วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร v.1

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร
    
       เพื่อให้เราได้มองเห็นภาพของการเกิดกลุ่มอำนาจสองฝ่ายจำเป็นที่จะต้องย้อนรอยกลับไปมองถึงการเกิดกลุ่มเหล่านี้ก่อนสงครามโลกกันเสียก่อน (โดยจะนำเสนอเป็นตอนๆ ไปครับ ^^)

สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย เป็นส่วนหนึ่งของการรวมชาติเยอรมนี ปี 1870
ภาพสงครามกันปะทะระหว่างสงครามของทั้งสองฝ่าย

       ย้อนกลับไปยังปี 1871 หลังจากที่ปรัสเซียทำสงครามมีชัยชนะต่อฝรั่งเศสอย่างงดงามและได้ประกาศสถาปนาจักรวรรดิเยอรมนีขึ้น เยอรมนีก็มีฐานะที่เข้มแข็งด้านการทหารอย่างมากอาจจะกล่าวได้ว่ามากที่สุดในยุโรปเวลานั้นเลยก็ว่าได้ ขณะเดียวกันนั้นฝรั่งเศสซึ่งเคยเป็นเจ้าอำนาจทางทหารมา
ยาวนานกว่า 200 ปี ก็ต้องเสียตำแหน่งให้กับเยอรมนีไปเพราะความพ่ายแพ้ด้วยเช่นกัน
  
จักรวรรดิปรัสเซีย(เยอรมนี) และแสดงถึงดินแดนที่ได้จากฝรั่งเศส
  
       ผลของชัยชนะของปรัสเซียครั้งนั้นทำให้เยอรมนีได้แคว้นหรือมณฑลที่สำคัญสองแห่งจากฝรั่งเศส นั้นคือมณอาลซาสและลอร์เรน ซึ่งทั้งสองแห่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่เหล็กและถ่านหินซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอุตสหากรรมที่กำลังเติบโตและรุ่งเรืองในเวลานั้น
เยอรมนีในยุคที่รุ่งเรืองที่ทางอุตสาหกรรม

       จากผลที่เกินขึ้นมานี้เองที่ทำให้เวลาต่อมาเยอรมนีสามารถปรับปรุงบ้านเมืองของตัวเองให้ก้าวขึ้นมาเป็นประเทศที่รุ่งเรืองที่สุดทางอุตสาหกรรมบนแผ่นดินใหญ่ของยุโรปและหากจะมีคู่แข่งอยู่ก็น่าจะมีชาติสำคัญทางอุตสาหกรรมอีกประเทศเดียวเวลานั้นคือจักรวรรดิอังกฤษที่อยู่บนเกาะ
      
       ความเติบโตและก้าวหน้าของเยอรมนีครั้งนั้นเองถือเป็นการเพาะเมล็ดพืชแห่งสงครามขึ้นมา
    
กรุงเบอร์ลินในช่วงยุครุ่งเรืองของเยอรมนี
 
       แม้ว่ากรุงเบอร์ลินจะกลายเป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของยุโรปในเวลานั้นไปแล้วก็ตามที กระนั้น บิสมาร์ค หรือออตโต ฟอน บิสมาร์ค อัครมหาเสนาบดีของเยอรมนี ผู้มีบทบาทอย่างสูงในการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมนีขึ้นมา ก็มีความหวาดเกรงอยู่เช่นดียวกัน ว่ากันว่าวันหนึ่งฝรั่งเศสอาจจะหาทางแก้แค้นทดแทนอย่างแน่นอน บิสมาร์คจึงพยายามดำเนินนโยบายธำรงไว้ซึ่งสันติภาพในยุโรป ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาสถานะของเยอรมนีให้มั่นคงอยู่นานเท่านาน และด้วยนโยบายเช่นนี้เองที่บิสมาร์คมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เยอรมนีเข้มแข็งอละฝรั่งเศสต้องอ่อนแอลงไป
 
แผนที่ยุโรปแสดงให้เห็นถึงที่ตั้ง ฝรั่งเศส-เยอรมนี-รุสเซีย ปี 1871 (เยอรมนีอยู่ตรงกลาง)
         
       สิ่งที่เขาคิดได้ก็คือ เยอรมนีจะต้องแวดล้อมไปด้วยเพื่อนฝูง และฝรั่งเศสต้องโดดเดี่ยว ที่สำคัญเขาจะต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้ฝรั่งเศสและรุสเซียสามารถเข้าร่วมมือกันได้ เพราะหากว่าเมื่อใดฝรั่งเศสสามารถจับมือกับรุสเซียแล้ว หากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีก็จะกลายเป็นมีศัตรูสองด้านพร้อมกันทันที
  
ออตโต ฟอน บิสมาร์ อัครเสนาบดีของเยอรมนีผู้มีส่วนสำคัญในการรวมชาติเยอรมนี
          
       กระนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่เยอรมนีจะสามารถทำตัวเป็นศูนย์กลางของอำนาจและมิตรภาพได้ ทั้งนี้เพราะกว่าที่เยอรมนีจะสามารถประกาศตัวเป็นจักรวรรดิเยอรมนีได้นั้นก็ต้องก่อศัตรูเอาไว้มากมายแล้วดังนั้นนโยบายทุกอย่างที่เยอรมนีและบิสมาร์คคิดในเวลานั้นก็คือ จำเป็นที่สุดที่จะต้องไม่ให้ฝรั่งเศสซึ่งคือศัตรูที่เยอรมนีกลัวที่สุดสามารถไปรวมตัวหรือจับมือกับใครได้
 
บิสมาร์คกำลังสนทนากับนโปเลียนที่ 3 หลังสงครามซีแดน(Sedan war )
        
       เมื่อเป็นดังนั้น เยอรมนีจึงใช้ยุทธวิธีทางการฑูตเข้าไปดำเนินนโยบายการต่างประเทศของตัวเอง โดยบิสมาร์คเข้าไปสนับสนุนให้ฝรั่งเศสขยายอาณานิคมของตัวเองออกไปในแอฟริกาและเอเชียทั้งนี้เพราะเข้ารู้ดีว่าการสนับสนุนฝรั่งเศสนั้นอาจทำให้ลดความรู้สึกอยากแก้แค้นของฝรั่งเศสลงได้บ้าง ที่เหนือไปกว่านั้นก็คือการที่ฝรั่งเศสขยายอาณานิคมอย่างต่อเนื่องในแอฟริกาและเอชียนนั้นต่อไปแล้วก็จะต้องเกิดปัญหาขึ้นกับอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคมในแถบนั้นอย่างแน่นอน ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นก็ย่อมหมายถึงฝรั่งเศสไม่ได้มีศัตรูเพียงแค่เยอรมนีเท่านั้น

To be continue…

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น