วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

จักรวรรดิเยอรมนี

จักรวรรดิเยอรมนี

                              
                                                                                                 ตราประจำราชอาณาจักรปรัสเซีย


             จักรวรรดิเยอรมนี (German Empire) เป็นชื่อที่ใช้เรียกเพื่อหมายถึงรัฐเยอรมนีในช่วงตั้งแต่การประกาศเป็นจักรพรรดิเยอรมนีของวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย (18 มกราคม 1871) ถึงการสละราชสมบัติของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 (9 พฤศจิกายน 1918 ) รวมเวลา 47 ปี


                                                                ราชอาณาจักรปรัสเซีย

              ประวัติศาสตร์เยอรมนี เริ่มต้นด้วยอำนาจของอนารยชนเยอรมานิกที่ลุกขึ้นมาต้านทารการยึดครองโดยชาวโรมัน ซึ่งเมื่อจักรวรรดิโรมันล่มสลายชนชาติเยอรมันก็กลายเป็นกลุ่มชนผู้มีอำนาจในยุโรปเข้าแทนที่ชาวโรมันจนนำไปสู่กำเนิดจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ จักรพรรดิที่ 1 ในสมัยกลางจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ธำรงอยู่กว่าพันปีแต่ก็เป็นเพียงจักรวรรดิที่มองไม่เห็น เพราะรัฐต่างๆ ในเยอรมันร้อยกว่ารัฐต่างแยกตัวเป็นอิสระจากพระจักรดิพรรดิ จนนโปเลียนยกเลิกจักวรรดินี้ กลายเป็นสมาพันธรัฐเยอรมันเป็นกลุ่มของรัฐต่างๆ ในเวลาต่อมาราชอาณาจักรปรัสเซียสามารถรวมประเทศเยอรมนีได้โดยการนำของ บิสมาร์ค ก็กลายเป็นจักรวรรดิเยอรมัน หรือ จักรวรรดิที่ 2
             กล่าวกันว่าผู้ที่มีบทบาทแท้จริงในการรวมชาติเยอรมันได้สำเร็จคือ บิสมาร์ค


                                                                    จักรวรรดิเยอรมมนีภายใต้บทบาทการรวมเยอรมันเข้าด้วยกันของ บิสมาร์ค
             

                                                            พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย

            โดยเรื่องเริ่มต้นเมื่อ พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 แห่งปรัสเซีย ทรงเสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี 1816 พระองค์ยอมรับรองรัฐธรรมนูญ 1850 ต่อจากนั้นรัฐสภาแห่งชาติก็ได้ทำการปฏิบัติบ้านเมืองกันขนานใหญ่ โดยพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 ทรงเห็นว่าอนาคตของปรัสเซียนั้นจำต้องอาศัยกำลังทหารที่เข้มแข็ง
ดังนั้นพระองค์จึงทรงสร้างกองทัพใหญ่ โดยอาศัยการเกณฑ์ทหารเข้ามาฝึกตามระยะเวลา 3 ปี แล้วจึงปลดให้เป็นทหารกองหนุนต่อไปอีก 4 ปีหรือมากกว่านั้น แล้วก็เกณฑ์เข้ามาใหม่สืบเนื่องกันแบบการเกณฑ์ทหารในปัจจุบัน


                                                               ออตโต ฟอน บิสมาร์ค

           ซึ่งการดำเนินการของพระองค์ทำให้ทรงสิ้นเปลืองงบประมาณจำนวนมาก และมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายรัฐสภาแห่งชาติก็ไม่อนุมัติโครงการของพระองค์อีกต่อไป เพื่อให้ต้องพระราชประสงค์ของพระองค์พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 1 จึงทรงแต่งตั้งให้บิสมาร์ หรือ ออตโต ฟอน บิสมาร์ค ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งบิสมาร์คก็สามารถดำเนินงานตามพระราชดำรัสขององค์พระมหากษัตริย์ได้อย่างดียิ่ง เขาไม่สนใจและไม่หวั่นไหวการต่อต้านของฝ่ายค้านดังนั้นงานที่เขาเข้าไปจัดการจึงสำเร็จลงอย่างก้าวหน้า


                                                            ออตโต ฟอน บิสมาร์ค ขณะนั่งทำงาน

           ภายใต้อำนาจการบริหารของบิสมาร์คนั้น ว่ากันว่า เขาคือผู้ที่ทำให้เกิดการรวมชาติเยอรมนีแท้จริง และบางแหล่งก็ว่าเขาคือวิศวกรผู้สร้างเยอรมนีมาด้วยมือของตนเอง



                                                                   ร. 5 ทรงพระราชปฎิสันถารกับ บิสมาร์ค ที่ ฟรีดริชส์รูห์ (Friedrichsruh)


