วันพุธที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2557

วิกฤตการณ์เมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน วิกฤตการณ์โมร็อกโก

วิกฤตการณ์ทางการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1

      กล่าวได้ว่านับเป็นเวลา 10 ปี ก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นใน ยุโรปได้เกิดวิกฤตการณ์ต่างๆ อันเป็นปัจจัยและล้วนแต่เป็นส่วนหนึ่งจองการสั่งสมและกลายเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่ 1 แทบทั้งสิ้น
     
      นับแต่ปี 1904-1913 ภายใต้การพัฒนาทางการทหาร ลัทธิชาตินิยมและจักรวรรดินิยม ที่ครอบงำไปทั่วทั้งยุโรป ทำให้ยุโรปต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ต่างๆ ระหว่างชาติที่ติดตามกันมาเรื่องแล้วเรื่องเล่า แต่กระนั้นคู่กรณีก็สามารถก้าวพ้นการเสื่อมเสียมาได้แทบทุกครั้ง แต่กระนั้นด้วยแนวคิดชาตินิยมและการปลูกฝังที่มีอย่างต่อเนื่องสู่รุ่นลูกรุ่นหลานก็ทำให้สั่งสมความเกลียดชังและขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง
       
      ในจำนวนวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่น่าสนใจและมีผลโดยตรงต่อความขัดแย้งมีดังนี้
ภาพ:แมว3ตัวกำลังสู้กันแย่งหนู(โมร็อกโก) แมว 3 ประกอบด้วย
Edward VII,Wilhelm II , French foreign minister(รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศ)Theophile Delcasse
     

วิกฤตการณ์โมร็อกโก ค.. 1905 และ ค.. 1906
     
      วิกฤตการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นมาจากความขัดใจและขัดแย้งกันในเรื่องผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่มีโมร็อกโกเป็นตัวกลาง และเป็นผู้ที่ต้องรับปัญหาโดยตรง
     
      กล่าวคือ ในตอนต้นศตวรรษที่ 20 โมร็อกโกมีสถานะเป็นประเทศเอกราชโดยมีสุลต่านปกครอง ข้อดีของโมร็อกโกคือความอุดมสมบูรณ์ในแร่ธาตุและมีผลิตผลทางการเกษตรที่ดีกว่าหลายประเทศในแอฟริกาตอนเหนือ ด้วยข้อดีเช่นนี้เองจึงทำให้โมร็อกโกเข้าไปเป็นที่พึงปรารถนาของยักษ์ใหญ่แห่งยุโรปในเวลานั้น
    
      สิ่งสำคัญที่โมร็อกโกมีและเป็นที่หมายปองอย่างมากของยุโรปในเวลานั้นคือ โมร็อกโกมีบ่อแร่เหล็กและแมงกานิส และโอกาสด้านการค้าต่างๆ อีกสองมหาอำนาจแห่งยุโรปเวลานั้นคือเยอรมนีและฝรั่งเศสประกาศตัวชัดเจนที่จะเข้าไปหาผลประโยชน์ที่โมร็อกโก เมื่อทั้งสองชาติมาชิงดีชิงเด่นกันเช่นนั้นผลที่ออกมาก็คือไม่มีใครได้เปรียบและเสียเปรียบ
      
      แต่เมื่อถึงปี 1904 เมื่ออังกฤษได้ตกลงทำสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตรอังกฤษ ฝรั่งเศสขึ้นมา ซึ่งในสนธิสัญญานี้มีข้อความตอนหนึ่งกำหนดเอาไว้ว่าให้ฝรั่งเศสปฏิบัติกับโมร็อกโกได้ตามแต่ฝรั่งเศสจะปรารถนาซึ่งส่งผลกระทบกระเทือนทางการฑูตต่อเยอรมนีโดยตรง ทั้งนี้เพราะเยอรมนีต้องการให้ชาติของตนเองมีส่วนร่วมในการเจรจาด้วยหากมีการพูดคุยกันในเรื่องของปัญหาโมร็อกโก
    
