วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 1 ตอนที่ 2 แนวรบด้านตะวันออก

สงครามโลกครั้งที่ 1



สงคราม ค.. 1914-1915

ตอนที่ 2 แนวรบด้านตะวันออก
   
ภาพแสดงการเคลื่อนทัพของกองทัพรุสเซีย 1914

       เมื่อรุสเซียเคลื่อนทัพมาเป็นสองทางคือยุโรปไปทางทิศเหนือและตะวันตกจากโปแลนด์เพื่อเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออกทางหนึ่ง
    
       และอีกทัพหนึ่ง ก็ยกลงไปทางใต้เพื่อเข้าโจมตีออสเตรีย  ฮังการี
    
กลาง นายพลฟอน ฮินเดนเบิร์ก
       การเข้าโจมตีปรัสเซียตะวันออก กองทัพของของรัสเซียต้องเข้าประจัญบานกับกองทัพเยอรมนีที่มีอาวุธที่ดีกว่าและทันสมัยกว่าอีกทั้งยังมีแม่ทัพที่ดีกว่านั่นคือมีนายพลฟอน ฮินเดนเบิร์ก(Fol Hindenburg) และนายพลลูเดนเดอร์ฟ เป็นผู้นำทัพของเยอรมนี
      
       การรบที่เทนเนนเบิร์ก เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 25-30 สิงหาคม กับการรบที่ทะเลสาบมาซูเรียน ในวันที่ 4-10 กันยายน ทั้งสองครั้งนี้ทำให้กองทัพรัสเซียถูกกองทัพเยอรมนีเข้าตีแตกพ่ายอย่างไม่เป็นท่า จนดูเหมือนว่าจะไม่สามารถจะกลับมารวมตัวกลับมาโจมตีใหม่ได้อีกต่อไป
     
       ขณะที่ทางด้านออสเตรียนั้น กลับปรากฏว่ารุสเซียมีชัยชนะติดต่อกันได้หลายครั้ง โดยได้เข้ายึดครองภาคตะวันออกของกาลิเซียส่วนใหญ่ไว้ได้ และทำลายทั้งผู้คนและอาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ ลงอย่างมหาศาล
    
แผนที่แคว้นกาลิเซีย ที่รุสเซียยึดไว้ได้
       ทำให้ฝ่ายเยอรมนีมองว่าจำเป็นที่จะต้องช่วยบรรเทาเหตุแห่งการโจมตีของรัสเซียที่มีต่อออสเตรียลงได้บ้าง จึงได้ว่างปฏิบัติการตอบโต้โปแลนด์
    
ทหารเยอรมนีกำลังเคลื่อนพลผ่านกรุงวอร์ซอ
หลังจากชัยชนะเหนือรุสเซีย 1915
       กองทัพรุสเซียวางแผนที่จะโจมตีหลายทิศทางโดยพุ่งเป้าหมายไปยังแคว้นกาลีเซีย(Galicia)ของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และปรัสเซียตะวันออกของเยอรมนีถึงแม้ว่าการรุกเข้าไปยังแคว้นกาลิเซียจะประสบความสำเร็จอย่างงดงาม แต่ด้านปรัสเซียตะวันออกนั้นกลับถูกตีโต้ออกมาหลังความพ่ายแพ้ที่ยุทธการเทนเนนเบิร์กและยุทธการทะเลสาบมาซูเรียนครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนสิงหาคมกับเดือนกันยายนของปี 1914 เนื่องจากพื้นฐานทางอุตสาหกรรมที่ไม่มั่นคงรัสเซียและการนำกองทัพที่ไม่มีประสิทธิภาพกำลังจะนำไปสู่ความพ่ายแพ้ของรุสเซียในไม่ช้านี้ ช่วงฤดูใบไม้ร่วงของปี 1915 กองทัพปรัสเซียได้ถอยทัพถึงแคว้นกาลิเซีย และเดือนพฤษภาคม กองทัพฝ่ายมหาอำนาจกลางได้ตีแนวรบรุสเซียด้านทางทิศใต้ในโปแลนด์ได้อย่างน่าประหลาดใจ วันที่ 5 สิงหาคมกรุงวอร์ซอแตกและกองทัพรุสเซียล่าทัพออกจากโปแลนด์อีก เหตุการณ์นี้รู้จักกันในนาม การล่าถอยครั้งใหญ่ ของรุสเซีย และ การรุกครั้งใหญ่ ของเยอรมนี
     
