วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

การรวมกลุ่มพันธมิตรไมตรีก่อนสงคราม

           หลังจากที่ได้รับรู้เรื่องราวของจักรวรรดิต่างๆ ที่สำคัญๆ ที่จะมีบทบาทในสงครามโลกครั้งที่ 1 ไปเรียบร้อยแล้ว หลังจากนี้ไป บทความหรือเนื้อเรื่องก็จะเริ่มเข้าใกล้ช่วงสงครามโลกเข้าไปทุกทีๆ มาคราวนี้เราจะมาเรียนรู้และศึกษาของ การรวมกลุ่มพันธไมตรีก่อนสงคราม ก่อนจะเข้าเรื่อง ขอขอบคุณเจ้าของบทความจริงๆเลย ก็คือ ท่านวีระชัย โชคมุกดา ครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาเรามาเริ่มกันเลยดีกว่าครับ

การรวมกลุ่มพันธมิตรไมตรีก่อนสงคราม

         เมื่อโลกเข้าสู่ศตวรรษที่ 19 ยุโรปก็กลายเป็นเจ้าใหญ่นายโตของโลกไปแล้ว ที่สำคัญอำนาจของยุโรปยังแพร่ลามขยายอิทธิพลของตัวเองออกไปเหนือบริเวณต่างๆ ทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยในบริเวณซีกโลกตะวันตกได้แก่สหรัฐอเมริกา แคนาดา เม็กซิโก อเมริกากลางและอเมริกาใต้ก็ไม่ต่างกัน วิถีและชีวิตแบบยุโรปได้แพร่ลามเข้าไปอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญวัฒนธรรมของยุโรปก็ยังเป็นรากฐานของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อีกด้วยเรียกว่าเวลานั้นกว่าครึ่งโลกไปแล้วที่วัฒนธรรมและวิธีคิดอย่างยุโรปกระจายเข้าไปมีอิทธิพลต่อผู้คน

แผนที่โลกประเทศที่ตกในอาณานิคมของชาติมาหาอำนาจในปี ค.ศ.1989
         และว่ากันว่าอิทธิพลของยุโรปไม่ได้มีอยู่เพียงเท่านั้นหากแต่ชนชาวยุโรปยังถือสิทธิเขาไปแบ่งปันเขตแดนในแถบทวีปแอฟริกาใต้ ทวีปเอเชีย รวมไปถึงบรรดาหมู่เกาะต่างๆ ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกภาคกลางและภาคใต้มาเป็นของประเทศตัวเองแต่ละประเทศจำนวนมากมาย

         เรียกได้ว่าเวลานั้นบรรดาประเทศสำคัญในยุโรปต่างแย่งกันเข้าครอบครองดินแดนของคนอื่นกันอย่างสนุกสนาน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้ประเทศคู่แข่งเห็นถึงศักดิ์ศรีและเกียรติศักดิ์ของประเทศตัวเอง และเพื่อความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ ทางการค้า และเพื่อการเผยแพร่ศาสนา ถึงขั้นที่ช่วงเวลานั้นได้มีการระบายสีลงในแผนที่ให้เห็นกันเลยว่าสีนี้สีนั้นเป็นของประเทศนั้นจนเปรอะกันทั่วแผนที่โลก ที่สำคัญการแพร่ลามอิทธิพลของชาวยุโรปในช่วงเวลานั้นใช่ว่าจะมีความรู้สึกสำนึกก็หาไม่หากแต่กลับคิดว่า การที่ยุโรปเข้าไปยึดครองและแสวงหาผลประโยชน์ในแผ่นดินอื่นนั้นก็เพราะเป็นภาระที่ชาวยุโรปต้องช่วยนำนานาประโยชน์จากอรายธรรมยุโรปไปสู่บรรดาชนที่ล้าหลัง ถือเป็นการช่วยให้ชนเหล่านั้นมีสภาพและโชคชะตาที่ดีขึ้น ครั้งนั้นชาวยุโรปเรียกมันว่า ภาระของชนผิวขาว

       วิธีคิดอย่างที่ว่านี้เกิดขึ้นมาจริงในช่วงที่ยุโรปกำลังบ้าอำนาจและกำลังเห่อเหิมกับการพัฒนาของตนเองที่วางอยู่บนพื้นฐานของการเข้าไปสูบเลือดสูบเนื้อประเทศอื่นๆเขา แต่ก็ไม่นานนัก ทั้งนี้เพราะในเวลาต่อมาหลังจากที่ต่างคนต่างๆ ก็คิดเข้าไปสร้างบารมีและอิทธิพลของตัวเองแล้ว หลังปี 1870 ประเทศปฏิปักษ์ต่อกันอย่างเอาเป็นเอาตายโดยเฉพาะเรื่องที่เกิดขึ้นมานี้ก็มีที่มาจากการแก่งแย่งกันเป็นเจ้าของดินแดนต่างๆ แย่งกันค้าขายในตลาดโลกซึ่งอำนวยผลกำไรให้อย่างมหาศาล และรวมไปถึงการเบ่งใส่กันเองอวดบารมีกันเองตามเวทีการประชุมต่างๆ

