วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

ประวัติศาตร์โลกก่อนสงครามโลกกครั้งที่ 1 จะบังเกิดขึ้น

               สวัสดีครับยินดีต้อนรับสู่บล็อคแห่งความรู้ ในเรื่องของประวัติศาตร์ ในอดีตกาล บล็อค

นี่จะให้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งจะสามารถไขข้อสงสัยของผู้อ่านที่กำลังจะศึกษา หรือเรื่อง

ที่สงสัยให้กระจ่างได้ครับ ขอบคุณความรู้ดีๆจากผู้เขียน คุณวีระชัย โชคมุกดา ไว้ ณ ที่นี่ด้วยครับ  เพื่อไม่เป็นการทำให้เสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีฟ่าครับ


                                             ภาพแม่ลูกยืนดูซากบ้านตัวเองพังทลายผลจากสงคราม



               สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดจากความขัดแย้ง ที่รุกรามไปทั่วโลก หรือเรียกว่าระดับโลกเลยก็ว่าได้

สงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 1914 (พ.ศ.2457)  ถึงปี 1918 (พ.ศ.2461)

โดยเกิดขึ้นระหว่างฝ่ายมหาอำนาจไตรภาคี (พันธมิตร) หรือ (Triple Entente) ประกอบไปด้วย 

-จักรวรรดิรัสเซีย

-ฝรั่งเศส

-จักรวรรดิบริเทน

-ราชอาณาจักรอิตาลี

-สหัฐอเมริกา และพันธมิตร

กับอีกฝ่ายที่ถูกเรียกว่ามหาอำนาจกลาง หรือไตรพันธมิตร (Triple Alliance) ประกอบไปด้วย

-ออสเตรีย-ฮังการี

-จักรวรรดิเยอรมนี

-ราชอาณาจักรบัลแกเรีย

ซึ่งการปะทะใหญ่ครั้งนี่ ไม่เคยปรากฏเป็นสงครามใหญ่ที่มีทหารหรือสมรภูมิที่เกี่ยวข้องมากขนาดนี่มาก่อน
                                                     ยุโรปก่อนสงครามโลก 1914

                  สงครามโลกครั้งที่ 1 เป็นที่ขนานนามว่า "สงครามครั้งยิ่งใหญ่"  (Great War) หรือ "สงคราเพื่อยุติสงครามทั้งมวล "(War to End All War) เพราะพบว่ามีทหารกว่า 70 ล้านคนมีส่วนร่วมในสมรภูมิรบ ผลจากสงครามทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตาย และสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคนเลยทีเดียว


ประวัติสงครามโลกก่อนสงครามโลกจะเริ่มขึ้น


                โลกก่อนศควรรษที่ 20  เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย และพัฒนาไปอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด โดยสงครามโลกที่เกินขึ้นทั้ง 2 ครั้งนั้นมีที่มาที่ไปมาจากยุโรปอย่างที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ เพราะจริงๆแล้วยุโรป คือที่รวมของชาติ ที่กุมชะตากรรมของโลกเอาไว้อันเป็นผลมาจากความเจริญและการพัฒนาในหลากหลายด้านแบบก้าวกระโดดากๆ กว่าทวีปอื่น และอย่างต่อเนื่องด้วย

                 ฉะนั้นก่อนเราจะเข้าศึกษาเกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่ 1  เราจำเป็นต้องมาย้อนดูสภาพของยุโรปก่อน

โดยการพัฒนาที่ก้าวล่ำมากของยุโรปคงหนีไม่พ้น   "การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution)"  

                 การปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) การเปลี่ยนแปลงที่ใหญ่ๆ อยู่ในบริเทนใหญ้ 

ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี นั้นล้วนเกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19 โดยมีจุด

เริ่มต้นที่เครื่องจักรไอน้ำ ทำงานด้วยเครื่องจักร์อัตโนมัติ (สิ่งทอ)


                                                          เครื่องจักรอัตโนมัติในช่วงศตวรรษที่ 18-19
                                                  

ด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีนั้น และเศรษฐกิจนั้นจึงถูกผลักดันด้วยการสร้างเรือ เรือกำปั่น และ

ทางรถไฟ ที่อาศัยเครื่องจักรไอน้ำ โดยใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงหลัก ด้วยความเจริญเช่นนี่ได้แผ่ขยายไป

