อจับมือกับฝรั่งเศสได้แล้วในเวลาต่อมาอังกฤษก็เริ่มหันมามองรุสเซีย
    
ภาพวาดแสดงถึงความไม่ลงรอยกันของรุสเซียและอังกฤษ
ในเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์

      อันที่จริงเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรุสเซียเสียก่อนแท้จริงนั้นรุสเซียกับอังกฤษมีปัญหากันมาตลอดเวลา โดยเฉพาะมีความขัดแย้งกันในอดีตในเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์จากดินแดนสามแห่งของโลก นั่นคือ
   
      1.บริเวณตะวันออกใกล้
   
      2.ตะวันออกไกล
  
      และ 3. ตอนกลางของทวีปเอเชีย
  
      โดยที่ทางตะวันนออกใกล้นั้น รุสเซียหวังเสมอมาว่ารุสเซียจะเข้าไปปลดปล่อยผู้คนแห่งคาบสมุทรบอลข่านให้หลุดพ้นจากอำนาจของตุรกี และหวังอยู่เสมอเช่นกันที่จะเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบลู) นครหลวงของตุรกีเอาไว้เป็นของตัวเองให้ได้ซึ่งที่ผ่านมาอังกฤษก็มีนโยบายปกป้องตุรกีให้พ้นจากการรุกรานของรุสเซีย ทั้งนี้ก็เพราะเพื่อหวังจะให้ตุรกีช่วยเหลือในการกัดกันรุสเซียไม่ให้ใหญ่เกินไป แต่ปรากฏว่าหลังปี 1900 เป็นต้นมาเมื่อเยอรมนีเข้าไปทวีอิทธิพลของตัวเองในตุรกีเรื่อยๆ ทำให้อังกฤษเกิดความตกใจและไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วรุสเซียหรือเยอรมนีกันแน่ที่จะทำลายผลประโยชน์อังกฤษ

แผนที่แสดงพื้นที่ข้อพิพาษ 1888-1905
   
      ขณะที่ทางตะวันออกไกล คือ จีน ญี่ปุ่น และแมนจูเรียนั้น อย่างที่รู้กันมาอย่างดีว่าอังกฤษเช้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในแผ่นดินจีนมาอย่างยาวนานแล้ว แต่เมื่อเข้าไปถึงในปี 1888 ปรากฏว่าชาวรุสเซียเริ่มเข้าไปมีบทบาททางการค้าในจีนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการเข้าไปเป็นคู่แข่งกับพ่อค้าอังกฤษในเรื่องการค้าไหมและใบชา อีกทั้งในเวลาต่อมาเมื่อรุสเซียยกกองทัพเข้าไปยึดครองแมนจูเรียไว้จึงส่งผลให้เกิดการลงนามในสัญญาระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่นที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้นั้นเอง อังกฤษทำสัญญาไมตรีกับญี่ปุ่นในปี 1902 ญี่ปุ่นเข้าทำสงครามกับรุสเซียในปี 1904 ดังนั้นอังกฤษเลยทำทุกวิธีทางที่จะต้องให้ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรุสเซียให้ได้ ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ค.. 1905 เมื่อรุสเซียพ่ายแพ้ในสงครามรุสเซีย-ญี่ปุ่น รุสเซียจำต้องถอยทัพออกจากแมนจูเรียเพื่อให้ญี่ปุ่นเข้าไปครอบครอง ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ทำให้รุสเซียเสื่อมอิทธิพลในการหาผลประโยชน์ในจีนลงไปด้วยดังนั้นการแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์กับอังกฤษจึงลดลงไปด้วย
    
      ในส่วนเรื่องอำนาจในบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียนั้น ก็นับเป็นดินแดนอีกแห่งหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องการหาผลประโยชน์ของรุสเซียและอังกฤษ กล่าวคือเมื่ออังกฤษได้แผ่อำนาจของตัวเองจากอินเดียขึ้นไปทางเหนือจนสามารถตั้งมั่นอยู่ในอัฟกานิสถาน พร้อมกันรุสเซียก็ยกกำลังลงใต้จากไซบีเรียมาตั้งประจันที่ชายแดนอัฟกานิสถานเช่นกัน ไม่เพียงเท่านั้นในเปอร์เซียทั้งอังกฤษและรุสเซียต่างก็เข้าไปลงทุนเพื่อหากำไรอย่างมหาศาลดังนั้นรัฐบาลของทั้งสองชาติจึงสนใจที่เข้าไปสร้างอิทธิพลในเปอร์เซีย
    
      แต่ปรากฏว่าเมื่อปี 1905 เมื่อมีการเลือกตั้งกันใหม่ทั้งสองประเทศจนกระทั่งเปลี่ยนรัฐบาล ประเทศทั้งสองเลยเริ่มหันหน้าเข้าเจรจากัน กระทั่งนำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่างอังกฤษกับรุสเซียในปี 1907 ในที่สุด โดยมีการตกลงแบ่งเขตเปอร์เซียออกเป็นเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับรุสเซียและมีข้อตกลงว่าทั้งสองจะไม่เข้าไปแทรกแซงในทิเบต และรุสเซียก็รับรองอำนาจของอังกฤษที่มีต่ออัฟกานิสถาน
    
      เรียกว่าสนธิสัญญาฉบับนี้ เป็นข้อตกลงที่ไม่ต่างกันกับที่อังกฤษทำกับฝรั่งเศสเอาไว้ นั้นคือเป็นสนธิสัญญาที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า สัญญาการให้อภัยอโหสิต่อกัน นั้นเอง

