วันอังคารที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จักวรรดิบริเทน ตัวแปรของอำนาจ V.2

     
รัฐบุรุษโจเซฟ เชมเบอร์เลย(Joseph Chamberlain)

      …ต่อ เมื่อพิจารณาไตร่ตรองกันดีแล้ว อังกฤษหรือบริเทนใหญ่ก็ได้เริ่มนโยบายเปิดประเทศสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านขึ้นมาบ้าง โดยเริ่มจากการเข้าไปทาบทามเยอรมนี 1898 เป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่งในปี 1901 โดยมีรัฐบุรุษโจเซฟ เชมเบอร์เลน แต่ปรากฏว่าฝ่ายเยอรมนีไม่สนใจ ทั้งกลับตีความหมายไปว่าอังกฤษกำลังอ่อนกำลังลงอีกต่างหาก
    
      กลายเป็นว่าเวลานั้นเยอรมนีก็เริ่มลำพองตัวเองแล้วว่าการที่อังกฤษเข้ามาทาบทามนั้นแสดงให้เห็นว่าเยอรมนีก็ใหญ่พอแล้วที่จะเข้มแข็งด้วยตัวเองและอีกอย่างหนึ่งเยอรมนีก็หยิ่งเกินไปที่คิดว่าตัวเองสามารถจะทำไมตรีกับใครก็ได้ตามข้อเสนอของตัวเอง ทำให้ไม่สนใจอังกฤษหรือบริเทนใหญ่ในเวลานั้น
    
อังกฤษและฝรั่งเศสจำต้องจับมือกัน

      ดังนั้น ความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นไปด้วยดีกลับต้องแย่ลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเยอรมนีมีความคิดอยากที่จะเป็นที่ 1 ในทุกด้านเหนืออังกฤษให้ได้ ก็ยิ่งทำให้ช่องห่างระหว่างสองชาติเพิ่มมากยิ่งขึ้น ต่อเนื่องสภาไรซ์สตาคของเยอรมนีผ่านกฏหมายทางนาวีซึ่งยอมให้สร้างกองทัพเรือตามโปรแกรมนาวีแบบใหม่ ซึ่งจะสามารถขยายกำลังและเข้าครอบครองน่านน้ำอันจะส่งผลต่อบริเทนใหญ่โดยตรง ทำให้อังกฤษเริ่มตระหนกอย่างมากทั้งนี้เพราะหากแผนการนั้นของเยอรมนีสำเร็จย่อมหมายความว่าความยิ่งใหญ่ทางนาวีของอังกฤษต้องถูกสั่นคลอนอย่างแน่นอน ดังนั้นอังกฤษจึงไม่อาจนิ่งเฉยออยู่ได้ ค.. 1902 อังกฤษจึงเริ่มนโยบายผูกมิตรกับชาติต่างๆ โดยเริ่มทำสนธิสัญญากับพันธไมตรีกับญี่ปุ่นเป็นชาติแรก ต่อมาในปี 1904 ก็ได้เริ่มปรองดองกับฝรั่งเศสจนเกิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีอังกฤษ-ฝรั่งเศส ขึ้นในปี 1904 นั้นเอง
ต้นเหตุของการเป็นศัตรูกันคือสงคราม 100 ปี (War of 100 years)
เป็นสงครามที่เกิดจากราชวงศ์ของทั้ง 2 ประเทศ
ตามภาพด้านซ้ายคือกองทัพทหารฝรั่งเศส ด้านขวาคือกองทัพทหารของอังกฤษ
   
      ในสายตาชาวโลกเวลานั้นมองว่า สำหรับประเทศใดๆ ในโลกเวลานั้นคู่กรณีที่จะหันเข้ามาทำสัญญากันได้ยากที่สุดน่าจะเป็นอังกฤษกับฝรั่งเศสทั้งนี้เพราะทั้งสองชาติต่างมีเรื่องที่ทำให้เป็นศัตรูคู่อาฆาตกันมานับร้อยๆ ปีที่สำคัญฝรั่งเศสก็เพิ่งทำสัญญาไมตรีกับรุสเซียซึ่งเป็นศัตรูสำคัญในเรื่องการขยายดินแดนในเอเชียของอังกฤษอีกชาติหนึ่งด้วย
     