           บิสมาร์ค ผู้ก่อตั้งจักรวรรดิเยอมันที่ 2 นั้น เกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 1815 ที่เมืองเซินเฮาเซ่น 
รัฐแบรนเดนเบิร์ก บนฝั่งแม่นำเอลเบอ ในตระกูลขุนนางผู้ดีซึ่งมีที่ดินในวัยเยาว์เขาเป็นนักเรียนที่มิได้มีผลการเรียนที่ดีเลิศอะไรนัก แม้ว่าเขาจะไม่ชอบระบบการเรียนการสอนในเวลานั้นหลายอย่าง เช่นการเรียนพลศึกษา แต่เขาก็ไม่เคยทำตัวท้าทายหรือดื้อดึงแต่อย่างใด เขาเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนพลามันเซ่น ที่กรุงเบอร์ลิน ตั้งแต่อายุ 6 ขวย จนถึงอายุได้ 12 ปี และเป็นโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจากบ้านของเขามาก จนเขาเป็นโรคคิดถึงบ้าน และต้องร้องไห้ออกมาบ่อยๆ เมื่อไปพบสิ่งใดให้ระลึกถึงบ้านอันแสนสุขของเขา

            จากโรงเรียนพลามันเซ่น เขาก็เข้าศึกษาต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนฟรีดริดวิลเฮล์ม และโรงเรียนมัธยมเกราเว่น โครสเตอร์ ซึ่งทั้งสองโรงเรียนก็ตั้งอยู่ที่กรุงเบอร์ลินเช่นกัน จึงได้รับการอบรมบ่มนิสัยในแบบปรัสเซียอย่างเต็มที่ นิสัยที่ติดตัวเขาไปจากการเรียนในระบบนี้ จนเมื่อเขาไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกิททิงเง่น คือ การดื่มจัด ในบันทึกความทรงจำของเขา เขากล่าวว่า "....ข้าพเจ้าลาจากโรงเรียนมาด้วยความรู้สึกเคร่งศาสนาอย่างยิ่งและแม้ว่าข้าพเจ้าจะมิได้เป็นนักสาธารณรัฐนิยม แต่ข้าพเจ้าก็เชื่อมั่นว่า สาธารณรัฐเป็นรูปแบบการเมืองการปกครองที่สมเหตุสมผลที่สุด โดนที่ผู้คนนับล้านสามารถไปลงคะแนนเสียงได้..."

            แม้ว่าบิสมาร์คจะกล่าวไว้เช่นนั้นแต่การอบรมให้นักเรียนตระหนักถึงหน้าที่และอำนาจการบังคับบัญชาในแบบของปรัสเซียก็ทำให้เขาซึมซับระบบนี้ไปด้วยและทำให้โลกทัศน์ของเขาเปลี่ยนไปในภายหลัง เมื่อเขาเป็นผู้ใหญ่ขึ้นเขากลับกลายเป็นนักอนุรักษ์นิยม ผู้ที่ส่งเสริมและสนับสนุนการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างสุดขั้ว

          ในปี 1847 บิสมาร์ค ได้เริ่มต้นชีวิตด้านการเมืองโดยการสนับสนุนราชวงศ์โฮเฮนซอลเลอร์และฝ่ายกษัตริย์ เขาถือว่าเขาเป็นชาวปรัสเซียอย่างเข้มข้น และถือว่าปรัสเซียเท่านั้นที่เป็นรัฐผู้นำอย่างแท้จริงของรัฐเยอรมันทั้งหลาย

          เขาเกลียดรัฐสภาและเกลียดความคิดเห็นแบบประชาธิปไตยของพรรเสรีนิยมอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะเขาเชื่อว่าการที่ชาติอย่างปรัสเซียจะยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่จะมาโดยการทำให้สถาบันราชาธิปไตยอ่อนแอลง กลับกันต้องสนับสนุนให้กษัตริย์มีอำนาจเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเมื่อปรัสเซียสามารถรวมชาติเยอรมนีแล้ว เขาจึงทุ่มเท่ความมั่นใจทั้งหมดลงในนโยบาย "เลือดกับเหล็ก" โดยการนำเยอรมนีไปสู่ลัทธิทหารและลัทธิชาตินิยมอย่างรุนแรงที่สุด

         ในสมัยเยอรมนีรุ่งเรืองมากทั้งด้านเศรษฐกิจ การทหาร และอื่นๆ ถือว่าเป็นมหาอำนาจใหม่แห่งยุโรป มีอำนาจเทียบได้กับจักรวรรดิอังกฤษ แต่ช่วงหลังของจักรวรรดิเยอรมนีได้มีปัญหากับบริเทนเรื่องการขยายอำนาจทางทะเลและการสร้างจักรวรรดิอาณานิคมขึ้นมา จึงทำให้เกิดปัญหากับจักรวรรดิอังกฤษมหาอำนาจเดิม