แผนที่แสดงถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของแต่ละประเทศ
      และเมื่อนาวโน้มของมิตรภาพระหว่างชาติเหล่านี้ดูดีขึ้นแล้วนับแต่ปี 1905 เป็นต้น ทำให้บรรดารัฐบุรุษของทั้งสามชาติต่างพยายามสร้างภาพให้โลกได้ประจักษ์ว่า อังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซียเป็นพวกเดียวกันแล้ว แม้ไม่ได้มีการลงนามในข้อสัญญาผูกมัดใดๆ ก็ตาม กระนั้น ก็มีความพยายามที่จะสร้างภาพให้ประจักษ์กันโดยเรียกพันธมิตรทั้งสามประเทศว่า ค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร ซึ่งถือว่าจะเป็นเครื่องถ่วงดุลค่ายพันธไมตรีไตรมิตร ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลีในระยะแรกอยู่
      
      และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ปัญหาระหว่างชาติที่เกิดขึ้นมาทุกปัญหาก็ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ และยิ่งตกลงกันยากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา ทั้งนี้เพราะแต่ละชาติแต่ละประเทศต่างคิดว่าตัวมีกลุ่มอำนาจการเมืองระหว่างชาติหนุนหลังอยู่ทั้งสิ้น และเมื่อเป็นเช่นนี้เองทุกประเทศจึงตั้งมั่นพร้อมที่จะทำสงครามอยู่เสมอ  

   
      และนี่คือที่มาที่ไปของบรรดาการรวมกลุ่มพันธมิตรหรือพันธไมตรีที่เกิดขึ้นมาในระหว่างก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ขึ้นมา และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วกลุ่มสองกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่ทะเลาะกันเองจนสร้างให้สงครามในครั้งนั้นกลายเป็นสงครามโลกไปในที่สุด ----

วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จักวรรดิบริเทน ตัวแปรของอำนาจ V.2

     
รัฐบุรุษโจเซฟ เชมเบอร์เลย(Joseph Chamberlain)

      …ต่อ เมื่อพิจารณาไตร่ตรองกันดีแล้ว อังกฤษหรือบริเทนใหญ่ก็ได้เริ่มนโยบายเปิดประเทศสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านขึ้นมาบ้าง โดยเริ่มจากการเข้าไปทาบทามเยอรมนี 1898 เป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่งในปี 1901 โดยมีรัฐบุรุษโจเซฟ เชมเบอร์เลน แต่ปรากฏว่าฝ่ายเยอรมนีไม่สนใจ ทั้งกลับตีความหมายไปว่าอังกฤษกำลังอ่อนกำลังลงอีกต่างหาก
    
      กลายเป็นว่าเวลานั้นเยอรมนีก็เริ่มลำพองตัวเองแล้วว่าการที่อังกฤษเข้ามาทาบทามนั้นแสดงให้เห็นว่าเยอรมนีก็ใหญ่พอแล้วที่จะเข้มแข็งด้วยตัวเองและอีกอย่างหนึ่งเยอรมนีก็หยิ่งเกินไปที่คิดว่าตัวเองสามารถจะทำไมตรีกับใครก็ได้ตามข้อเสนอของตัวเอง ทำให้ไม่สนใจอังกฤษหรือบริเทนใหญ่ในเวลานั้น
    
อังกฤษและฝรั่งเศสจำต้องจับมือกัน

      ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นไปด้วยดีกลับต้องแย่ลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเยอรมนีมีความคิดอยากที่จะเป็นที่ 1 ในทุกด้านเหนืออังกฤษให้ได้ ก็ยิ่งทำให้ช่องห่างระหว่างสองชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น ต่อเนื่องสภาไรซ์สตาคของเยอรมนีผ่านกฏหมายทางนาวีซึ่งยอมให้สร้างกองทัพเรือตามโปรแกรมนาวีแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถขยายกำลังและเข้าครอบครองน่านน้ำอันจะส่งผลต่อบริเทนใหญ่โดยตรง ทำให้อังกฤษเริ่มตระหนกอย่างมากทั้งนี้เพราะหากแผนการนั้นของเยอรมนีสำเร็จย่อมหมายความว่าความยิ่งใหญ่ทางนาวีของอังกฤษต้องถูกสั่นคลอนอย่างแน่นอน ดังนั้นอังกฤษจึงไม่อาจนิ่งเฉยออยู่ได้ ค.. 1902 อังกฤษจึงเริ่มนโยบายผูกมิตรกับชาติต่างๆ โดยเริ่มทำสนธิสัญญากับพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเป็นชาติแรก ต่อมาในปี 1904 ก็ได้เริ่มปรองดองกับฝรั่งเศสจนเกิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีอังกฤษ-ฝรั่งเศส ขึ้นในปี 1904 นั้นเอง
ต้นเหตุของการเป็นศัตรูกันคือสงคราม 100 ปี (War of 100 years)
เป็นสงครามที่เกิดจากราชวงศ์ของทั้ง 2 ประเทศ
ตามภาพด้านซ้ายคือกองทัพทหารฝรั่งเศส ด้านขวาคือกองทัพทหารของอังกฤษ
   
      ในสายตาชาวโลกเวลานั้นมองว่า สำหรับประเทศใดๆ ในโลกเวลานั้นคู่กรณีที่จะหันเข้ามาทำสัญญากันได้ยากที่สุดน่าจะเป็นอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งนี้เพราะทั้งสองชาติต่างมีเรื่องที่ทำให้เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมานับร้อยๆ ปีที่สำคัญฝรั่งเศสก็เพิ่งทำสัญญาไมตรีกับรุสเซียซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในเรื่องการขยายดินแดนในเอเชียของอังกฤษอีกชาติหนึ่งด้วย
     
      เรียกได้ว่าอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นพร้อมเสนอที่จะหันหน้ามารบกัน แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะเจาะคือ
    
      1.เมื่ออังกฤษถูกเยอรมนีปฏิเสธเรื่องไมตรีที่เสนอ
     
      2.เมื่อเยอรมนีตกลงใจสร้างกองกำลังทหารทางเรือ
    
      3.เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับอังกฤษภายหลังการเลือกตั้งในฝรั่งเศสเมื่อปี 1902 ทำให้ความร่วมมือครั้งใหม่เกิดขึ้นได้
     
      แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว ว่ากันว่าการที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับอังกฤษนั้น แท้จริงแล้วน่าจะมาจากการที่เวลานั้นฝรั่งเศสมีนโยบายที่จะรุกและแผ่อำนาจของตัวเองเข้าในโมร็อกโกต่างหาก หากว่าอังกฤษไม่ให้การสนับสนุนแล้วการแผ่อำนาจครั้งนั้นย่อมมีอุปสรรคอย่างมาก ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสหันมาทำไมตรีกับอังกฤษ จนสามารถลงนามในสัญญาข้อตกลงต่างๆ ที่ทำขึ้นในปี 1904 แล้วฝรั่งเศสก็สามารถรุกเข้าโมร็อกโกอย่างสะดวกสบาย

ช่องแคบยิบรอลตาร์
   
      ข้อสัญญามิตรภาพระหว่างสองชาติ มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่าทั้งสองจะปรองดองกันด้วยดีในกรณีพิพาทเรื่องสำคัญๆ ในแอฟริกาตะวันตก สยาม มาดากัสการ์ หมู่เกาะนิวเฮบรีดิส สิทธิการจับปลาในนิวฟาวด์แลนด์ และที่สำคัญที่สุดคือ ฝรั่งเศสยอมให้อังกฤษปฏิบัติการกับอียิปต์ได้ตามสะดวก กลับกันฝรั่งเศสก็ได้ประโยชน์จากอังกฤษคือปล่อยให้ฝรั่งเศสเจ้าไปทำอะไรในโมร็อกโกได้ตามปรารถนา มีข้อแม้อยู่เพียงว่าฝรั่งเศสยึดได้แต่ต้องไม่สร้างค่ายคู ประตูหอรบหรือสร้างเครื่องต้านทานศาสตราวุธต่างๆ ขึ้นในบริเวณนั้น ทั้งนี้เพราะอังกฤษเกรงว่า การกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกลายเป็นการคุกคามอังกฤษทางช่องแคบยิบรอลตาร์ได้

การเข้าครองครองโมร็อกโกของทั้งฝรั่งเศส และสเปน โดยมีตัวแปรสำคัญคืออังกฤษ
   
      ประเด็นหลักนี้อังกฤษยังหวาดเสียวอยู่ไม่น้อย เลยได้ไปขอทำสัญญาลับกับสเปนอีกประเทศหนึ่ง โดยมีข้อตกลงว่า ฝรั่งเศสเข้ายึดโมร็อกโกเมื่อใดอังกฤษก็จะยกโมร็อกโกอีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ฝั่งยิบรอลตาร์ให้กับสเปนทันที

   
      ว่ากันว่าสนธิสัญญาของทั้งสองชาติคืออังกฤษและฝรั่งเศสนั้นในระยะแรกไม่ได้มีการลงนามแบบผูกพันเป็นพันธมิตร และไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเล่นงานเยอรมนีโดยตรง แต่เมื่อเยอรมนีมีนโยบายสร้างตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ส่งผลให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต้องจับมือกันแน่นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการทำความสัมพันธ์ทางการทหาร กระนั้นก็ไม่มีการลงนามในสัญญาพันธมิตรกันจนกระทั่งเกิดสงครามโลกขึ้นมาแล้วนั้นเอง

วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จักวรรดิบริเทน ตัวแปรของอำนาจ

     
 
     ทิ้งท้ายสำหรับตอนกำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร (Triple Alliance)
กล่าวกันว่า สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1891 นี้เป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การสถาปนาสัญญาฉันทไมตรี (Triple Entente)
    
ฝรั่งเศส-รุสเซีย ร่วมมือกันจนทำให้เกิด สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสอง ค.ศ. 1891

      เป็นอันว่ามาถึงจุดนี้ก็เกิดกลุ่มการเมืองของสองมหาอำนาจขึ้นมาแล้วกล่าวคือ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เกิดจากการสถาปนาสัญญาพันธไมตรีไตรมิตร ค.. 1882 ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลีกับอีกกลุ่มคือเกิดจากสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1894 แล้ว ประเทศในทวีปยุโรปก็แบ่งออกเป็นสองค่ายอย่างชัดเจน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอีกต่างหาก
   
      ยังมีจักวรรดิสำคัญที่ขาดเหลือไม่ได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับการรวมตัวร่วมกลุ่มในครั้งนี้อยู่ก็อีกประเทศเดียวนั้นก็คือ อังกฤษ หรือจักวรรดิบริเทน บทความต่อไปนี้จะพูดถึงจักรวรรดิบริเทนใหญ่ หรืออังกฤษ จักรวรรดิที่ทรงอำนาจของโลกเวลานั้นมากๆ หรือเรียกง่ายนั้นก็คือ ตัวแปรของอำนาจ มาร่วมกันติดตามไปกันเลยว่าอังกฤษนั้นจะมีทีท่ายังไงกับสถาณการณ์ ณ ตอนนนั้น

จักวรรดิบริเทนใหญ่กับสัญลักษณ์ของจักวรรดิคือ สิงโต

   จักรวรรดิบริเทน ตัวแปรอำนาจ
   
      นับแต่ปี 1890 เป็นต้นมา บริเทนใหญ่ก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าการวางตัวลำดำเนินนโยบายอยู่ตามลำพังจะถือว่าเป็นความฉลาดหรือไม่ในเวทีการเมืองโลกหรือยุโรปในเวลานั้น
    
      อีกทั้งก็ต้องคิดว่าเป็นการฉลาดหรือไม่ ที่แม้จะวางตัวเป็นกลางในเวลานั้นก็จริงอยู่ แต่การกระทบกระทั่งกันอยู่เสมอและหวิดจะก่อให้เกิสงครามกับรุสเซียและฝรั่งเศสในเรื่องอาณานิคมก็เกิดขึ้นมาอยู่เสมอ โดยสาเหตุก็มาจากเรื่องของดินแดนในอาณานิคม แต่กระนั้นจักรรวรรดิบริเทนใหญ่ก็ได้แต่คิดเท่านั้น