แผนที่สงครามระหว่างตะวันออกและตก ในสงครามโลกครั้งที่ 1
 
       สรุปได้ว่า ทางด้านแนวรบตะวันออก แม้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแนวรบด้านตะวันตก แต่เมื่อสิ้นปี 1914 ก็นับได้ว่าทั้งสองฝ่ายสามารถยันกันเอาไว้อยู่และไม่มีอะไรคืบหน้า ในปี 1915 เยอรมนี ได้ทำการรุกทางแนวรบด้านตะวันออก โดยโจมตีลึกเข้าไปในโปแลนด์ และเข้ายึดกรุงวอร์ซอและเมืองวิลนาได้ รัสเซียเสียทหารและล้มตายไปในสงครามด้านแนวรบตะวันออกนี้ร่วม 1 ล้านคน

     

       และนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา รุสเซียก็ไม่ใช่ศัตรูที่น่ากลัวอีกต่อไปต่อมหาอำนาจกลาง แต่กระนั้นก็ใช่ว่าจะพ่ายแพ้เสียทีเดียวหากแต่ยังมีสถานะเป็นคู่สงครามอยู่ และรุสเซียยังได้พยายามอีกครั้งในปี 1916 โดยการโจมตีครั้งใหญ่แต่ก็ทำให้ทหารรุสเซียตายลงอีกจำนวนมากเช่นเดิม ---

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 1 #แนวรบด้านตะวันตก

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงคราม ค.. 1914 – 1915
     
       หลังจากที่กระสุนนัดแรกดังขึ้นมาแล้ว แผนการ การสงครามก็ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
       
       บทความบทนี้จะนำเสนอ ถึงแต่ละจุดของสงครามไม่ว่าจะเป็นทิศเหนือ ใต้ ออก ตก หรือแม้กระทั่งคาบสมุทรต่างๆ โดยจะเริ่มจาก แนวรบด้านตะวันตกก่อน
    
       ตอนที่ 1  แนวรบด้านตะวันตก เยอรมนี ฝรั่งเศส ในสงครามแห่งลุ่มแม่น้ำมาร์น (Maene)
   
       ในแนวรบด้านตะวันตกนี้ หมายถึงการรุกเพื่อเข้าไปโจมตีฝรั่งเศสของเยอรมนี
    
       กล่าวกันว่าแผนสงครามดั้งเดิมของเยอรมนีนั้นมีความมุ่งหมายที่จะทุ่มเทกำลังทหารเข้าสู่ฝรั่งเศส และจะโจมตีฝรั่งเศสให้ชนะโดยเร็วที่สุด คือไม่เกินสองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งการที่จะให้สำเร็จดังนี้ จะต้องดำเนินไปตามที่แผนที่ชื่อว่า ชลีฟเฟน
     
แผนที่แสดงแนวรบบริเวณแม่น้ำมาร์น(Marne)
       
       นั่นคือ ต้องทุ่มเทกองทัพจำนวนมากเข้าสู่ฝรั่งเศสโดยผ่านทางเบลเยียมเพราะเป็นทางตัดตรง แล้วจะตีโอบเป็นวงล้อมกองทหารฝรั่งเศสซึ่งเยอรมนีคาดเอาไว้ว่าจะมาตั้งรับอยู่ทางอัลชาช
      
       แผนการชลีฟเฟนนี้เป็นแผนที่ ชลีฟเฟน ซึ่งเป็นประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการของเยอรมนีเป็นผู้คิดขึ้น และถือกันว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ชิ้นเยี่ยม แต่ปรากฏ มอลต์เก ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการแทนชลีฟเฟนได้ปรับปรุงแผนนี้เสียจนกระทั่งแผนไม่ได้ให้ผลอย่างที่คาดเอาไว้แต่ต้นเลย
     
       ทั้งนี้เพราะมอลต์เก ได้ทำให้ปีกขวาของกองทัพใหญ่อ่อนกำลังลงทำให้ขาดกำลังที่จะเป็นในการจะตีเข้าโอบล้อมทหารฝรั่งเศส
      