ไตรพันธมิตรใน ค.ศ. 1913 แสดงในสีแดง

      เรียกว่าแข่งกันอวดบารมีและการแข่งกันหาเลห์หาเหลี่ยมมาใช้ในการเจรจากัน ผลสุดท้ายปรากฏว่าบรรดาประเทศที่แช่เองได้มีการรวมตัวกันจนแยกออกเป็นสองฝ่าย คือฝ่ายสนธิสัญญาพันธไมตรีไตรมิตร กับฝ่ายสนธิสัญญาฉันทไมตรี

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

จักรวรรดิอังกฤษหรือจักรวรรดิบริเทน

จักรวรรดิอังกฤษหรือจักรวรรดิบริเทนใหญ่
               


             จักรวรรดิอังกฤษ (British Empire แปลตามตัวคือ จักรวรรดิบริเทน) นับเป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดดในประวัติศาตร์และในช่วงระยะเวลาหนึ่งเคยเป็นมหาอำนาจที่สำคัญของโลก โดยถือกำเนิดมาจากยุคแห่งการค้นพบในทวีปยุโรป ซึ่งเริ่มตั้งแต่การสำรวจทางทะเลในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ที่ทำให้เกิดจักรวรรดิอาณานิคมของยุโรป (European colonial empires)
ภาพวาดกองทัพเรือจักรวรดิอังกฤษ
              
              ในศศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิอังกฤษนับเป็นมหาอำนาจที่น่าเกรงขามมากที่สุด โดยเป็นทั้งมหาอำนาจทางทะเล มีอาณานิคมโพ้นทะเลมากที่สุดจนได้ชื่อว่า ดินแดนพระอาทิตย์ตกดินเป็นประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำและมั่งคั่งที่สุดด้วย
              
              การก่อตั้งจักรวรรดิอังกฤษเกิดขึ้นในช่วงกอนที่ประเทศอังกฤษจะรวมตัวกันเป็นรัฐเดี่ยวทางการเมือง เมื่ออังกฤษและสก็อตแลนด์ยังเป็นราชอาณาจักรที่แยกจากกัน
             
ราชินีนาถวิคตอเรีย

             ในบางกรณีอังกฤษในยุคจักรวรรดิศตวรรษที่ 19 นี้ ยังเรียกหรือได้ชื่อว่ายุค วิคตอเรียน(Victorian Age) ซึ่งในชื่อนี้ได้มาจากชื่อของพระราชินีนาถวิคตอเรีย (ครองราชย์ ค.. 1837-1901) ยอมรับกันอย่างกว้างๆ ว่าหลังจากสงครามนโปเลี่ยน 1815 เมื่อสิ้นสุดสงครามใหญ่นี้แล้วอังกฤษก็เริ่มหันมาสนใจเหตุการณ์ภายในหมู่เกาะของตนเอง และเริ่มสนใจสร้างจักรวรรดิที่แท้จริง
          
ภาพแสดงลำดับเหตุการณ์การรวมราชอาณาจักรเข้าด้วยกัน

             ราชอาณาจักรสก็อตแลนด์และราชอาณาจักรอังกฤษนั้นได้ก่อตัวขึ้นเป็นรัฐแยกกันตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 โดยแต่ละรัฐมีราชวงศ์และระบอบการปกครองของตัวเอง ส่วนรัฐเวลส์ตกมาอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษจากบทกฏหมายรุดดลันในปี 1384 และรวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรอังกฤษในปี 1535 ขณะที่ประเทศอังกฤษและ
สก็อตแลนด์ก็ได้รวมตัวกันเป็นสหภาพทางการเมืองในชื่อ ราชอาณาจักรบริเทนใหญ่
           
            พระราชบัญญัติสหภาพ ค.. 1800 ได้รวมราชอาณาจักรบริเทนใหญ่กับราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ซึ่งก่อนหน้านี้ค่อยๆ ตกเข้ามาอยู่ในการควบคุมของอังกฤษ เข้าเป็นสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์
        
ไอร์แลนด์เหนือ

           ต่อมาในปี 1922 แคว้นต่างๆ รวม 26 แคว้นจาก 32 แคว้นบนเกาะไอร์แลนด์ตัดสินใจที่จะเป็นอิสระ ไม่ขึ้นกับสหราชอาณาจักร และตั้งเป็นประเทศใหม่เป็นสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หลังจากนั้นอีก 7 ปี 6 แคว้นทีเหลือได้เข้ามารวมตัวกับสหราชอาณาจักรดังเดิม และตั้งชื่อแคว้นของตนเองเป็นไอร์แลนด์เหนือ
          
           กระนั้นในศตวรรษที่ 19 สหราชอาณาจักร (ในขณะนั้นคือสหราชอาณาจักรแห่งเกาะบริเทนใหญ่และไอร์แลนด์) เป็นประเทศผู้นำของโลกในหลายๆ ด้าน เช่น การพัฒนาระบอบทุนนิยมและประชาธิปไตยแบบรัฐสภารวมถึงการเผยแพร่ทางด้านศิลปะ วรรณกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สีแดงแสดงให้เห็นถึงอาณาจักใต้อาณานิคมของจักรวรรดิบริเทนใหญ่
      
          ในฐานะเจ้าแห่งจักรวรรดิแท้จริง ในช่วงก่อนสิ้นศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิบริเทนใหญ่สามารถครอบครองดินแดนถึงหนึ่งในสี่ของพื้นผิวโลกและมีประชากรโลกเป็นหนึ่งในสามของโลกในช่วงที่มีการขยายตัวสูงสุด ทำให้กลาย เป็นจักรวรรดิที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก ทั้งด้านดินแดนและประชากร