เหล่านักรบโบเออร์กำลังประจำที่เพื่อทำสงครามกับอังกฤฤษ
   ่
      ต่อเมื่อถึงปี 1899 – 1902 ปรากฏว่าได้เกิดสงครามโบเออร์*** ขึ้นมาประเทศใหญ่ๆ ทางภาคพื้นยุโรปไม่ว่า ฝรั่งเศส รุสเซียและเยอรมนี ได้คิดการที่จะเข้าไปบังคับอังกฤษให้ยุติการรบกับพวกโบเออร์ แม้แนวคิดที่จะร่วมมือกันบังคับให้อังกฤษหยุดและสร้างสันติภาพขึ้นจะไม่ได้เกิดขึ้นมาจริงเพราะมหาอำนาจทั้งสามต่างเกรงในแสนยานุภาพของอังกฤษในเวลานั้นอยู่กระนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือแนวคิดที่ได้ยินมานี้ก็ทำให้อังกฤษต้องหันกลับมาคิดและพิจารณาให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในนโยบายการวางตัวโดดเดี่ยวของตัวเอง…. อังกฤษเริ่มกลับมาลองทบทวนและถามตัวเองแล้ว สำหรับพาทต่อไปเรามาดูกันต่อว่าอังกฤษจะมีทีท่ายังไง

Paul Kruger, photograph from 1879
นักรบของโบเออร์กับสงครามครั้งแรกของดินแดนแห่งนี้

      ***สงครามโบเออร์ เกิดจากพวกดัดช์เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่แหลมกู๊ดโฮปนับแต่ปี 1652 ครั้นถึงปี 1795 กองกำลังของอังกฤษก็เดินทางมาถึง จากนั้นศตวรรษที่ 19 ทั้งอังกฤษและฮอลันดาต่างก็เริ่มขยายอาณานิคมของตนในภูมิภาคนี้ จนกระทั่งปี 1879 อังกฤษก็เริ่มแผ่ขยายดินแดนครอบครองดินแดนของพวกโบเออร์ พวกโบเออร์ นำโดยครูเกอร์ นำพลพรรเข้าต่อต้านอังกฤษ ในปี 1880 นับเป็นสงครามโบเออร์ครั้งแรก การรบบนดินแดนแห่งนี้ระหว่างอังกฤษกับพวกโบเออร์ ดำเนินมาจนถึงปี 1902 จึงยุติลงด้วยการเจรจาสงบศึก
การเจรจายุติสงบศึกระหว่าง พอล ครูเกอร์ กับ เซอร์เอเฟอริน วู๊ด O'Neill's cottage near Amajuba Hill


To be continue

วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคสัญญาพันธไมตรี v.5

พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ II แห่งเยอรมนี
   

      …ต่อ เรื่องราวการลงนามในสัญญาต่างๆ ในช่วงเวลานี้ของชาวยุโรปยังมีมากมายและสับสนกันอยู่ไม่น้อย กล่าวคือในระหว่างการลงนามที่กล่าวไปแล้วนั้นปรากฏว่ายังมีการลงนามในสัญญาอื่นๆ อีก อาทิ สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ แม้ว่าในช่วงเวลานั้นจะเกิดสนธิสัญญาไตรมิตรขึ้นมาแล้วก็ตามทีกระนั้นเยอรมนีกับรุสเซียก็ยังลงนามในสัญญาฉบับนี้ อาจนับเป็นสัญญาลับหลังออสเตรียก็ว่าได้ กล่าวคือ ด้วยความที่เยอมนีกลัวว่าตัวเองจะมีปัญหากับฝรั่งเศสอย่างมากและระแวงที่สุดว่ารุสเซียอาจจะร่วมกันกับฝรั่งเศสได้ในที่สุดดังนั้นจึงจำต้องกันรุสเซียให้อยู่ห่างเอาไว้ก่อน จึงได้แอบทำสัญญากับรุสเซียฉบับนี้ขึ้นมา โดยมีเงื่อนไขว่า รุสเซียสัญญาจะไม่ร่วมกับฝรั่งเศสหากว่าฝรั่งเศสรุกรานเยอรมนี และเพื่อเป็นการตอบแทนเยอรมนีก็สัญญาว่าจะสนับสนุนผลประโยชน์ของรุสเซียทางแหลมบอลข่าน ทั้งที่แท้จริงแล้วในสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิก็มีค้ำอยู่ก่อนแล้ว

ออสโต ฟอน บิสมาร์ค
      

      สนธิสัญญาอินชัวรันส์ มีอายุ 3 ปี หมดอายุลงในปี 1890 ทั้งเยอรมนีและรุสเซียอยากต่ออายุแต่ปรากฏว่ามีบิสมาร์คผู้มีความสำคัญในการทำสัญญานี้ถูกพระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 จักรพรรดิพระองค์ใหม่ของเยอรมนีบังคับให้จำต้องลงจากตำแหน่งเสียก่อน และพระเจ้าไกเซอรที่ วิลเฮล์มที่ 2 ก็รวบอำนาจในการบริหารบ้านเมืองมาอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว พระองค์เห็นว่าเยอรมนีก็มีผลประโยชน์อยู่ในคาบสมุทรบอลข่านด้วยเช่นกันดังนั้นจึงควรจะร่วมมือกับออสเตรียในการรักษาผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่านเอาไว้ดีกว่า ดังนั้นเมื่อรุสเซียเสนอต่ออายุสนธิสัญญาอินชัวรันส์ กษัตริย์แห่งเยอรมันจึงตอบปฏิเสธไป
ธงสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่ายระหว่าง ฝรั่งเศส และ รุสเซีย