ทหารฝรั่งเศสในยุทธการแม่น้ำมาร์น
       แต่เดิมแผนการชลีฟเฟนได้มีเป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพเยอรมนีโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่องช้าและความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลากขัดขวางรถไฟขนเสบียงของเยอรมนี ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 1 ( 5- 12 กันยายน )
      
       ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำไปในสัปดาห์แรก ๆ เพราะถูกโจมตีโดยไม่ทันได้ตั้งตัว กระนั้นภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยอฟร์ กองทัพก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว กองทัพบกของฝรั่งเศสสามารถต้านทานการรุกของเยอรมนีได้อย่างกล้าหาญ
   
ทหารฝรั่งเศสตั้งแนวรับหลังคลองแม่น้ำมาร์น
   
       กล่าวว่า การรบอย่างเด็ดขาดเกินขึ้นครั้งแรกที่แม่น้ำมาร์น ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-12 โดยที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้ารบกันอย่างดุเดือนและเมื่อเยอรมนีไม่สามารถยึดกรุงปารีสเอาไว้ได้การรบของทั้งสองฝ่ายจึงต้องหยุดลงลงโดยที่เยอรมนีได้ถอยกำลังไปตั้งมั่นที่แวร์ดัง ที่นี่เองว่ากันว่าเยอรมนีสามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า 230,000 คน แม้ฝ่ายพันธมิตรจะพยายามขับไล่แต่ก็ไม่สำเร็จแถมเยอรมนีก็ได้พยายามเข้ายึดเมืองท่าต่างๆ ทางบริเวณช่องแคบ ทั้งนี้เพื่อที่จะขับไล่อังกฤษให้พ้นจากแผ่นดินทวีปออกไปแต่ก็ยังไร้ผล
    

       กระทั่งสิ้นปี 1914 แนวรบด้านตะวันตกนี้ยังอยู่คงที่ แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างก็เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เหตุการณ์คงที่อยู่เช่นนั้นถึงสามปี
     
สภาพเมืองบริเวณแม่น้ำมาร์นหลังสงครามสงบ
       สงครามในแนวรบด้านตะวันตกนี้กลายเป็นสงครามที่คู่ปฏิปักษ์ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สนามเพลาะเป็นที่มั่นกำบังตน แล้วหาทางสังหารฝ่ายตรงข้ามจนกว่าจะล้มตายไปตามๆ กัน หรือจนกว่าจะหมดกำลังยอมแพ้กันไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
     
       แนวรบด้านตะวันตกมีความยาวจากทะเละเหนือลงมาทางใต้ถึงสวิส คือยาวทอดตามแนวเส้นกั้นเขตแดนฝรั่งเศสและเยอรมนี เว้นไว้เสียแต่ดินแดนในฝรั่งเศสและเบลเยียมที่อยู่ในความยึดครองของเยอรมนี เยอรมนียึดครองเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ และได้เข้ายึดครองดินเดนของฝรั่งเศสอีก 21,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในดินแดนส่วนนี้เป็นแหล่งแร่และถ่านหินที่สำคัญ

     
แม่น้ำมาร์นในปัจจุบัน ในฝรั่งเศส
       การรบที่แม่น้ำมาร์นได้ยุติปัญหาทางแนวรบด้านตะวันตกเป็นระยะเวลาถึงสามปี ในที่สุดได้ทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ในสงคราม ความหวังเยอรมนีเคยยึดมั่นเอาไว้ว่าจะมีชัยชนะอย่างรวดเร็วและสุดท้ายมีเวลา ทำให้สัมพันธมิตรสามารถหาทางเอาชนะเยอรมนีได้ในที่สุด---

วันอังคารที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามปะทุ

สงครามปะทุ



หน้าหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่ง ตีพิมพ์เรื่องการลอบปลงพระชนม์
ซึ่งเป็นเหตุนำไปสู่สงครามโลก



แท้จริงนับได้ว่าสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นเมื่ออสเตรีย-ฮังการี  ประกาศสงครามกับเซอร์เบียเมื่อวันที่ 26 กันยายน 1914 นั่นเอง
      
