วันพฤหัสบดีที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธไมตรี v.3

     
      ..ต่อ สัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1879 นี้เกิดขึ้นเพราะบิสมาร์ครู้ดีว่าหลังจากที่ได้มีการลงนามในการประชุมคองเกรสแห่งเบอร์ลินเมื่อปี 1878 เพื่อแก้ไขสนธิสัญญาซานสเตฟาโนแล้ว บิสมาร์คก็รู้ดีว่ารุสเซียเริ่มมีความไม่พอใจเยอรมนีที่ทำตัวเป็ยกลางในการเรียกหลายฝ่ายมาประชุมจนต้องนำมาสู่การเสียประโยชน์ของรุสเซีย บิสมาร์คไตร่ตรองดูแล้วก็เห็นว่า ออสเตรียเป็นพันธมิตรที่ดีซื่อสัตย์และไว้วางใจได้มากกว่ารุสเซีย ดังนั้นบิสมาร์คจึงรีบจัดการให้เยอรมนีและออสเตรียลงนามในสัญญาพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1879 และถือเป็นความลับโดยเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้มีว่า ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่ง ฝ่ายใดถูกรุสเซียโจมตี อีกฝ่ายต้องเข้ามาช่วยเหลือ ข้อหนึ่ง อีกข้อหนึ่งว่า ในกรณีที่ประเทศใดประเทศหนึ่งนอกเหนือจากรุสเซีย(แท้จริงเยอรมนีคาดว่าน่าจะเป็นฝรั่งเศส)รุกราน ประเทศอีกฝ่ายจะต้องทำตัวเป็นกลาง จนกว่าหากเกิดรุสเซียไปเข้าร่วมกับฝ่ายที่มาโจมตีนั้นละทั้งสองจึงจะหันมาร่วมมือกัน
      
      เรียกว่าสัญญาฉบับนี้มีเอาไว้เพื่อป้องกันรุวเซียเป็นหลักและฝรั่งเศสเป็นรองนั้นเอง
    
      แต่ปรากฏในเวลาต่อมาว่า ได้มีความพยายามที่จะให้มีการกลับมาต่อสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
    
      กล่าวคือ หลังสิ้นสุดสัญญาฉบับนี้ลงไปแล้ว แท้จริงนั้นบิสมาร์คก็ยังเสียดายสัญญาฉบับนี้อยู่ โดยเฉพาะอย่ายิ่งพระเจ้าไกเซอร์ที่ 1 แห่งเยอรมนีก็ได้ทรงยืนยันให้มีการต่อสัญญาขึ้นมาใหม่ อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปรุสเซียก็เริ่มมีความคิดที่อยากจะกลับมาต่อสัญญากับเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง ทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ประจวบกับทางออสเตรียในเวลานั้นมีผลกระทบจากการได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนายแกลดสตันซึ่งเป็นบุคคลที่จงเกลียดจงชังออสเตรีย ทำให้ออสเตรียจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตร เมื่อมีการทาบทามออสเตรียจึงยินยอมแต่โดยดีที่จะกลับมาลงนามอีกหนหนึ่ง ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1881 สัญญาฉบับนี้ก็ได้รับการต่อายุอีกครั้ง
    
      สัญญานี้พอจะสรุปเงื่อนไขได้ว่า ในกรณีที่ประเทศหนึ่งประเทศใดยกเว้นตุรกี้(ออตโตมัน) บุกรุกประเทศในสัญญา ทุกฝ่ายจะวางตัวเป็นกลางแต่หากว่าตุรกีบุกรุกเประเทศใดประเทศหนึ่ง ทุกฝ่ายจะต้องมาตกร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป และต้องปล่อยให้คายสมุทรบอลข่านดำรงอยู่เช่นที่เป็นอยู่ในเวลานั้น โดยที่ทุกฝ่ายต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยกเว้นแต่เรื่องที่ออสเตรียสามารถเข้ารวบรวมมนฑลบอสเนียและเฮอร์เซโกวินาได้ กับอีกกรณีคือโรมาเนียที่รุสเซียจะสามารถเข้าไปดำเนินการได้ตามแต่สะดวก ซึ่งสัญญาฉบับนี้ก็ใช้ได้สมัยหนึ่งคือ 3 ปี แต่มีการต่ออายุอีกครั้งในปี 1884 แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงปี 1887 สัญญานี้ก็ต้องเลิกไปเพราะรุสเซียกับออสเตรียมีปัญหากันในเรื่องคาบสมุทรบอลข่านอีกครั้งหนึ่ง

To be continue

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น