    
      เมื่อไม่ได้มีสัญญาลับกับเยอรมนีแล้ว ในปี 1891 รุสเซียจึงหันไปทำสัญญากับฝรั่งเศสขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียกสัญญาฉบับนี้ว่า สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส-รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1891
ภาพความเสียหายของกรุงปารีสบริเวณประตูชัยของฝรั่งเศสหลังความพ่ายแพ้ต่อ ปรัสเซีย ในปี 1871

   
      จุดนี้ต้องย้อนกลับไปดูที่ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อประเทศปรัสเซียในปี 1871 แล้ว ฝรั่งเศสก็กลายเป็นประเทศยิ่งใหญ่ที่โดดเดี่ยวและบาดเจ็บ ต้องอยู่ตามลำพังและหาเพื่อนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะบิสมาร์คใช้ทุกวิธีทางในการกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้สามารถจับมือกับใครได้ กระทั่งถึงวันที่รุสเซียเกิดความโกรธอย่างมากต่อเยอรมนีที่ไม่ยอมต่อสัญญาอินชัวรันส์ ผนวกกับที่รุสเซียก็ยังต้องการเงินจำนวนมากเพื่อมาใช้จ่ายในการพัฒนาบ้านเมืองและฝรั่งเศสยินดีให้กู้ยืมมาก่อนหน้านับแต่ปี 1888 เป็นต้นมาแล้ว
Pont Alexandre III  ในกรุงปารีสและTrinity Bridge ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสองสัญลักษณ์พันธมิตรระหว่าง ฝรั่งเศส รุสเซีย
   

      ลักษณะความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือฐานะเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระหว่างฝรั่งเศสกับรุสเซียส่งผลให้มิตรภาพทางการฑูตระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นมาโดยดี ดังนั้นจึงเกิดการทำสัญญากันขึ้นมาในปี 1891 โดยมีข้อตกลงหลักว่าทั้งสองประเทศจะร่วมกันในการรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นในยุโรป
     
      ต่อมาในปี 1894 ก็ได้ขยายข้อตกลงโดยกำนหดให้อนุสัญญาลับทางทหารระหว่างสองประเทศขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาป้องกันช่วยเหลือโดยมีเงื่อนไขอย่างย่อๆ ว่า ในกรณีที่ฝรั่งเศสถูกอิตาลีซึ่งมีเยอรมนีหนุนหลังอยู่เข้าโจมตี รุสเซียจะต้องใช้กำลังทั้งหมดที่มีอยู่เข้าโจมตีเยอรมนีและในกรณีที่รุสเซียถูกเยอรมนีหรืออสเตรียที่มีเยอรมนีหนุนหลังอยู่โจมตี ฝรั่งเศสก็จะต้อง ช่วยรุสเซียโดยการเข้าโจมตีเยอรมนี และมีการกำนหดกำลังทัพควรทีไว้ดังนี้ฝรั่งเศสควรมีกำลังทัพ 1,300,000 นาย ขณะที่รุสเซียควรมี 700,000 ถึง 800,000 นาย

ภาพวาดแสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย (The Blue croos flag) ธงนาวาของรุสเซีย
   
      ดังนั้นสิ่งที่บิสมาร์คกลัวมากที่สุด คือ กลัวว่าฝรั่งเศสจะมีพันธมิตรก็เกิดขึ้นมาจริงในที่สุด เกิดขึ้นหลังจากที่เขาต้องลาออกจากตำแหน่งไป 4 ปี เท่านั้นกล่าวกันว่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่เขาอยู่ในอำนาจเขาต้องทำงานหนักทุกอย่างเพื่อไม่ให้ฝรั่งเศสสามารถกลับมามีอำนาจในยุโรปได้อีก แต่เพียงไม่นานเท่านั้นหลังจากเขาลงจากตำแหน่งสิ่งที่เขากลัวก็เกิดขึ้นมาจนได้

To be continue

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธไมตรี v.4

      

ธงชาติออสเตรียและอิตาลีกับการกลับมาปรองดรองกันอีกครั้ง

      …ต่อ กรณีการทำสนธิสัญญานี้มีเรื่องที่น่าสนใจแทรกอยู่ กล่าวคือเมื่อตอนที่เกิดสัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1879 เชื่อมความสัมพันธ์สองประเทศคือเยอรมนนีและออสเตรีย อันเป็นสนธิสัญญาลับนั้น ปรากฏว่าเมื่อถึงปี 1882 ก็มีการเจรจาขยายให้สนธิสัญญาฉบับนี้ให้กลายเป็นสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตรขึ้นมา โดยไตรมิตรนี้ก็คือการเพิ่มหรือยอมรับเอาอิตาลีเข้ามาร่วมลงนามอีกประเทศหนึ่งนั่นเอง โดยมีการลงนามกันในเดือนพฤษภาคม 1882**
    
      เงื่อนไขอย่างย่อของสัญญามีดังนี้
   1.ในกรณีที่อิตาลีถูกฝรั่งเศสโจมตี เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการี จะต้องช่วยอิตาลีและในกรณีที่เยอรมนีถูกฝรั่งเศสโจมตีอิตาลีจะต้องช่วยเยอรมนี
   
   2.ในกรณีที่ภาคีหนึ่งหรือสองประเทศแห่งสัญญานี้ถูกประเทศนอกภาคีประเทศใดก็ตามรวมสองประเทศขึ้นไปทำการโจมตี ภาคีหนึ่งหรือสองประเทศที่เหลืออยู่ตามสัญญานี้จะต้องเข้าช่วย
     
     สัญญาลับนี้มีอายุ 5 ปี มีการต่ออายุและเปลี่ยนแปลงแก้ไขในบางประเด็นในปี 1887 และมีการต่ออายุเป็นครั้งคราวเรื่อยมาจนกระทั่งถึงสงครามโลกครั้งที่ 1 สัญญานี้จึงได้เลิกร้างไป โดยอิตาลีปฏิเสธไม่ยอมร่วมกับเยอรมนีและออสเตรีย เพราะอิตาลีอ้างว่าฝรั่งเศสไม่ได้เป็นฝ่ายรุกราน

