จักรวรรดิออตโตมัน
ตราแผ่นดินจักรวรรดิออตโตมัน |
โบสถ์ฮาเกีย โซเฟีย |
จักรวรรดิออตโตมัน(Ottoman Empire)
ถือกำเนิดขึ้นในปี 1453 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบเซนไทม์ มีสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เป็นผู้นำ
มีคอสแตนติโนเปิล(อิสตันบลู) เป็นเมืองหลวง ในตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น
อิสตันบลูและเปลี่ยนโบสถ์ฮาเกีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์
เป็นมัสยิสต์ในอิสลาม
อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่
ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตกนครเวียนนาทางทิศเหนือ
ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
อาณาจักรออตโตมันระหว่างปี 1453-1566 |
จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมานครองราชย์ระหว่างปี
1520-1566 ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ
อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย
ภาพเหมือนของพระองค์ใน ค.ศ.1530 |
รูปนูนต่ำของสุลต่านสุลัยมานภายในที่ทำการของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปผู้มีความสำคัญในด้านการกฎหมายยี่สิบสามรูป |
ทิศตะวันตกออกจรดคาบสมุทรอาระเบีย
ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมียทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ
ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า “สุไลมาน สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่” สำหรับชาวตรุกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า
“สุไลมาน ผู้พระราชทานกฏหมาย” เนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฏหมาย
สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี 1566
สิริรวมพระชนมายุอายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี
อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น
1 ใน 3
สิ่งที่ชาวครุกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน
สุลต่านเบยาชิตที่ 1 |
สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม
ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300ปี
ก่อนที่จะล้มสลายอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1
สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่
การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17
พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี 1566-1789
การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน
สมัยสุลต่านเบยาชิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี 1389-1402)
โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง
ทันที่ที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ
การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมตที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี
1605 ทรงโปรดให้เปลี่ยน การสำเร็จโทษ มาเป็นกักบริเวณ
แทนการกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท
ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง
สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์
เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานานบางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่
17 เป็นต้นมา
พระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงเป็นอย่างมากในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น
ในยุคนี้การฉ้อราษฏร์บังหลวงการเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ
ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน
ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัตรอุตสาหกรรม
มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว
จักรวรรดิออคโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี
เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น
และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันหากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย
โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลอำนาจในยุโรป
ภาพวาดสงครามไครเมียปี 1854-1856 |
ภาพทหารในสงครามไครเมีย |
ในศตวรรษที่ 19
จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรปฉายาดังกล่าว
พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน
ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี
1854
สุลต่านองค์สุดท้าย สุลต่านเมห์เมตที่ 6 |
อาณาจักรออตโตมันสิ้นสุดลงในปี 1923 มีสุลต่านเมห์เมตที่ 6
เป็นสุลต่านองค์สุดท้าย
สุลต่านฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรกของตุรกี |
และมีสาธารณรัฐตรุกี ขึ้นมาแทนที่ ละมีสุลต่านฟา เคมาล
อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น