      เรียกได้ว่าอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นพร้อมเสนอที่จะหันหน้ามารบกัน แต่เมื่อถึงเวลาที่เหมาะเจาะคือ
    
      1.เมื่ออังกฤษถูกเยอรมนีปฏิเสธเรื่องไมตรีที่เสนอ
     
      2.เมื่อเยอรมนีตกลงใจสร้างกองกำลังทหารทางเรือ
    
      3.เมื่อรัฐบาลฝรั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับอังกฤษภายหลังการเลือกตั้งในฝรั่งเศสเมื่อปี 1902 ทำให้ความร่วมมือครั้งใหม่เกิดขึ้นได้
     
      แต่เอาเข้าจริงๆ แล้ว ว่ากันว่าการที่ฝรั่งเศสเปลี่ยนท่าทีในความสัมพันธ์กับอังกฤษนั้น แท้จริงแล้วน่าจะมาจากการที่เวลานั้นฝรั่งเศสมีนโยบายที่จะรุกและแผ่อำนาจของตัวเองเข้าในโมร็อกโกต่างหาก หากว่าอังกฤษไม่ให้การสนับสนุนแล้วการแผ่อำนาจครั้งนั้นย่อมมีอุปสรรคอย่างมาก ดังนั้นเมื่อฝรั่งเศสหันมาทำไมตรีกับอังกฤษ จนสามารถลงนามในสัญญาข้อตกลงต่างๆ ที่ทำขึ้นในปี 1904 แล้วฝรั่งเศสก็สามารถรุกเข้าโมร็อกโกอย่างสะดวกสบาย

ช่องแคบยิบรอลตาร์
   
      ข้อสัญญามิตรภาพระหว่างสองชาติ มีเนื้อหาคร่าวๆ ว่าทั้งสองจะปรองดองกันด้วยดีในกรณีพิพาทเรื่องสำคัญๆ ในแอฟริกาตะวันตก สยาม มาดากัสการ์ หมู่เกาะนิวเฮบรีดิส สิทธิการจับปลาในนิวฟาวด์แลนด์ และที่สำคัญที่สุดคือ ฝรั่งเศสยอมให้อังกฤษปฏิบัติการกับอียิปต์ได้ตามสะดวก กลับกันฝรั่งเศสก็ได้ประโยชน์จากอังกฤษคือปล่อยให้ฝรั่งเศสเจ้าไปทำอะไรในโมร็อกโกได้ตามปรารถนา มีข้อแม้อยู่เพียงว่าฝรั่งเศสยึดได้แต่ต้องไม่สร้างค่ายคู ประตูหอรบหรือสร้างเครื่องต้านทานศาสตราวุธต่างๆ ขึ้นในบริเวณนั้น ทั้งนี้เพราะอังกฤษเกรงว่า การกระทำดังกล่าวนั้นอาจจะกลายเป็นการคุกคามอังกฤษทางช่องแคบยิบรอลตาร์ได้

การเข้าครองครองโมร็อกโกของทั้งฝรั่งเศส และสเปน โดยมีตัวแปรสำคัญคืออังกฤษ
   
      ประเด็นหลักนี้อังกฤษยังหวาดเสียวอยู่ไม่น้อย เลยได้ไปขอทำสัญญาลับกับสเปนอีกประเทศหนึ่ง โดยมีข้อตกลงว่า ฝรั่งเศสเข้ายึดโมร็อกโกเมื่อใดอังกฤษก็จะยกโมร็อกโกอีกส่วนหนึ่งซึ่งอยู่ฝั่งยิบรอลตาร์ให้กับสเปนทันที

   
      ว่ากันว่าสนธิสัญญาของทั้งสองชาติคืออังกฤษและฝรั่งเศสนั้นในระยะแรกไม่ได้มีการลงนามแบบผูกพันเป็นพันธมิตร และไม่ได้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเล่นงานเยอรมนีโดยตรง แต่เมื่อเยอรมนีมีนโยบายสร้างตัวเองอย่างต่อเนื่องก็ส่งผลให้ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสต้องจับมือกันแน่นยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการทำความสัมพันธ์ทางการทหาร กระนั้นก็ไม่มีการลงนามในสัญญาพันธมิตรกันจนกระทั่งเกิดสงครามโลกขึ้นมาแล้วนั้นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น