      ปลายปี 1904 นั่นเองฝรั่งเศสก็ได้ขอให้สุลต่านโมร็อกโกยอมให้ฝรั่งเศสเข้าไปปรับปรุงด้านการทหารและการคลังซึ่งหากองค์สุลต่านยินยอมก็จะทำให้ฝรั่งเศสมีอำนาจในโมร็อกโกเท่ากับที่เวลานั้นอังกฤษมีอำนาจเหนืออียิปต์อยู่ก่อนแล้ว
     
      รัฐบาลเยอรมนีวางเฉยในระยะแรก แต่อีกสองหรือสามเดือนต่อมาไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของเยอรมนี เสด็จเยือนเมืองแทนเจียร์ของโมร็อกโกอย่างเป็นทางการในเดือนมีนาคม 1905 อีกทั้งไกเซอร์ยังได้กล่าวสุนทรพจน์ยอมรับในเอกราชและอธิปไตยของโมร็อกโก อีกทั้งในเวลานั้นกระทรวงการต่างประเทศของเยอรมนีก็ได้เข้าขอร้องว่าหากจะมีการตกลงเกี่ยวกับอนาคตของโมร็อกโกแล้วก็ขอให้มีการเปิดการประชุมระหว่างชาติขึ้น
     
      ผลที่เกิดขึ้นมานี้ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสในเวลานั้นโกรธอย่างมากึงกับยืนยันที่จะทำให้เกิดสงครามขึ้นกับเยอรมนีให้ได้ แต่เมื่อเจรจากับพันธมิตรของตนเองอย่างรุสเซีย ซึ่งเวลานั้นยังไม่พร้อมจะไปออกรบกับใครได้เพราะกำลังติดพันในสงครามกับญี่ปุ่นอยู่ และเพิ่งจะพ่ายแพ้ญี่ปุ่นมา อีกทั้งเหตุการณ์ภายในประเทศของตนเองก็ไม่น่าไว้วางใจนักขณะอังกฤษนั้นแม้ด้านการฑูตจะแสดงออกถึงการสนับสนุนฝรั่งเศสอย่างเดิมทีแต่ก็ละเว้นการแสดงออกอย่างตรงไปตรงมาว่าจะเข้ามาช่วยเหลือฝรั่งเศสหรือไม่หากเกิดสงครามขึ้นมา
Theophile Delcasse
รัฐมนรตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศส ณ เวลานั้น
     
      สุดท้ายฝรั่งเศสจึงจำต้องยอมจำนนต่อการกระทำของเยอรมนี ถึงขั้นที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของฝรั่งเศสต้องลาออกจากตำแหน่งและถือว่าเป็นความพ่ายแพ้ทางการฑูตที่หน้าอายของฝรั่งเศส แต่กระนั้นก็ใช่ว่าเยอรมนีจะได้รับชัยชนะ ทั้งนี้เพราะในการประชุมนานาชาติที่เยอรมนียืนยันให้จัดขึ้นที่เมืองอัลจาซีรา ในการลงคะแนนเสียงเยอรมนีพ่ายแพ้เกมการทูต โดยอิตาลีเข้าข้างฝรั่งเศสอย่างเต็มที่ทุกกรณี ส่งผลให้เยอรมนีสามารถทำได้ก็เพียงแค่ยืนยันให้โมร็อกโกเป็นเอกราขแต่เพียงในนามเท่านั้น
    
      อธิปไตยของสุลต่านหมดไป โมร็อกโกต้องเปิดประเทศให้ชาติต่างๆ เข้ามาค้าขายได้โดยมีสิทธิเท่าเทียมกัน แต่ตามความเป็นจริงแล้ว ส่วนใหญ่จะมีเพียงฝรั่งเศสกับสเปนที่ได้มีอำนาจเข้ามาตรวจดูแลรักษาโมร็อกโกและการประชุมในครั้งนี้เองที่ทำให้เยอรมนีเริ่มสงสัยและไม่ไว้วางใจอิตาลีรวมถึงประเทศในค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร(Triple entente) และเป็นจุดเพิ่มพูนความกินแหนงแคลงใจ---
   
      และนี้ก็เป็น 1 ในเหตุการณ์ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นและเป็น 1 ใน ปัจจัยที่ทำให้เกิดสงครามโลกนั้นเอง

      ตอนหน้าจะเป็นเหตุการณ์ทางการเมืองที่ไหน แบบไหน  ติดตามตอนหน้าครับ ^^

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น