ราชอาณาจักรอิตาลี
อิตาลีสมรภูมิในแอฟริกา |
ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1885
ก่อนหน้าการสิ้นอำนาจการปกครองของอียิปต์ในเมืองคาร์ทูมไม่นาน
อิตาลีก็ได้ส่งทหารเข้ายึดเมืองมาสซาวา
และต่อมาก็ได้ผนวกเมืองมาสซาวาโดยการบังคับในปี 1888
นับเป็นจุดกำเนิดของอาณานิคมเอรเทรียของอิตาลี
จักรพรรดิเมเนิลิกที่ 2 ผู้ยัดเยียดความปราชัยให้แก่อิตาลีและพันธมิตรอังกฤษ |
ในปี 1895 เอธิโอเปียภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเมเนลิกที่
2 ได้ล้มเลิกข้อตกลงในการดำเนินตามนโยบายการต่างประเทศของอิตาลี
ซึ่งได้ลงนามไว้เมื่อปี 1889
อิตาลีจึงได้อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวยกเป็นเหตุในการยกทักเข้าสู่เอธิโอเปีย
เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากจักรวรรดิรุสเซียซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในทวีปแอฟริกา
โดยรัฐบาลของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2
ได้ส่งอาวุธสมัยใหม่จำนวนมากเข้าช่วยเหลือชาวเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปีย
ครั้งที่ 1 ผลสะท้อนที่กลับมาคือสหราชอาณาจักรได้ตัดสินใจเข้าหนุนหลังฝ่ายอิตาลีเพื่อท้าทายอิทธิพลของรุสเซียในทวีปแอฟริกา
ทั้งยังได้ประกาศว่าเอธิโอเปียทั้งหมดอยู่ในขอบเขตที่อิตาลีจะสามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้
ทหารเอธิโปเปียภายใต้การสนับสนุนของรุสเซีย |
ในช่วงที่ใกล้จะเกิดสงครามนั้น
ลัทธิชาตินิยมและทหารนิยมได้ทะยานสู่จุดสูงสุด
ประชาชนชาวอิตาลีได้รวมตัวกันเข้าสมัครเป็นทหารกองทัพบกอิตาลีด้วยความหวังจะได้มีส่วนรวมในสงครามครั้งนี้
ภาพวาดเพื่อระลึกถึงยุทธการอัดวา(ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ สมิธโซเนียน USA |
กองทัพอิตาลีประสบกับความล้มเหลวในสมรภูมิ
และพ่ายแพ้อย่างยับเยินให้แก่กองทัพจำนวนมหาศาลของเอธิโอเปียยุทธการอัดวา
อิตาลีจึงจำต้องถอนทัพกลับไปยังเอริเทรีย
ความล้มเหลวในสงครามที่เอธิโอเปียทำให้อิตาลีต้องอับอายขายหน้าในระดับนานาประเทศ
ทหารราบขี่ม้าของอิตาลีระหว่างเกิดกบฏนักมวยในประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ. 1900 |
นับจากวันที่ 2 พฤศจิกายน 1899 ถึงวันที่ 7 กันยายน 1901
อิตาลีได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพกำลังพันธมิตรแปดชาติระหว่างที่เหตุการณ์กบฏนักมวยในประเทศจีน
ในวันที่ 7 กันยายน 1901 รัฐบาลของราชวงศ์ชิงได้ส่งมอบสัมปทานเขตเช่าที่เมืองเทียนเสินให้แก่อิตาลี
ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน 1902 สัมปทานดังกล่าวได้มีบังคับใช้
นำไปสู่การตั้งกงสุลอิตาลีเพื่อเข้าครอบครองและทำการบริหารจัดการ
ดินแดนตริโปลิเตเนีย ทั้ง 3 ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย |
ในปี 1911
อิตาลีได้ประกาศสงครามกับจักรรวรรดิออตโตมันและเข้ารุกรานดินแดนตริโปลิเตเนีย เฟซซัน
และไซเรไนกา ดินแดนทั้งสามจังหวัดนี้ได้รวมกันเป็นประเทศลิเบียในภายหลัง สงครามได้จบลงในอีกหนึ่งปีถัดมาแต่การเข้ายึดครองของอิตาลีได้ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อชาวลิเบีย
เช่น การบังคับขับไล่ชาวลิเบียให้ออกจากหมู่เกาะทรีมิติ (Tremiti Islands) ในเดือนตุลาคม
1911 เป็นต้น ถึงปี 1912 ปรากฏว่า 1 ใน 3
ของผู้ลี้ภัยชาวลิเบียได้เสียชีวิตจากการขาดอาหารและที่อยู่อาศัย
การผนวกดินแดนลิเบียได้ทำให้ฝ่ายชาตินิยมอิตาลีเรียกร้องให้อิตาลีเรียกร้องให้อิตาลีครอบครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยการเข้ายึดครองราชอาณาจักรกรีซและภูมิภาคคัลเมเชียในชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
โจวันนี โจลิตตี นายกรัฐมนตรี 5 สมัยของอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1892 - 1921 |
ในปี 1892 โจวันนี
โจลิตตี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีเป็นสมัยแรก
แม้ว่าคณะรัฐบาลชุดแรกของเขาพังลงอย่างรวดเร็วในปีต่อมาแต่ในปี 1903
โจลิตตีก็กลับขึ้นมาเป็นผู้นำของรัฐบาลอิตาลีอีกครั้งในยุคแห่งความยุ่งเหยิงซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี
1914
โพยมยานของอิตาลี |
ในปี 1911
รัฐบาลของโจลิตตีได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยึดครองลิเบีย
ในขณะที่ความสำเร็จในสงครามลิเบียได้ยกสถานะของลัทธิชาตินิยมให้สูงขึ้นแต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยเกิดความสำเร็จในการบริหารงานของรัฐบาลโจลิตตีแต่อย่างใดรัฐบาลได้พยายามขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการพูดถึงความสำเร็จและความสร้างสรรค์ของกองทัพอิตาลีในการสงครามว่า
อิตาลีเป็นชาติแรกที่ได้มีการใช้โพยมยาน (เรือเหาะ) ในวัตถุประสงค์ทางการทหาร
และได้ลงทำการทิ้งระเบิดทางอากาศใส่กองกำลังของจักรวรรดิออตโตมัน สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานของพรรคสังคมนิยมอิตาลี
เบนนิโต มุสโสลีนี |
กล่าวคือกลุ่มนักปฏิวัติต่อต้านสงครามในพรรค ซึ่งนำโดย เบนิโต มุสโสลีนี
ผู้ซึ่งจะกลายเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ในอนาคต
ได้เรียกร้องให้มีการใช้กำลังโค่นล้มรัฐบาล หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ
โจลิตตีได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในเวลาอันสั้น แต่เมื่อถึงตอนนั้น
ยุคเสรีนิยมก็ได้จบลงไปโดยสิ้นเชิงแล้ว
การเลือกตั้งทั่วไปในปี 1913 และปี 1919
แสดงให้เห็นว่าคะแนนเสียงการเลือกตั้งได้หันเหไปทางพรรคการเมืองกลุ่มสังคมนิยม
กลุ่มคาทอลิก และกลุ่มชาตินิยม เนื่องจากพรรคการเมืองสายเสรีนิยมและราดิคัล (radical) ได้อ่อนแอลงเพราะปัญหาความแตกร้าวภายในและต้องพบกับความพ่ายแพ้ในที่สุด----
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น