   
แผนที่แสดงที่ตั้งของอิตาลีและตูนิส ว่าใกล้กันแค่ไหน

      **การรวมเอาอิตาลีเข้ามาเป็นอีกหนึ่งประเทศนั้น ในเวลานั้นถือว่าเป็นเรื่องที่แปลกมากทั้งนี้เพราะอิตาลีกับออสเตรียนั้นนับเป็นคู่แค้นกันมาอย่างยาวนานในหน้าประวัติศาสตร์ไม่น่าจะสามารถรวมเข้ากันได้ แต่ก็เกิดขึ้นมาแล้ว การที่สามารถเข้าร่วมเป็นไตรมิตรได้นั้นก็เพราะเหตุผลที่ซับซ้อนซึ่งพอจะสรุปอย่งาย่อได้ดังนี้ ในการประชุมคองเกรสแห่งเบอร์ลิน ค.. 1878 นั้นฝรั่งเศสโกรธว่าอังกฤษได้เกาะไซปรัสไป ทำให้บิสมาร์คและรัฐมนตรีต่างประเทศของอังกฤษต้องเอาใจฝรั่งเศสโดยการสนับสนุนให้ฝรั่งเศสยึดเอาตูนิสซึ่งเวลานั้นอยู่ใต้อำนาจตุรกี เหตุการณ์นี้ทำให้อิตาลีตกใจอย่างมาก ทั้งนี้เพราะตูนิสตั้งอยู่ทางฝั่งเหนือของทวีปแอฟริกาตรงข้ามกับอิตาลีพอดี ดังนั้นหากฝ่ายที่ครองตูนิสไม่พอใจอิตาลีก็สามารถโจมตีอิตาลีได้สะดวกทันที ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดครองตูนิสอิตาลีจึงหันเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับเยอรมนีทันที บิสมาร์คจึงฉวยโอกาสนี้แนะให้อิตาลีปรองดองกับออสเตรีย ทำให้เกิดสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตรขึ้นในที่สุด

วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธไมตรี v.3

     
      ..ต่อ สัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1879 นี้เกิดขึ้นเพราะบิสมาร์ครู้ดีว่าหลังจากที่ได้มีการลงนามในการประชุมคองเกรสแห่งเบอร์ลินเมื่อปี 1878 เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาซานสเตฟาโนแล้ว บิสมาร์คก็รู้ดีว่ารุสเซียเริ่มมีความไม่พอใจเยอรมนีที่ทำตัวเป็ยกลางในการเรียกหลายฝ่ายมาประชุมจนต้องนำมาสู่การเสียประโยชน์ของรุสเซีย บิสมาร์คไตร่ตรองดูแล้วก็เห็นว่า ออสเตรียเป็นพันธมิตรที่ดีซื่อสัตย์และไว้วางใจได้มากกว่ารุสเซีย ดังนั้นบิสมาร์คจึงรีบจัดการให้เยอรมนีและออสเตรียลงนามในสัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1879 และถือเป็นความลับโดยเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้มีว่า ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดถูกรุสเซียโจมตี อีกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยเหลือ ข้อหนึ่ง อีกข้อหนึ่งว่า ในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งนอกเหนือจากรุสเซีย(แท้จริงเยอรมนีคาดว่าน่าจะเป็นฝรั่งเศส)รุกราน ประเทศอีกฝ่ายจะต้องทำตัวเป็นกลาง จนกว่าหากเกิดรุสเซียไปเข้าร่วมกับฝ่ายที่มาโจมตีนั้นละทั้งสองจึงจะหันมาร่วมมือกัน
      
      เรียกว่าสัญญาฉบับนี้มีเอาไว้เพื่อป้องกันรุวเซียเป็นหลักและฝรั่งเศสเป็นรองนั้นเอง
    
      แต่ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีความพยายามที่จะให้มีการกลับมาต่อสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
    
      กล่าวคือ หลังสิ้นสุดสัญญาฉบับนี้ลงไปแล้ว แท้จริงนั้นบิสมาร์คก็ยังเสียดายสัญญาฉบับนี้อยู่ โดยเฉพาะอย่ายิ่งพระเจ้าไกเซอร์ที่ 1 แห่งเยอรมนีก็ได้ทรงยืนยันให้มีการต่อสัญญาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปรุสเซียก็เริ่มมีความคิดที่อยากจะกลับมาต่อสัญญากับเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ประจวบกับทางออสเตรียในเวลานั้นมีผลกระทบจากการได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนายแกลดสตันซึ่งเป็นบุคคลที่จงเกลียดจงชังออสเตรีย ทำให้ออสเตรียจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตร เมื่อมีการทาบทามออสเตรียจึงยินยอมแต่โดยดีที่จะกลับมาลงนามอีกหนหนึ่ง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1881 สัญญาฉบับนี้ก็ได้รับการต่อายุอีกครั้ง
    
      สัญญานี้พอจะสรุปเงื่อนไขได้ว่า ในกรณีที่ประเทศหนึ่งประเทศใดยกเว้นตุรกี้(ออตโตมัน) บุกรุกประเทศในสัญญา ทุกฝ่ายจะวางตัวเป็นกลางแต่หากว่าตุรกีบุกรุกเประเทศใดประเทศหนึ่ง ทุกฝ่ายจะต้องมาตกร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และต้องปล่อยให้คายสมุทรบอลข่านดำรงอยู่เช่นที่เป็นอยู่ในเวลานั้น โดยที่ทุกฝ่ายต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยกเว้นแต่เรื่องที่ออสเตรียสามารถเข้ารวบรวมมนฑลบอสเนียและเฮอร์เซโกวินาได้ กับอีกกรณีคือโรมาเนียที่รุสเซียจะสามารถเข้าไปดำเนินการได้ตามแต่สะดวก ซึ่งสัญญาฉบับนี้ก็ใช้ได้สมัยหนึ่งคือ 3 ปี แต่มีการต่ออายุอีกครั้งในปี 1884 แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงปี 1887 สัญญานี้ก็ต้องเลิกไปเพราะรุสเซียกับออสเตรียมีปัญหากันในเรื่องคาบสมุทรบอลข่านอีกครั้งหนึ่ง