สู่ยุโรปตะวันตก และทวีปอเมริกาเหนือ และก็เริ่มแผ่ขยายส่งผลกระทบไปทั่วโลกในที่สุด


                                                              เรือที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องจักรไอน้ำ
                                                                    รถไฟเครื่องจักรไอน้ำ
                
                     การปฏิวัติอุตสาหกรรมก่อให้เกิดการขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก

การค้นพบแหล่งพลังงานจากถ่านหินที่ราคาไม่แพง ทีมีเหลือเฟือส่งผลให้มีการขยายตัวของแรงงาน

อย่างมหาศาล ด้วยเครื่องจักรกล หรือเครื่องจักรไอน้ำที่เริ่มด้วยการปั่นด้าย การทอผ้าฝ้าย ผ้าขนสัตว์ 

เป็นต้น กำลังการผลิตที่เพิ่มอย่างรวดเร็วส่งผลให้มีระบบแบบโรงงานแบบใหม่ๆ ปรากฏการต่างๆทำให้เมืองต่างๆ 

ในอังกฤษเริ่มจะแออัดไปด้วยอุตสาหกรรม


                                               ความแออัดในเมืองใหญ่ของอังกฤษในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม

 ผลของการปฏิวัติอุตสาหกรรมของโลกตะวันตก ส่งผลให้

                     1.การเพิ่มจำนวนประชากร โดยเฉพาะอังกฤษและเยอรมนี มีอัตราการเพิ่มของประชากรที่

สูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนืองจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจจากเกษตรกรรม มาเป็นอุตสาหกรรม 

เกิดการขยายตัวของชุมชนเมือง และความเจริญก้าวหน้าด้านการแพทย์และสาธารณสุข

                     2.การขยายตัวของสังคมเมือง เกิดเมืองใหม่ๆ อย่างรวดเร็ว จากการอพยพจากชนบทสู่

เมืองเพื่อเข้ามาทำงาน จึงทำให้เกิดความแออัดภายในเมือง และทำให้เกิดอาชีพใหม่ๆ อย่างมากมาย 

ในขณะที่พ่อค้านายทุนเริ่มเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

                     3.เกิดการแสวงหาอาณานิคม และลัทธิจักรวรรดินิยม ประเทศยุโรปที่มีการปฏิวัติ

อุตสาหกรรม มีความจำเป็นต้องหาแหล่งวัตถุดิบเพิ่ม เพื่อนำวัตถุดิบมาป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และการ

ขยายตลาดระบายสินค้าที่ตนเองผลิต จึงทำให้เกิดการแข่งขันกันแสวงหาอาณานิคมในทวีปแอฟริกา

และทวีปเอเชียในที่สุด

ลัทธิชาตินิยมและการทหาร

                    
                      ว่ากันว่าย่างเข้าสู่ยุคศตวรรษที่ 20 นั้นอิทธิพลชาตินิยมได้เกิดขึ้น ประชากรส่วนใหญ่ของ

แต่ละประเทศต่างคิดว่าและมองว่าประเทศของตนนั้นมีความยิ่งใหญ่ที่สุด และประเทศอื่นอ่อนด้อยกว่า

ตน โดยเริ่มมีการแสวงหาผลประโยชน์ให้ชาติของตนเองโดยไม่คำนึงถึงสิทธิและผลประโยชน์ของอีก

ฝ่าย เหตุเหล่านี่ได้นำไปสู่ความตึงเครียดก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 

                      กล่าวกันว่าลัทธิชาตินิยมถือเป็นพลังแห่งการสร้างเสริม และทำลายในเวลาเดียวกัน

เพราะด้านหนึ่งมันช่วยรวมให้เกิดประเทศในยุโรปอย่างจริงจัง

                     และสัญลักษณ์อีกอย่างในสายตาของผู้นำ หรือชาวยุโรปในช่วงนั้นที่นอกจากความ

ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและเศรษฐกิจแล้ว มีอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า "การทหาร" ประเทศที่เข้มแข็ง

ต้องมีกองทัพที่เข้มแข็งเกรียงไกร ในช่วงนั้นทั้งผู้นำประเทศ หรือแม้กระทั่งประชาชนก็พร้อมกันใจกัน

เห็นด้วยกับเรื่องนี่ จึงทำให้มีการเพิ่มงบประมาณทางการทหารเพื่อเสริมสร้างฐานะของตนเอง โดย

ประเทศผู้นำในเรื่องนี่คือ "เยอรมนี"