          

          สหราชอาณาจักรมีรูปแบบการปกครองรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบมีรัฐสภา โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจบริหารผ่านคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นหัวหน้าคณะรัฐบาล ซึ่งคณะรัฐมนตรีนั้นเลือกโดยรัฐสภา และมีหน้าที่รับผิดชอบต่อรัฐสภาเช่นเดียวกัน ทั้งนี้รัฐสภาแห่งสหราชอาณาจักรเป็ระบบสภาคู่แบ่งเป็นสองสภา คือ ขุนนาง เป็นสภาสูง จากการแต่งตั้ง และสภาสามัญชนเป็นสภาล่าง มาจากการเลือกตั้ง และผู้นของรัฐสภาคือพระมาหากษัตริย์ สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่ไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษรแต่กฏหมายส่วนใหญ่ของสหราชอาณาจักรนั้นปรากฏตัวอยู่ในรูปประเพณี

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

ราชอาณาจักรอิตาลี v2

ราชอาณาจักรอิตาลี

อิตาลีสมรภูมิในแอฟริกา
             
            ในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 1885 ก่อนหน้าการสิ้นอำนาจการปกครองของอียิปต์ในเมืองคาร์ทูมไม่นาน อิตาลีก็ได้ส่งทหารเข้ายึดเมืองมาสซาวา และต่อมาก็ได้ผนวกเมืองมาสซาวาโดยการบังคับในปี 1888 นับเป็นจุดกำเนิดของอาณานิคมเอรเทรียของอิตาลี
            
จักรพรรดิเมเนิลิกที่ 2 ผู้ยัดเยียดความปราชัยให้แก่อิตาลีและพันธมิตรอังกฤษ

             ในปี 1895 เอธิโอเปียภายใต้การปกครองของจักรพรรดิเมเนลิกที่ 2 ได้ล้มเลิกข้อตกลงในการดำเนินตามนโยบายการต่างประเทศของอิตาลี ซึ่งได้ลงนามไว้เมื่อปี 1889 อิตาลีจึงได้อาศัยเหตุการณ์ดังกล่าวยกเป็นเหตุในการยกทักเข้าสู่เอธิโอเปีย เอธิโอเปียได้รับความช่วยเหลือจากจักรวรรดิรุสเซียซึ่งมีผลประโยชน์อยู่ในทวีปแอฟริกา โดยรัฐบาลของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 ได้ส่งอาวุธสมัยใหม่จำนวนมากเข้าช่วยเหลือชาวเอธิโอเปียในสงครามอิตาลี-เอธิโอเปีย ครั้งที่ 1 ผลสะท้อนที่กลับมาคือสหราชอาณาจักรได้ตัดสินใจเข้าหนุนหลังฝ่ายอิตาลีเพื่อท้าทายอิทธิพลของรุสเซียในทวีปแอฟริกา ทั้งยังได้ประกาศว่าเอธิโอเปียทั้งหมดอยู่ในขอบเขตที่อิตาลีจะสามารถแสวงหาผลประโยชน์ได้

ทหารเอธิโปเปียภายใต้การสนับสนุนของรุสเซีย
          
             ในช่วงที่ใกล้จะเกิดสงครามนั้น ลัทธิชาตินิยมและทหารนิยมได้ทะยานสู่จุดสูงสุด ประชาชนชาวอิตาลีได้รวมตัวกันเข้าสมัครเป็นทหารกองทัพบกอิตาลีด้วยความหวังจะได้มีส่วนรวมในสงครามครั้งนี้

ภาพวาดเพื่อระลึกถึงยุทธการอัดวา(ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ที่ สมิธโซเนียน USA

             กองทัพอิตาลีประสบกับความล้มเหลวในสมรภูมิ และพ่ายแพ้อย่างยับเยินให้แก่กองทัพจำนวนมหาศาลของเอธิโอเปียยุทธการอัดวา อิตาลีจึงจำต้องถอนทัพกลับไปยังเอริเทรีย ความล้มเหลวในสงครามที่เอธิโอเปียทำให้อิตาลีต้องอับอายขายหน้าในระดับนานาประเทศ

ทหารราบขี่ม้าของอิตาลีระหว่างเกิดกบฏนักมวยในประเทศจีนเมื่อปี ค.ศ. 1900
       
            นับจากวันที่ 2 พฤศจิกายน 1899 ถึงวันที่ 7 กันยายน 1901 อิตาลีได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในกองทัพกำลังพันธมิตรแปดชาติระหว่างที่เหตุการณ์กบฏนักมวยในประเทศจีน ในวันที่ 7 กันยายน 1901 รัฐบาลของราชวงศ์ชิงได้ส่งมอบสัมปทานเขตเช่าที่เมืองเทียนเสินให้แก่อิตาลี ต่อมาในวันที่ 7 มิถุนายน 1902 สัมปทานดังกล่าวได้มีบังคับใช้ นำไปสู่การตั้งกงสุลอิตาลีเพื่อเข้าครอบครองและทำการบริหารจัดการ