      ซึ่งเมื่อออสเตรีย-ฮังการียกทัพเพื่อเข้าโจมตีเซอร์เบียแล้ว ในวันต่อมารุสเซียก็ได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วนมุ่งตรงมายังชายแดนของของจักรวรรดิของออสเตรีย-ฮังการี กลายเป็นการขยายวงการสงครามออกมาอีกขั้นหนึ่ง แทนที่จะเป็นเพียงสงครามระหว่างออสเตรีย-ฮังการี กับเซอร์เบีย ก็เริ่มกลายเป็นออสเตรีย-ฮังการี ต้องมารบกับรุสเซียอีกฝ่ายหนึ่งและเมื่อยับยั้งเหตุการณ์เอาไว้ไม่ได้แล้วเยอรมนีก็เลยต้องประกาศว่าการระดมพลของรุสเซียในครั้งนี้ย่อมหมายความว่ารุสเซียต้องการทำสงครามกับเยอรมนีเช่นกัน ทั้งนี้เพราะเยอรมนีมีพันธะตามข้อสัญญาอยู่กับออสเตรีย-ฮังการีเดิมอยู่แล้ว
      
      ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคม 1914 นั้นเองเยอรมนีก็ได้หันไปถามฝรั่งเศสซึ่งเวลานั้นก็ดูเหมือนจะเตรียมตัวและเยอรมนีก็รู้ดีว่าฝรั่งเศสในเวลานั้นมีความสัมพันธ์และเป้นกลุ่มเดียวกับรุสเซียอยู่ โดยถามกับฝรั่งเศสว่าฝรั่งเศสจะมีข้อเสนออะไรต่อสงครามที่เกิดขึ้นมาครั้งนี้บ้าง
    
      ฝรั่งเศสจึงประกาศอย่างท้าทายขึ้นมาทันใดว่า ฝรั่งเศสจะดำเนินการตามที่ฝรั่งเศสเห็นสมควร นั่นก็คือ การสั่งระดมพลเพื่อเตรียมช่วยเหลือรุสเซีย
      
      เมื่อเป็นเช่นนั้น เยอรมนีจึงไม่ปล่อยเวลาให้ผ่านเลยไปโดยการประกาศทันทีว่าจะทำสงครามกับฝรั่งเศส โดยประกาศในวันที่ 3 สิงหาคม นั้นเอง
      
      อันที่จริงแล้วแม้จะประกาศสงครามในวันที่ 3 ก็ตาม แต่เยอรมนีที่ไม่ปล่อยเวลาให้ทันตั้งตัวได้ รีบยกพลเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศสนับแต่วันก่อนหน้านั้นแล้ว 1 วัน ทั้งนี้ก็เพื่อให้ฝ่ายตนเองได้เปรียบมากที่สุด เยอรมนีทำลายกำแพงแห่งปัญหาลงอีกขั้นโดยการยกพลในวันที่ 2 สิงหาคมเข้าไปยึดครองประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งประกาศวางตัวเป็นกลางมาแต่แรก โดยไม่สนใจคำคัดค้านของผู้ครองเจ้านครเล็กๆ แห่งนี้ ไม่เพียงเท่านั้นแม้แต่อีกประเทศหนึ่งที่เป็นกลาง นั้นคือเบลเยียม เยอรมนีก็รุกเข้าไปหวังครอบครองในวันที่ 2 ด้วยเช่นกัน เยอรมนีได้ยื่นคำขาด โดยให้เบลเยียมตอบภายใน 12 ชั่วโมงคือระหว่างหนึ่งทุ่มถึงหนึ่งโมงเช้าของวันรุ่งขึ้น ว่าเบลเยียมจะยอมอนุญาตให้เยอรมนีเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีฝรั่งเศสหรือไม่
    
ทหารเยอรมนีกำลังเคลื่อนพลภายในกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม 
      ในข้อเสนอและคำขาดที่ว่านั้นมีเงื่อนไขว่า ถ้าเบลเยียมยินยอม รัฐบาลเยอรมนีจะให้สัญญาว่าจะเคารพในเขตแดนและประชาชนชาวเบลเยียม แต่ถ้าปฏิเสธ เยอรมนีก็จะกระต่อเบลเยียมเยี่ยงศัตรู
    
      และแล้วคำตอบของเบลเยียมก็ได้รับคำชื่นชม โดยในครั้งนั้นคำตอบของเบลเยียมมีอย่างเด็ดเดี่ยวและเชื่อมั่นว่า ความเป็นกลางของเบลเยียมนั้นมีมหาอำนาจทั้งหลายรวมทั้งเยอรมนีด้วยเป็นผู้ค่ำประกัน ดังนั้นเบลเยียมไม่ยินยอมให้ผู้ใดละเมิดทั้งสิ้น ไม่ว่าจะด้วยประการใด ๆ ก็ตาม
      