                                                             ภาพทหารเยอรมนีเดินสวนสนาม
                      

จักรวรรดินิยมใหม่

                        อีกด้านหนึ่งอุดมการณ์ทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องราวของลัทธิชาตินิยมที่ถูกปลุกกระแสและนำมาใช้ก็กำลังก่อร่างสร้างตัวขึ้นมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดวิธีคิดและลัทธิชาตินิยมขึ้นมาอย่างมากในห้วงเวลานั้นดังนั้นเมื่อเป็นชาตินิยมแล้วย่อมหันหาผลปรโยชน์ ซึ่งส่งผลให้แต่ละชาติก่อร่างสร้างตัวเพื่อเข้าไปแสวงหาหรือกอบโกยผลประโยชน์ในชาติอื่น ดังนั้นผลต่อเนื่องของชาตินิยมก็คือ ลัทธิจักรวรรดินิยมใหม่

                        กล่าวคือ ลัทธิจักรวรรดินิยม (Imperialism) เป็นแนวความคิดของชาติมหาอำนาจยุโรปที่จะขยายอำนาจ และอิทธิพลของตนเพื่อเข้าครอบครองดินแดนที่ล้าหลังและด้อยความเจริญในทวีปต่างๆ เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ เช่น แหล่งวัตถุดิบ และตลาดระบายสินค้า ชาวยุโรปเข้ายึดดินแดนของชนชาติต่างๆ ในรูปของการล่าอาณานิคม (Colonization)

                      จักรวรรดินิยมยุคแรก เริ่มต้นตั้งแต่การสำรวจทางทะเลเมื่อคริสต์ศตวรรษ์ที่ 15 จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งมีการค้นพบทวีปอเมริกา และการค้นพบเส้นทางเดินเรือไปทวีปเอเชียเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 15 สเปน และโปรตุเกสเป็นชาติผู้นำการสำรวจและค้นพบดินแดนใหม่ และได้สร้างความมั่งคั่งให้แก่ชาติทั้งสองเป็นอันมาก

                       สเปนเข้ายึดครองดินแดนในอเมริกาใต้ แล้วบรรทุกแร่เงินและทองคำจากโลกใหม่จำนวนมหาศาล
                      ส่วนโปรตุเกสมั่งคั่งจากการผูกขาดการค้าขายกับอินเดียและหมู่เกาะเครื่องเทศ ต่อมาการผูกขาดเส้นทางเดินเรือของสเปนและโปรตุเกสก็ถูกแข่งขันโดยอังกฤษ ฝรั่งเศส และฮอลันดา

                      ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 สเปนและโปรตุเกสก็สูญเสียความยิ่งใหญ่ด้านการค้าและอาณานิคมให้แก่ อังกฤษ ฮอลันดา และฝรั่งเศส และเกิดการขัดผลประโยชน์ระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส

                      ลัทธิจักรวรรดินิยม มีผลกระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศต่างๆ มีดังนี่

                       1.ทำให้ชาติมหาอำนาจขัดแย้งในผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บรรยากาศทางการเมืองของโลกเขาสู่ภาวะตึงเครียด และนำไปสู่สงครามในที่สุด

                       2.ทำให้ชาติตะวันตกมีข้ออ้างอันชอบธรรมในการเข้ายึดดินแดนต่างๆ เพราะถือเป็นภาระหน้าที่ของคนผิวขาวที่จะนำอารยธรรมความเจริญไปเผยแพร่ยังดินแดนล้าหลังและห่างไกลความเจริญ ส่งผลให้ประชากรในดินแดนอาณานิคมเกิดการซีมซับในวัฒนธรรม วิถีการดำเนินชีวิต ความคิด และค่านิยมแบบตะวันตก

                       ผลที่เกิดขึ้นของจักรวรรดินิมยมใหม่ในศตวรรษที่ 19 ทำให้บรรดาประเทศต่างๆ ในยุโรปประกาศความเป็นประเทศจักวรรดิพร้อมหน้า โดยแต่ละประเทศหรือแต่ละจักรวรรดิต่างก็แข่งขันกันสร้างเสริมอำนาจและบารมีของตัวเองให้กระจายกันไปทั่วโลก

                      ขณะที่ประเทศต่างๆ ในภูมิภาคอื่น คือไม่ใช่ยุโรปต่างก็ได้แค่ทำดีที่สุดคือพยายามทุกวิธีทางไม่ให้ตัวเองต้องตกเป็นส่วนหนึ่งของบรรดาจักรวรรดิแห่งยุโรปนั้น...
                              


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น