ดินแดนตริโปลิเตเนีย ทั้ง 3 ปัจจุบันคือประเทศลิเบีย

           ในปี 1911 อิตาลีได้ประกาศสงครามกับจักรรวรรดิออตโตมันและเข้ารุกรานดินแดนตริโปลิเตเนีย เฟซซัน และไซเรไนกา ดินแดนทั้งสามจังหวัดนี้ได้รวมกันเป็นประเทศลิเบียในภายหลัง สงครามได้จบลงในอีกหนึ่งปีถัดมาแต่การเข้ายึดครองของอิตาลีได้ส่งผลให้เกิดการเลือกปฏิบัติต่อชาวลิเบีย เช่น การบังคับขับไล่ชาวลิเบียให้ออกจากหมู่เกาะทรีมิติ (Tremiti Islands) ในเดือนตุลาคม 1911 เป็นต้น ถึงปี 1912 ปรากฏว่า 1 ใน 3 ของผู้ลี้ภัยชาวลิเบียได้เสียชีวิตจากการขาดอาหารและที่อยู่อาศัย การผนวกดินแดนลิเบียได้ทำให้ฝ่ายชาตินิยมอิตาลีเรียกร้องให้อิตาลีเรียกร้องให้อิตาลีครอบครองทะเลเมดิเตอร์เรเนียนโดยการเข้ายึดครองราชอาณาจักรกรีซและภูมิภาคคัลเมเชียในชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
           
โจวันนี โจลิตตี นายกรัฐมนตรี 5 สมัยของอิตาลี ระหว่าง ค.ศ. 1892 - 1921

            ในปี 1892 โจวันนี โจลิตตี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีเป็นสมัยแรก แม้ว่าคณะรัฐบาลชุดแรกของเขาพังลงอย่างรวดเร็วในปีต่อมาแต่ในปี 1903 โจลิตตีก็กลับขึ้นมาเป็นผู้นำของรัฐบาลอิตาลีอีกครั้งในยุคแห่งความยุ่งเหยิงซึ่งจะดำเนินไปจนถึงปี 1914
โพยมยานของอิตาลี
           
            ในปี 1911 รัฐบาลของโจลิตตีได้ส่งกำลังทหารเข้าไปยึดครองลิเบีย ในขณะที่ความสำเร็จในสงครามลิเบียได้ยกสถานะของลัทธิชาตินิยมให้สูงขึ้นแต่นั่นก็ไม่ได้ช่วยเกิดความสำเร็จในการบริหารงานของรัฐบาลโจลิตตีแต่อย่างใดรัฐบาลได้พยายามขัดขวางการวิพากษ์วิจารณ์ด้วยการพูดถึงความสำเร็จและความสร้างสรรค์ของกองทัพอิตาลีในการสงครามว่า อิตาลีเป็นชาติแรกที่ได้มีการใช้โพยมยาน (เรือเหาะ) ในวัตถุประสงค์ทางการทหาร และได้ลงทำการทิ้งระเบิดทางอากาศใส่กองกำลังของจักรวรรดิออตโตมัน สงครามทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับรากฐานของพรรคสังคมนิยมอิตาลี 
เบนนิโต มุสโสลีนี
           
           กล่าวคือกลุ่มนักปฏิวัติต่อต้านสงครามในพรรค ซึ่งนำโดย เบนิโต มุสโสลีนี ผู้ซึ่งจะกลายเป็นเผด็จการฟาสซิสต์ในอนาคต ได้เรียกร้องให้มีการใช้กำลังโค่นล้มรัฐบาล หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยุติ โจลิตตีได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งหนึ่งในเวลาอันสั้น แต่เมื่อถึงตอนนั้น ยุคเสรีนิยมก็ได้จบลงไปโดยสิ้นเชิงแล้ว


        
          การเลือกตั้งทั่วไปในปี 1913 และปี 1919 แสดงให้เห็นว่าคะแนนเสียงการเลือกตั้งได้หันเหไปทางพรรคการเมืองกลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคาทอลิก และกลุ่มชาตินิยม เนื่องจากพรรคการเมืองสายเสรีนิยมและราดิคัล (radical) ได้อ่อนแอลงเพราะปัญหาความแตกร้าวภายในและต้องพบกับความพ่ายแพ้ในที่สุด----

วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

ราชอาณาจักรอิตาลี v.1

ราชอาณาจักรอิตาลี

ตราแผ่นดินราชอาณาจักรอิตาลี

            ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ราชอาณาจักรอิตาลี (Kingdom of Italy) เพิ่งจะก่อเกิดและรวมชาติกันใหม่อีกครั้งและโลกรู้จักกันในนามของราชอาณาจักรอิตาลี


ราชาอาณาจักรอิตาลีในปี 1861-1946

     
            ราชอาณาจักรอิตาลีได้มีการสถาปนาขึ้นในปี 1861 จากการรวมตัวกันของรัฐอิตาลีหลายๆ รัฐภายใต้การนำของราชอาณาจักรชาร์ดิเนีย และดำรงอยู่ตราบจนถึงปี 1946 เมื่อประชาชนชาวอิตาลีได้มีการลงประชามติให้มีการเปลี่ยนผ่านการปกครองจากระบบราชอาณาจักรไปสู่ความเป็นสาธารณรัฐ
     
            การรวมชาติของอิตาลีในระยะแรกอาจจะยังไม่สงบดีนัก แต่เมื่อมาถึงปี 1870 การเมืองในอิตาลีก็เริ่มนิ่งลงเมื่อพวกเสรีนิยมเข้ามามีอำนาจ
      