      ย้อนกลับมามองทางมหาอำนาจอย่างจักรวรรดิบริเทนใหญ่หรืออังกฤษกันบ้าง เมื่อสงครามปะทุแล้ว ในวันที่ 1 สิงหาคม เอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำกรุงลอนดอนได้เข้าสอบถามรัฐบาลอังกฤษจะวางเป็นตัวเป็นกลางในสงครามครั้งนี้หรือไม่ แถมมีเงื่อนไขต่อมาอีกว่าหากอังกฤษประกาศเป็นกลางเยอรมนีก็จะยอมรับความเป็นกลางของเบลเยียมด้วย
     
      แต่ข้อเสนอนี้ดูเหมือนจะแสดงให้เห็นถึงการแผ่บารมีของเยอรมนีที่อังกฤษหวาดระแวงอยู่แล้วมากเกินไป ดังนั้นไม่เพียงแต่ปฏิเสธข้อเสนอนั้นเท่านั้น ในวันที่ 2 สิงหาคม อังกฤษก็ได้ส่งสารถึงฝรั่งเศสโดยบอกและยืนยันว่ากองทัพเรือของอังกฤษจะเข้าช่วยเหลือและป้องกันฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ถ้าหากว่าเรือรบของเยอรมนียกเข้ามาทางช่องแคบของอังกฤษหรือมาทางทะเลเหนือ
      
แผนที่แสดงที่ตัังของประเทศเบลเยียม เยอรมนี และฝรั่งเศส
      แล้วอีกสองวันรัฐบาลอังกฤษก็ได้ยื่นคำขาดถึงเยอรมนีในกรณีเยอรมนีกำลังจะรุกเข้าเบลเยียม โดยที่อัครมหาเสนนาบดีของเยอรมนีก็ได้ตอบกลับว่าเยอรมนีจำเป็นจะต้องเดินทัพผ่านเบลเยียม  ทั้งได้แจ้งผ่านอัครราชทูตอังกฤษประจำกรุงเบอร์ลินอีกว่า อังกฤษไม่ควรเข้าร่วมสงครามเพียงเพราะ เศษกระดาษชิ้นนิดเดียว
     
      ซึ่งนั้นหมายถึงสัญญาค้ำประกันความเป็นกลางที่เคยทำขึ้นมาก่อนหน้านี้นั่นเอง การกล่าวอย่างดูหมิ่นต่อสัญญาที่ได้ทำขึ้นมาเช่นนี้ของเยอรมนีทำให้อังกฤษไม่อาจนิ่งนอนใจได้ ทั้งนี้เพราะการไม่สนใจและยอมรับในสัญญาที่ตัวเองได้ทำขึ้นเองเช่นนั้นแสดงให้เห็นถึงการไร้คุณธรรมและไม่ถูกต้องตามคำนองคลองธรรม ภาพของเยอรมนีจึงเสื่อมลงในสายตาของชาวอังกฤษและประชาคมโลกบางส่วน
    
      ประชาชนชาวอังกฤษไม่พอใจการกระทำของเยอรมนี และให้การสนับสนุนรัฐบาลอย่างเต็มที่ให้กระโดดเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้ ดังนั้นในวันที่ 1 สิงหาคมรัฐบาลอังกฤษจึงได้ประกาศสงครามกับเยอรมนีขึ้นมาอีกประเทศหนึ่ง
     
      เรียกว่าอังกฤษประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนี้แล้ว ก็นับได้ทันทีว่าบรรดาประเทศมหาอำนาจของโลกเวลานั้นได้เข้าตะลุมบอนกันในสงครามกันเกือบครบแล้ว บรรดาประเทศเล็กประเทศน้อยที่คอยจับตามองอยู่อย่างหวาดระแวงจำเป็นที่จะต้องเริ่มหันเข้าไปจับมือกับอีกฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเพื่ออย่างน้อยก็จะได้มีแนวร่วมในการป้องกันละส่งเสริมซึ่งกันและกัน
      