To be continue

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร v.2

     

สันนิบาตสามจักรพรรดิ


….ต่อ แต่ทั้งหลายทั้งมวลที่บิสมาร์คคิดก็ใช่ว่าเขาจะมั่นใจเสียทีเดียว บิสมาร์คยังมองการณ์ไกลไปกว่านั้นกล่าว คือเขาเห็นว่าทางที่ดีที่สุดในการกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้สามารถรวมกำลังกับชาติอื่นๆ เพื่อกลับมาเล่นงานเยอรมนีได้นั่นก็คือ การทำให้เยอรมนีได้นั่นก็คือ การทำให้เยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางของสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศให้มีอำนาจกว่าอีกกลุ่มสัมพันธไมตรีที่ฝรั่งเศสอาจตั้งขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นแนวความคิดเรื่องการรวมกลุ่มประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจเพื่อคานอำนาจคนอื่นก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
     
      โดยที่การรวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้นเริ่มที่เยอรมนีโดยบิสมาร์คคิดทำสัมพันธไมตรีกับรุสเซียและออสเตรียก่อน โดยเกิดการลงนามเซ็นสัญญากันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1872 เรียกกันว่า สัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ
    
จากซ้ายฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย
กลางไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1
ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2

      สันนิบาตสามจักรพรรดิ มีอายุระหว่าง ค.. 1872-1876 เกิดขึ้นเมื่อโดยการลงนามของสามจักรพรรดิของสามชาติ คือ จักวรรดิเยอรมนี รุสเซีย และออสเตรีย
    
      ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนที่ปรัสเซียจะรวมตัวและกลายเป็นจักรพรรดิเยอรมนีนั้นครั้งหนึ่งปรัสเซียเคยเข้าไปช่วยเหลือรุสเซียในการปราบกบฏชาวโปลซึ่งเกิดขึ้นในปี 1863 จึงถือว่าทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง ขณะที่กับออสเตรียนั้น แม้ว่าออสเตรียจะแพ้สงครามกับปรัสเซียมาก่อนแต่นโยบายที่ปรัสเซียนำมาใช้กับผู้แพ้สงครามก่อนหน้านั้นที่โอนอ่อนผ่อนปรนกันมาก็ทำให้ออสเตรียเกิดความรู้สึกที่ดีอยู่ไม่น้อย
    
      ครั้นเมื่อบิสมาร์คเจรจาทาบทามประเทศทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายจึงสามารถโอนอ่อนเข้าหากันได้ โดยในเดือนกันยายน 1872 กษัตริย์ทั้งสามพระองค์คือ ฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย และไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี ได้ทรงพบกันที่กรุงเบอร์ลินและอีกหนึ่งปีต่อมาก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาสามจักรพรรดิขึ้น
    
      กระนั้นสนธิสัญญาในการรวมตัวและช่วยเหลือกันนี้ก็มีปัญหา ทั้งนี้เพราะไม่ได้คำนึงถึงกรณีความสัมพันธ์ของรุสเซียและออสเตรีย โดยเฉพาะการที่ออสเตรียและรุสเซียแย่งชิงกันเข้าไปมีอำนาจทางคาบสมุทรบอลข่านอยู่ ดังนั้นผลจากความแตกแยกนี้ก็ทำให้สนธิสัญญาไม่ยืนยาว*** และต้องปิดฉากลงในปี 1876 กล่าวคือหลังเกิดความแตกแยกระหว่างสองชาติแล้วก็นำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญาใหม่ ครานี้เรียกกันว่า สัญญาไมตรีสองประเทศ ค.. 1879…
To be continue

แผนที่แสดงบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน

***ปัญหาของรุสเซียและออสเตรียในคาบสมุทรบอลข่านที่ว่านี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 1875 เมื่อบอสเนียเฮอร์เซโกวินา และบัลแกเรียซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอล่าน แต่เวลานั้นอยู่ภายใต้การปกครองของตรุกี(ออตโตมัน)ได้ก่อกบฏขึ้นมา 

Russian-Turkish War, 1877-1878.
     
      ทำให้รุสเซียฉวยโอกาสที่เกิดความวุ่นวายขึ้นมาในครั้งนั้นประกาศสงครามกับตรุกีในปี 1877 และตุรกีก็เป็นฝ่ายปราชัยจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซานสเตฟานโนเมื่อปี 1878 กับรัสเซีย 
    
การลงนามสนธิสัญญาซานสเตฟานโน 1878
      ซึ่งเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้เปิดโอกาสให้รุสเซียสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านอย่างมหาศาล ทำให้ออสเตรียตกใจ ทั้งนี้เพราะออสเตรียมีนโยบายที่จะขยายอำนาจไปทางคาบสมุทรบอลข่านเหมือนกัน อังกฤษเข้าสนับสนุนออสเตรียเพราะต้องการใช้ออสเตรีย

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร v.1

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร
    
       เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพของการเกิดกลุ่มอำนาจสองฝ่ายจำเป็นที่จะต้องย้อนรอยกลับไปมองถึงการเกิดกลุ่มเหล่านี้ก่อนสงครามโลกกันเสียก่อน (โดยจะนำเสนอเป็นตอนๆ ไปครับ ^^)

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เป็นส่วนหนึ่งของการรวมชาติเยอรมนี ปี 1870
ภาพสงครามกันปะทะระหว่างสงครามของทั้งสองฝ่าย