                                                  จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 หรือพระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2

          หลังจากจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี 1888 พระองค์มีแนวความคิดในการบริหารประเทศแตกต่างจากบิสมาร์คจึงทรงปลดบิสมาร์คออกจากตำแหน่งมหาเสนาบดี พระองค์ทรงดำเนินนโยบายและปฏิบัติภารกิจของประเทศโดยไม่ยอมรับนับถือในนโยบายส่วนมากของบิสมาร์ค


                                                  ไกเซอร์วิลเฮล์มที่ ๒ เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา ยังมีบิสมาร์คเป็นพี่เลี้ยงในระยะแรก ในภาพบิสมาร์ค

           ปี 1914 จักรวรรดิเยอรมันรุ่งเรืองสุดขีด มีอาณานิคมทั่วโลก ทั้งในแอฟริกา อาทิ โตโก แคเมอรูน นามิเบีย และแทนซาเนีย ส่วนในเอเชียก็มีบริเวณชิงเต่าของจีน และทางตอนเหนือของปาปัวนิวกินี รวมทั้งหมู่เกาะบางแห่งในมหาสมุทรแปซิฟิกด้วย

           ต่อมาจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีมีปัญหากับเซอร์เบียจึงเกิดสงครามขึ้นโดย จักรววรดิออสเตรีย-ฮังการีดึงจักรวรรดิเยอรมนีเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายมหาอำนาจกลาง เป็นเหตุให้เยอรมนีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 ช่วงต้นสงครามฝ่ายมหาอำนาจกลางได้เปรียบฝ่ายสัมพธมิตรหลายอย่างทั้ง กลยุทธ์ทางการสงคราม และความแข็งแกร่งของทหาร ระหว่างสงคราม เยอรมนีได้ประดิษฐ์ แก๊สพิษ ที่ทำให้ทหารฝรั่งเศสหายใจติดขัดและอาจถึงตายได้ แต่ระหว่างสงครามพระโอรสของพระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 ได้ขอร้องพระบิดาให้ทำสนธิสัญญาสงบศึกกับฝ่ายสัมพันธมิตรแต่ไม่สำเร็จ ช่วงท้ายของสงครามหลังจากที่อเมริกาเข้าร่วมสงคราม เยอรมนีก็เริ่มเสียเปรียบ พันธมิตรของเยอรมนีทั้ง ออสเตรีย-ฮังการีก็ประกาศยอมแพ้ ส่วนบัลแกเรียและออตโตมันแพ้สงครามให้กับสัมพันธมิตร ทำให้เยอรมนีต้องต่อสู้กับพันธมิตรอย่างโดดเดี่ยว และได้แพ้สงครามในปี 1918 และได้เป็นจุดจบของจักรวรรดิเยอรมนีในที่สุด

          ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 จักรวรรดิเยอรมนี มีกษัตริย์ที่นำพาเยอรมนีเข้าร่วมสงครามโลกครั้งนั้นคือ  พระเจ้าวิลเฮล์มที่ 2 หรือที่เรียกกันว่า ไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 


                     จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II) หรือ พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2

            จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 แห่งเยอรมนี (Wilhelm II) หรือ พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ทรงประสูติเมื่อวันที่ 27 มกราคม 1859 เป็นพระราชโอรสในพระจักรพรรดิฟรีดริชที่ 3 กับพระราชธิดาในสมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย ทรงเป็นจักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเยอรมัน และพระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายแห่งปรัสเซีย ทรงดำรงวาระตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 1888 ถึง 9 พฤศจิกายน 1918

            ทรงเป็นผู้ที่มีความชื่นชมในศักยภาพทางทหารของจักรวรรดิ ทรงเห็นว่ากองทัพเป็นผู้รวมชาติเยอรมันและสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับจักรวรรดิ หาใช่สมาชิกรัฐสภาไม่ พระองค์จึงมุ่งมั่นที่จะใช้กำลังทหารเพื่อขยายอิทธิพลองจักรวรรดิเยอรมันไปทั่วโลก ซึ่งมีผลต่อสถานการณ์การเมืองในยุโรปอย่างมาก ก่อให้เกิดการช่วงชิงผลประโยชน์และอำนาจซึ่งกันและกัน ตลอดจนเกิดการแบ่งแยกมหาอำนาจยุโรปเป็น 2 ค่าย จนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 ในที่สุด


                                                                 สาธาธารณรับเยอรมัน

            หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติลงในปี 1918 ไกเซอร วิลเฮล์ม ที่ 2 ทรงสละราชสมบัติ และเสด็จไปประทับที่เนเธอร์แลนด์ จักรวรรดิเยอรมันซึ่งมีอายุ 48 ปีก็สลายตัวลง และได้เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบสาธารณรัฐ

       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น