คามิลโล เบนโซ ดิ คาวัวร์, นายกรัฐมนตรีคนแรกแห่งราชอาณาจักรอิตาลีหลังการรวมชาติ
            ยุคเสรีนิยม (ค.. 1870-1914) หลังจากการรวมชาติ ทิศทางการเมืองของประเทศอิตาลีเป็นไปในวิถีทางของลัทธิเสรีนิยม  สิทธิในทางการเมืองถูกกระจายออกเป็นส่วนๆ และนายกรัฐมนตรีหัวอนุรักษนิยม มาร์โค มิเจตตี ก็ได้รักษาอำนาจในตำแหน่งของตนไว้ด้วยการออกนโยบายเชิงปฏิวัติและและเอียงซ้าย(เช่น การดึงเอากิจการรถไฟมาเป็นของชาติ) เพื่อเอาใจฝ่ายต่อต้านรัฐบาล ในปี 1876 มิเจตตีได้พ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและแทนที่ด้วยอากอสติโนเดพรสติส ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มสมัยแห่งเสรีนิยมอันยาวนาน ยุคแห่งเสรีนิยมนี้เป็นที่จดจำจากการฉ้อราษฏร์บังหลวง รัฐบาลที่ไร้เสถียรภาพ ภาวะความยากจนที่ยยังกำรงอยู่ในอิตาลีตอนใต้ และการใช้มาตรการแบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยรัฐบาลอิตาลี
    
พระเจ้าวิคเตอร์ เอ็มมานูเอลที่ 2 ปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรอิตาลีหลังการรวมชาติ
           เดเพรสติสเริ่มวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแห่งอิตาลีโดยการริเริ่มทดลองแนวคิดทางการเมืองที่เรียกว่า ทรานสฟอร์มิสโม(“Transformismo”แนวคิดปฏิรูปนิยม) หลักของแนวคิดนี้ก็คือ คณะรัฐมนตรีควรเบือกนักการเมืองเข้ามาบริหารประเทศ โดยต้องมีความหลากหลาย และนักการเมืองที่เลือกมาต้องเป็นที่มีความสามารถและความเหมาะสมจากผู้ที่มีทัศนะไม่เป็นกลุ่มหัวรุนแรง (non-partisan perspective) แต่ในทางปฏับติ แนวคิดทรานสฟอร์มิสโมเป็นแนวคิดที่ผูกขาดแบบเบ็ดเสร็จและมีปัญหาการคอรัปชั่น


จูเซปเป การีบัลดี ผู้นำทางการทหารคนสำคัญในการรวมชาติอิตาลี
    
            เดเพรสติสได้กดดันให้บรรดาอำเภอต่างๆ ลงคะแนนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้งของเขา เพื่อแลกกับการได้รับการผ่อนปรนอันเป็นที่น่าพอใจจากเดเพรสติสในขณะที่เขาอยู่ในอำนาจ ผลการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1876 ปรากฏว่ามีผู้สมัครเพียง 4 คนจากพรรคการเมืองฝ่ายขวาเท่านั้นที่ได้รับเลือกตั้ง อันเปิดการเปิดทางให้เดเพรสติสสามารถเข้าครอบงำรัฐบาลได้ เชื่อกันว่าการกดขี่และการฉ้อราษฏร์บังหลวงที่เกิดขึ้นในหลายคราวเป็นกุญแจสำคัญที่เดเพรสติสใช้จัดการเพื่อรักษาคะแนนเสียงสนับสนุนของเขาในอิตาลีตอนใต้ เดเพรสติสได้ใช้มาตรการเผด็จการเบ็ดเสร็จต่างๆ ในการบริหารบ้านเมือง เช่นห้ามการชุมนุมในที่สาธารณะ การส่งตัวบุคคลที่เป็น อันตรายไปเนรเทศในเกาะที่ห่างไกลของอิตาลี และการออกนโยบายแบบทหารนิยม (militarist policies) เขายังได้ผ่านกฏหมายซึ่งนำมาสู่ความขัดแย้งในหลายคราว เช่นการยกเลิกการจำคุกเพื่อใช้หนี้ การให้การศึกษาขั้นประถมศึกษาแบบให้เปล่า และการบังคับให้เลิกการสอนวิชาศาสนาในโรงเรียนประถมศึกษา


ฟรานเชสโก คริสปี ผู้ส้งเสริมให้อิตาลีล่าอาณานิคม
     
           ในปี 1887 ฟรันเชสโก คริสปี ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เขาได้เริ่มให้ความสำคัญกับนโยบายต่างประเทศ เขาได้พยายามที่จะทำให้อิตาลีได้เป็นหนึ่งในชาติมหาอำนาจของโลกด้วยการเพิ่มงบประมาณทางการทหารสนับสนุสให้อิตาลีมีการขยายอาณาเขต และพยายามเอาใจจักรวรรดิเยอรมนีอิตาลีได้เข้าร่วมกลุ่มไตรพันธมิตรทีมีทั้งจักรวรรดิเยอรมนีและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีเป็นสมาชิกอยู่ด้วยในปี 1882 และมีความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการจนถึงปี 1915
     
