จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี
ตราแผ่นดินออสเตรีย-ฮังการี
จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี
เป็นจักริวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปี 1867 จนถึงปี 1918
กล่าวคือจักวรรดินี้ถูกล้มล้างลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
ชื่ออย่างเป็นทางการของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีคือ The Kingdoms and Lands Represented in the Imperial Council
and the Lands of the Holy Hungarian Crown of St. Stephen, ซึ่งรวมๆ แล้วหมายถึง
อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้สภาอิมพีเรียลและมงกุฏฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน
ผังแสดงราชวงศ์ฮัมบูร์ก
จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.ศ. 1804-1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน
โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปี 1857 (พ.ศ. 2410)
กล่าวคือทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาอย่างยาวนาน
ดังนั้นจึงมีการเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นจักรวรรดิหนึ่งเดียว
ซึ่งจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรทีมีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด
ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีในปัจจุบัน; ด้านหน้าสุด: ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก และเจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ็กซ์-ไมนินเจน,
แถวที่ 2 (นับจากซ้าย) : มกุฎราชกุมารีฟรานเซสก้า, มกุฎราชกุมารคาร์ล, อาร์คดัชเชสแอนเดรีย, อาร์ชดยุกจอร์ช, อาร์คดัชเชสอีไลก้า,
แถวที่ 3 (นับจากซ้าย) : อาร์คดัชเชสโมนิก้า พร้อมด้วยพระสวามี (ซ้าย) , อาร์คดัชเชสกาเบรียลล่า, อาร์คดัชเชสไมเคิลล่า พร้อมด้วยพระสวามี (ขวา) ,
แถวหลังสุด: อาร์คดัชเชสวาร์ลบูก้า พร้อมด้วยพระสวามี (ซ้าย)
ราชวงศ์ฮับบูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย
(Emperor of Austria)
และอาณาจักรฮังการีในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary)
ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า
นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว
โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง
มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว
แผนที่จักรรวรรดิออสเตรีย-ฮังการ
เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นมี มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือกรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย
และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี
ในยามนั้นจักรวรรดิแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย
และเป็นอาณาจักรทีมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ 3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมนี
ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน
ออสเตรียและฮังการีต่างมีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมีนายกรัฐมนตรีเป็นของตนเอง
แต่รัฐสภาทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิหรือสมเด็จพระราชาธิบดีแต่พียงพระองค์เดียว
ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จและสภาของสำนักอิมพีเรียลนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกองทัพราชนาวี
การต่างประเทศและสหภาพต่างในจักรวรรดิ เป็นต้น
สมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชาธิบดีพระองค์แรกในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี พระนามเต็ม: ฟรานซ์ โจเซฟ คาร์ล |
สภาคณะรัฐมนตรีของจักรวรรดิเป็นตัวควบคุมรัฐสภาทั้งหมด
ซึ่งประกอบด้วย 3 รัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมในการควบคุมด้วย
คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
นอกจากนี้ยังมีผู้ส่วนร่วมอื่นๆ อีก เช่นอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชส
รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียลบางพระองค์อีกด้วย โดยคณะผู้แทนจากออสเตรีย 1 คน และจากฮังการีอีก 1
คนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสภาสามัญของคณะรัฐมนตรีหรือจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน
โดยให้ 2
รัฐบาลเป็นตัวกำหนดและควบคุมการบริหารและการจัดการทรัพย์สินแผ่นดินอย่างไรก็ตาม
ในขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมทุกครั้ง
คณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นถวายฏีกาต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ
ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินความทั้งหมด
ธนบัตร 20 โครนที่ใช้กันในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี |
หน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งกับคณะรัฐมนตรีอีกฝ่ายหนึ่ง
ได้สร้างความไม่ลงรอยกันและไร้ประสิทธิภาพใรการบริหารงาน บริหารกองทัพบอกนั้นได้อยู่ในภาวะลำบาก
เป็นกองทัพที่ไร้ประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ารัฐสภากลางได้กำหนดทิศทางการบริหารงานของกองทัพบก
และกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีจะมีกำหนดกฏหมายบังคับ
การเกณฑ์ทหาร การจัดหาและการย้ายทหารไปออกรบ และกฏหมายบังคับเฉพาะเมือง
ที่ไม่ใช่ทหารเกณฑ์แต่เป็นสมาชิกของกองทัพบกโดยบางส่วนให้กระแสว่า แต่รัฐบาลควรจะเข้มแข็ง
ควรเข้มงวดต่อการบริหารตัวเองมากกว่านี้ แทนที่จะมาไปใส่ใจรับผิดชอบรัฐสถาสามัญ
สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1 | จักรพรรดิแห่งออสเตรียองค์สุดท้าย |
การประกาศยุบจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีถูกตีพิมพ์และแจกจ่ายเมื่อ พ.ศ. 2461 ในคราโคว์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์) |
ความสัมพันธ์ทางการเมืองในครึ่งศตวรรษแรก หลังปี 1867
นั้นมีการขัดแย้งในเรื่องของการจัดการพิกัดอัตราภาษีศุลากากรหรือค่าธรรมเนียมภายนอก
และการจัดการทางการเงินคณะรัฐบาล
ภายใต้ข้อกำนหนดของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี
รวมไปถึงข้อตกลงที่มีการเจรจาทุกๆ 10
ปี โดยกำหนดสิ่งที่ต้องทำในคณะรัฐบาลต่างๆ
โดยมีการออมเงินเพื่อให้ความสับสนอลหม่านทางการเมืองได้คืนสู่สภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม
การได้โต้เถียงระหว่างรัฐบาลในจักรวรรดิในช่วงปี 1900 ซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาวิกฤติการเมืองการปกครองไปอีก
ซึ่งมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลรวมทั้งหน่วยรบและกองทัพของฮังการีเป็นตัวนำ
ซึ่งเป็นการเพิ่มขยายอำนาจทางทหารของฮังการี เมื่อเดือนเมษายน 1906 โดยมีนักชาตินิยมฮังการีมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม
การกลับสู่สภาวะปกติในจักวรรดิก็เป็นได้แค่เพียงชั่วคราว
แต่ก็ได้จัดการให้กลับสู่ภาวะปกติเมื่อเดือนตุลาคม 1907 และในเดือนพฤศจิการยน 1917
ได้วางรากฐานใหม่สถานะใหม่ของจักรวรรดิใหม่แต่ด้วยเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น
จักรวรรดิก็นำไปสู่อวสาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น