      มอนเตเนโกร ประเทศเล็กๆ อีกประเทศหนึ่งก็ได้ประกาศทำสงครามกับออสเตรีย-ฮังการี ขึ้นในวันที่ 7 สิงหาคม เป็นประเทศต่อมา
     
      สงครามกำลังลุกลามอย่างต่อเนื่องญี่ปุ่นซึ่งนับเป็นพันธมิตรกับอังกฤษตามสนธิสัญญาที่เคยลงร่วมกันเอาไว้ ก็ไม่อาจนิ่งเฉยมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นมานี้ได้เช่นกัน แม้จะอยู่ห่างไกลออกไปก็ตามที กระนั้นในเดือนพฤศจิกายน ต่อมาก็ได้ประกาศเข้าร่วมสงครามกับอังกฤษรบกับเยอรมนีด้วย
     
      ความวุ่นวายที่กำลังดำเนินไปนี้ยังไม่มีทีท่าสิ้นสุดเมื่อจู่ๆ ตุรกีหรือจักรวรรดิออตโตมันก็ประกาศเข้าร่วมกับเยอรมนีเข้าทำสงครามอีกประเทศหนึ่ง
      
      กลายเป็นว่าถึงเวลานี้ กลุ่มเยอรมนี ก็มี เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี เรียกกันว่าฝ่ายมหาอำนาจกลาง ขณะที่ฝ่ายอังกฤษ ฝรั่งเศส และรุสเซีย จะเรียกว่าฝ่ายสัมพันธมิตร
     
      เพียงชั่วระยะเวลาเพียง 3 เดือน สงครามครั้งนั้นที่มีฝ่ายมหาอำนาจกลางคือ เยอรมนี ออสเตรีย-ฮังการี และตุรกี ต้องเข้าทำสงครามเผชิญหน้ากับฝ่ายสัมพันธมิตรที่มี เซอร์เบีย รุสเซีย ฝรั่งเศส เบลเยียม อังกฤษ มอนเตเนโกร และญี่ปุ่น
    
      ซึ่งเวลานั้นอิตาลี แม้จะมีข้อผูกมัดและสัญญากับกลุ่มมหาอำนาจกลางอยู่ก็ตามแต่เมื่อเห็นว่ามหาอำนาจกลางมีตุรกีก็เข้าร่วมจึงประกาศขอวางตัวเป็นกลางไว้ก่อน โดยอ้างว่า ในข้อสัญญานั้นมีว่าอิตาลีจะเข้าร่วมหรือช่วยคู่สัญญาต่อเมื่อประเทศคู่สัญญาถูกรุกรานเข้ามาโจมตีต่างหากเท่านั้น แต่กรณีที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่ประเทศภาคีรุกเข้าไปโจมตีประเทศอื่น อิตาลีจึงเป็นอิสระอยู่ภายนอกเงื่อนไขของสัญญานั้น

       
      มาถึงเวลานี้ถือว่า ประเด็นแท้จริงของสงครามก็ได้แสดงตัวออกมาให้เห็นชัดเจนแล้วนั่นเองกล่าวคือหลังสามเดือนเมื่อประเทศต่างๆ กระโดดเข้าร่วมในสงครามแล้ว ปัญหาต่างๆ ที่เป็นจุดกำเนิดหรือเริ่มต้นระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบีย ก็ค่อยๆ กลายเป็นเรื่องรองที่ถูกสนใจ การแข่งขันกันเป็นปฏิปักษ์ของกลุ่มมหาอำนาจต่างหากที่แสดงตัวให้เห็นอย่างชัดเจนหลังจากจุดชนวนขึ้นมา ซึ่งมองว่ากันว่าการที่เยอรมนีรีบยกทัพบุกเบลเยียมเพื่อเข้าโจมตีฝรั่งเศส และอังกฤษต่างหากที่ถือเป็นการรับผิดชอบที่สัมพันธมิตรจะต้องร่วมกันเข้าปราบปรามเยอรมนีที่ก่อสงครามแท้จริง ขณะที่ฝ่ายเยอรมนีหรือมหาอำนาจกลางนั้นกลับมองว่า การรุกของเยอรมนีและมิตรประเทศในครั้งนั้น เป็นการรบกับฝ่ายศัตรูที่มีเป้าหมายเพื่อทำลายล้างเยอรนีนั้นเอง---