กลุ่มไตรพันธมิตรในปี ค.ศ. 1913 แสดงด้วยพื้นที่สีแดง
     
          ในขณะที่คริสปีได้ช่วยพัฒนาอิตาลีในเชิงยุทธศาสตร์ เขาก็ยังคงบริหารบ้านเมืองตามแนวทางทรานสฟอร์มิสโมต่อไปด้วยความเบ็ดเสร็จเด็ดขาดดังปรากฏว่าครั้งหนึ่งเขาคิดจะใช้กฏอัยการศึกในปิดกั้นพรรคการเมืองฝ่ายตรงข้าม แต่ถึงแม้เขาจะเป็นเผด็จการโดยการใช้อำนาจรัฐก็ตาม คริสปีก็ยังได้ออกนโยบายในเชิงเสรีนิยมออกมาบ้างเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น การตราพระราชบัญญัติการสาธารณสุขในปี 1888 หรือการก่อตั้งองค์คณะศาลเพื่อพิจารณาชดเชยสำหรับการใช้อำนาจโดยมิชอบจากรัฐบาล เป็นต้น
     
           สังคมของชาวอิตาลีหลังจากการรวมชาติและตลอดช่วงเวลาส่วนใหญ่ของยุคเสรีนิยม เป็นไปในลักษณะของสังคมที่แบ่งแยกอย่างเด่นชัดทั้งในเรื่องของชนชั้น ภาษา ภูมิภาค และระดับทางสังคม
    
          โดยทั่วไปลักษณะทางวัฒนธรรมของอิตาลีในเวลานั้นเป็นสังคมแบบอนุรักษนิยมโดยธรรมชาติ เช่น การเชื่อมั่นในคุณค่าของครอบครัวอย่างแรงกล้าหรือและค่านิยมของการนับถือบิดาเป็นใหญ่ในครอบครัว
    
           ในการรวมชาติอิตาลีขึ้นมานั้น ราชอาณาจักรแห่งใหม่นี้ก็พบเจอกับปัญหาเศรษฐกิจที่รุนแรงและแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ตลอดจนไปถึงปัญหาทางการเมือง สังคม และการแบ่งแยกชนชาติและชนขั้น ในช่วงยุคสมัยใหม่ของอิตาลีนี้สภาพทางเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของประเทศขึ้นอยู่กับการค้าขายจากต่างประเทศ และการส่งออกถ่านหิน
     
           และจากการรวมชาตินี้เอง ทำให้อิตาลีกลายเป็นประเทศที่มีอัตราการทำงานของประชาชนในภาคเกษตรกรรมมากที่สุดในแถบยุโรปถึง 60% ของประชากร และกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของประเทศ ส่วนศาสนาจักรเองก็มีทรัพย์สินจำนวนมากมายจากการบริจาคในประเทศ และยังมีการแข่งขันทางการค้ากับต่างประเทศที่รุนแรงอีกด้วย ทำให้ช่องทางและโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและการส่งออกของประเทศในภาคเกษตรกรรมเป็นไปอย่างรวดเร็วหลังจากการรวมชาติขึ้นมาได้ไม่นาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจนี้ไม่ได้เป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งหมดในช่วงระยะเวลานี้ ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมทางใต้ของอิตาลีต้องเผชิญกับอากาศที่ร้อนในช่วงฤดูร้อน,ความแห้งแล้ง,และไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตทางเกษตรได้ ซ้ำยังต้องเผชิญกับการระบาดของไข้มาลาเรียในพื้นที่เสื่อมโทรมตลอดทั้งชายฝั่งทะเลเอเดรียติก
      
             เมื่อเกิดรัฐชาติที่ชัดเจนแล้ว อิตาลีก็มีแนวความคิดเรื่องการล่าอาณานิคมไม่ต่างจากชาติอื่นๆ ในยุโรป โครงการสร้างอาณานิคมจำนวนมากได้ผ่านการรับรองจากรัฐบาลอิตาลี เพื่อแสวงหาการสนับสนุนจากกลุ่มชาตินิยมและจักรวรรดินิยมชาวอิตาลี

          
เมืองมาสซาวา หรือประเทศเอริเทรียในปัจจุบัน
              
             ชาวอิตาลีมีความคิดในเรื่องการจะสร้างจักรวรรดิโรมันขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในเวลานั้นอิตาลีได้มีเขตที่ชาวอิตาลีได้ตั้งถิ่นฐานขนาดใหญ่อยู่ที่เมืองอเล็กซานเดรีย ไคโร และตูนิสบนทวีปแอฟริกาเหนืออยู่แล้ว ประเทศอิตาลีได้พยายามแสวงหาอาณานิคมครั้งแรกผ่านการเจรจากับชาติมหาอำนาจอื่นๆ เพื่อขอสัมปทานดินแดนส่วนใดส่วนหนึ่งเป็นอาณานิคมของอิตาลี ซึ่งการเจรจาดังกล่าวปรากฏว่าล้มเหลว นอกจากนั้น อิตาลียังได้ส่งมิชชันนารีไปยังดินแดนที่ยังไม่ได้ตกเป็นอาณานิคมเพื่อสืบหาช่องทางที่จะยืดครองเป็นอาณานิคมของอิตาลี พื้นที่ที่อิตาลีมีความเป็นไปได้ที่จะสร้างอาณานิคมของตนขึ้นได้จริงมากที่สุดก็คือทวีปแอฟริกา มิชชันนารีของอิตาลีได้เริ่มบุกเบิกการเผยแผร่ศาสนาที่เมืองมาสซาวา (ปัจจุบันอยู่ในประเทศเอริเทรีย) และเริ่มเดินทางลึกเข้าไปในจักรวรรดิเอธิโอเปียในช่วงทศวรรษที่ 1830


To be continue...