       ย้อนกลับไปยังปี 1871 หลังจากที่ปรัสเซียทำสงครามมีชัยชนะต่อฝรั่งเศสอย่างงดงามและได้ประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมนีขึ้น เยอรมนีก็มีฐานะที่เข้มแข็งด้านการทหารอย่างมากอาจจะกล่าวได้ว่ามากที่สุดในยุโรปเวลานั้นเลยก็ว่าได้ ขณะเดียวกันนั้นฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอำนาจทางทหารมา
ยาวนานกว่า 200 ปี ก็ต้องเสียตำแหน่งให้กับเยอรมนีไปเพราะความพ่ายแพ้ด้วยเช่นกัน
  
จักรวรรดิปรัสเซีย(เยอรมนี) และแสดงถึงดินแดนที่ได้จากฝรั่งเศส
  
       ผลของชัยชนะของปรัสเซียครั้งนั้นทำให้เยอรมนีได้แคว้นหรือมณฑลที่สำคัญสองแห่งจากฝรั่งเศส นั้นคือมณอาลซาสและลอร์เรน ซึ่งทั้งสองแห่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็กและถ่านหินซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสหากรรมที่กำลังเติบโตและรุ่งเรืองในเวลานั้น
เยอรมนีในยุคที่รุ่งเรืองที่ทางอุตสาหกรรม

       จากผลที่เกินขึ้นมานี้เองที่ทำให้เวลาต่อมาเยอรมนีสามารถปรับปรุงบ้านเมืองของตัวเองให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่รุ่งเรืองที่สุดทางอุตสาหกรรมบนแผ่นดินใหญ่ของยุโรปและหากจะมีคู่แข่งอยู่ก็น่าจะมีชาติสำคัญทางอุตสาหกรรมอีกประเทศเดียวเวลานั้นคือจักรวรรดิอังกฤษที่อยู่บนเกาะ
      
       ความเติบโตและก้าวหน้าของเยอรมนีครั้งนั้นเองถือเป็นการเพาะเมล็ดพืชแห่งสงครามขึ้นมา
    
กรุงเบอร์ลินในช่วงยุครุ่งเรืองของเยอรมนี
 
       แม้ว่ากรุงเบอร์ลินจะกลายเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของยุโรปในเวลานั้นไปแล้วก็ตามที กระนั้น บิสมาร์ค หรือออตโต ฟอน บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของเยอรมนี ผู้มีบทบาทอย่างสูงในการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมนีขึ้นมา ก็มีความหวาดเกรงอยู่เช่นดียวกัน ว่ากันว่าวันหนึ่งฝรั่งเศสอาจจะหาทางแก้แค้นทดแทนอย่างแน่นอน บิสมาร์คจึงพยายามดำเนินนโยบายธำรงไว้ซึ่งสันติภาพในยุโรป ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาสถานะของเยอรมนีให้มั่นคงอยู่นานเท่านาน และด้วยนโยบายเช่นนี้เองที่บิสมาร์คมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เยอรมนีเข้มแข็งอละฝรั่งเศสต้องอ่อนแอลงไป
 
แผนที่ยุโรปแสดงให้เห็นถึงที่ตั้ง ฝรั่งเศส-เยอรมนี-รุสเซีย ปี 1871 (เยอรมนีอยู่ตรงกลาง)
         
       สิ่งที่เขาคิดได้ก็คือ เยอรมนีจะต้องแวดล้อมไปด้วยเพื่อนฝูง และฝรั่งเศสต้องโดดเดี่ยว ที่สำคัญเขาจะต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ฝรั่งเศสและรุสเซียสามารถเข้าร่วมมือกันได้ เพราะหากว่าเมื่อใดฝรั่งเศสสามารถจับมือกับรุสเซียแล้ว หากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีก็จะกลายเป็นมีศัตรูสองด้านพร้อมกันทันที
  
ออตโต ฟอน บิสมาร์ อัครเสนาบดีของเยอรมนีผู้มีส่วนสำคัญในการรวมชาติเยอรมนี
          
       กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เยอรมนีจะสามารถทำตัวเป็นศูนย์กลางของอำนาจและมิตรภาพได้ ทั้งนี้เพราะกว่าที่เยอรมนีจะสามารถประกาศตัวเป็นจักรวรรดิเยอรมนีได้นั้นก็ต้องก่อศัตรูเอาไว้มากมายแล้วดังนั้นนโยบายทุกอย่างที่เยอรมนีและบิสมาร์คคิดในเวลานั้นก็คือ จำเป็นที่สุดที่จะต้องไม่ให้ฝรั่งเศสซึ่งคือศัตรูที่เยอรมนีกลัวที่สุดสามารถไปรวมตัวหรือจับมือกับใครได้
 
บิสมาร์คกำลังสนทนากับนโปเลียนที่ 3 หลังสงครามซีแดน(Sedan war )
        
       เมื่อเป็นดังนั้น เยอรมนีจึงใช้ยุทธวิธีทางการฑูตเข้าไปดำเนินนโยบายการต่างประเทศของตัวเอง โดยบิสมาร์คเข้าไปสนับสนุนให้ฝรั่งเศสขยายอาณานิคมของตัวเองออกไปในแอฟริกาและเอเชียทั้งนี้เพราะเข้ารู้ดีว่าการสนับสนุนฝรั่งเศสนั้นอาจทำให้ลดความรู้สึกอยากแก้แค้นของฝรั่งเศสลงได้บ้าง ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือการที่ฝรั่งเศสขยายอาณานิคมอย่างต่อเนื่องในแอฟริกาและเอชียนนั้นต่อไปแล้วก็จะต้องเกิดปัญหาขึ้นกับอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมในแถบนั้นอย่างแน่นอน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ย่อมหมายถึงฝรั่งเศสไม่ได้มีศัตรูเพียงแค่เยอรมนีเท่านั้น

To be continue…