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

จักรวรรดิออตโตมัน

จักรวรรดิออตโตมัน

ตราแผ่นดินจักรวรรดิออตโตมัน

โบสถ์ฮาเกีย โซเฟีย
       
             จักรวรรดิออตโตมัน(Ottoman Empire) ถือกำเนิดขึ้นในปี 1453 หลังการล่มสลายของจักรวรรดิไบเซนไทม์ มีสุลต่านเมห์เมตที่ 2 เป็นผู้นำ มีคอสแตนติโนเปิล(อิสตันบลู) เป็นเมืองหลวง ในตอนแรกที่ยึดคอนสแตนติโนเปิลได้ พระองค์ได้ทรงเปลี่ยนชื่อเมืองคอนสแตนติโนเปิลใหม่เป็น อิสตันบลูและเปลี่ยนโบสถ์ฮาเกีย โซเฟีย ที่เป็นโบสถ์ในศาสนาคริสต์ เป็นมัสยิสต์ในอิสลาม


              
               อาณาจักรออตโตมันมีอาณาเขตที่ครอบคลุมถึง 3 ทวีป ได้แก่ ยุโรป เอเชีย และแอฟริกา ซึ่งขยายไปไกลสุดถึงช่องแคบยิบรอลตาร์ทางตะวันตกนครเวียนนาทางทิศเหนือ ทะเลดำทางทิศตะวันออก และอียิปต์ทางทิศใต้
       
อาณาจักรออตโตมันระหว่างปี 1453-1566
              จักรวรรดิออตโตมันได้เจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยสุลต่านสุไลมานครองราชย์ระหว่างปี 1520-1566 ในรัชสมัยของพระองค์ถือเป็นยุคทองของจักรวรรดิ อาณาเขตได้แผ่ขยายออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทิศตะวันตกจรดดินแดนออสเตรีย

ภาพเหมือนของพระองค์ใน ค.ศ.1530
รูปนูนต่ำของสุลต่านสุลัยมานภายในที่ทำการของสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรูปผู้มีความสำคัญในด้านการกฎหมายยี่สิบสามรูป

              ทิศตะวันตกออกจรดคาบสมุทรอาระเบีย ทิศเหนือจรดคาบสมุทรไครเมียทิศใต้จรดซูดานในแอฟริกาเหนือ ชาวตะวันตกได้ขนานพระนามของพระองค์ว่า สุไลมาน สุไลมาน ผู้ยิ่งใหญ่สำหรับชาวตรุกีพระองค์ได้รับสมัญญานามว่า สุไลมาน ผู้พระราชทานกฏหมายเนื่องจากพระองค์ทรงมีบทบาทสำคัญในการปฏิรูประบบกฏหมาย สุลต่านสุไลมานสิ้นพระชนม์ในระหว่างทำสงครามที่ฮังการีในปี 1566 สิริรวมพระชนมายุอายุได้ 74 พรรษา ทรงครองราชย์ยาวนานถึง 46 ปี อดีตอันยิ่งใหญ่ของจักรวรรดิออตโตมันโดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยสุลต่านสุไลมานเป็น 1 ใน 3 สิ่งที่ชาวครุกีภาคภูมิใจเป็นอย่างมากเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติตน

สุลต่านเบยาชิตที่ 1 
      
             สิ้นรัชกาลสุลต่านสุไลมาน จักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่ยุคเสื่อม ซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึง 300ปี ก่อนที่จะล้มสลายอย่างสิ้นเชิงภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่ความเสื่อมอำนาจของจักรวรรดิมาจากปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญได้แก่ การไร้ความสามารถของสุลต่าน 17 พระองค์ที่ทรงครองราชย์ต่อจากสุลต่านสุไลมานในระหว่างปี 1566-1789 การแย่งชิงอำนาจในราชสำนักก็เป็นปัจจัยอันหนึ่งที่นำไปสู่การเสื่อมถอยของจักรวรรดิออตโตมัน สมัยสุลต่านเบยาชิต ที่ 1 (ครองราชย์ระหว่างปี 1389-1402) โปรดให้จัดการปลงพระชนม์พระอนุชาของพระองค์เอง ทันที่ที่ทรงทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระบิดา เพื่อตัดปัญหาการแย่งชิงราชสมบัติ การกระทำดังกล่าวได้กลายเป็นประเพณีปฏิบัติสืบมาจนถึงรัชสมัยของสุลต่านเมห์เมตที่ 1 ซึ่งขึ้นครองราชย์ในปี 1605 ทรงโปรดให้เปลี่ยน การสำเร็จโทษ มาเป็นกักบริเวณ แทนการกักบริเวณดังกล่าวมีผลอย่างมากต่อสุขภาพจิตเจ้าชายรัชทายาท ซึ่งได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชย์ในภายหลัง สุลต่านหลายพระองค์ทรงมีสุขภาพจิตที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากถูกกักบริเวณมาเป็นเวลานานบางพระองค์ถูกกักบริเวณนานกว่า 20 ปี
       
            ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา พระราชอำนาจของสุลต่านได้ลดลงเป็นอย่างมากในขณะที่อำนาจของขุนนางภายใต้การนำของอัครมหาเสนาบดีมีมากขึ้น ในยุคนี้การฉ้อราษฏร์บังหลวงการเล่นพรรคเล่นพวกเกิดขึ้นอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศอ่อนแอ ในทางเศรษฐกิจ จักรวรรดิก็ประสบปัญหาอย่างมากเช่นกัน
     
            ในขณะที่ยุโรปประสบความสำเร็จในการปฏิวัตรอุตสาหกรรม มีความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จักรวรรดิออคโตมันกลับอ่อนแอลงตามลำดับ อย่างไรก็ดี จักรวรรดิก็สามารถประคับประคองตนเองให้อยู่รอดมาได้นานนับร้อยปี เนื่องจากชาติมหาอำนาจในยุโรปไม่ทราบถึงความอ่อนแอภายในจักรวรรดิออตโตมัน
     
             อย่างไรก็ดีในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ชาติมหาอำนาจยุโรปเริ่มตระหนักถึงความอ่อนแอของจักรวรรดิออตโตมันมากขึ้น และเริ่มตั้งคำถามว่า ควรจะดำเนินการอย่างไรกับดินแดนภายใต้การปกครองของจักรวรรดิออตโตมันหากจักรวรรดิออตโตมันมีอันต้องล่มสลาย โดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อดุลอำนาจในยุโรป
ภาพวาดสงครามไครเมียปี 1854-1856

ภาพทหารในสงครามไครเมีย

            ในศตวรรษที่ 19 จักรวรรดิออตโตมันได้รับฉายาว่า เป็นคนป่วยแห่งยุโรปฉายาดังกล่าว พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 แห่งรัสเซีย เป็นผู้ตั้งในเชิงดูหมิ่นเหยียดหยามออตโตมัน ที่ได้เข้าร่วมสงครามไครเมีย (Crimea War) กับอังกฤษและฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านรัสเซีย ในปี 1854
สุลต่านองค์สุดท้าย สุลต่านเมห์เมตที่ 6 
      
           อาณาจักรออตโตมันสิ้นสุดลงในปี 1923 มีสุลต่านเมห์เมตที่ 6 เป็นสุลต่านองค์สุดท้าย 

สุลต่านฟา เคมาล อตาเติร์ก ประธานาธิบดีคนแรกของตุรกี

        และมีสาธารณรัฐตรุกี ขึ้นมาแทนที่ ละมีสุลต่านฟา เคมาล อตาเติร์ก เป็นประธานาธิบดีคนแรก

วันพฤหัสบดีที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2557

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

                                                               ตราแผ่นดินออสเตรีย-ฮังการี
                                              

        จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี รู้จักกันในนาม ออสเตรีย-ฮังการี เป็นจักริวรรดิที่มีระบอบการปกครองแบบควบคู่ (Dual Monarchy) เจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ปี 1867 จนถึงปี 1918 กล่าวคือจักวรรดินี้ถูกล้มล้างลงหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
        
         ชื่ออย่างเป็นทางการของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีคือ The Kingdoms and Lands Represented in the Imperial Council and the Lands of the Holy Hungarian Crown of St. Stephen, ซึ่งรวมๆ แล้วหมายถึง อาณาจักรอันศักดิ์สิทธิ์ภายใต้สภาอิมพีเรียลและมงกุฏฮังการีอันศักดิ์สิทธิ์แห่งเซนต์สตีเฟน


                                                             ผังแสดงราชวงศ์ฮัมบูร์ก  
        
        จักรวรรดินี้ได้สืบทอดมาจากจักรวรรดิออสเตรีย (ค.. 1804-1867) โดยมีอาณาเขตพื้นที่เดียวกัน โดยมีต้นกำเนิดจากการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี เมื่อปี 1857 (พ.. 2410) กล่าวคือทั้งสองประเทศนี้ถูกปกครองโดยราชวงศ์ฮับส์บูร์กมาอย่างยาวนาน ดังนั้นจึงมีการเจรจาให้มีการรวมอาณาจักรเป็นจักรวรรดิหนึ่งเดียว ซึ่งจักรวรรดินี้เป็นอาณาจักรทีมีหลากหลายเชื้อชาติและมีความเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด ทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจและอุตสาหกรรม


พระราชวงศ์อิมพีเรียลออสเตรีย-ฮังการีในปัจจุบัน; ด้านหน้าสุด: ออตโต ฟอน ฮับส์บูร์ก และเจ้าหญิงเรจิน่าแห่งแซ็กซ์-ไมนินเจน, 
แถวที่ 2 (นับจากซ้าย) : มกุฎราชกุมารีฟรานเซสก้า, มกุฎราชกุมารคาร์ล, อาร์คดัชเชสแอนเดรีย, อาร์ชดยุกจอร์ช, อาร์คดัชเชสอีไลก้า, 
แถวที่ 3 (นับจากซ้าย) : อาร์คดัชเชสโมนิก้า พร้อมด้วยพระสวามี (ซ้าย) , อาร์คดัชเชสกาเบรียลล่า, อาร์คดัชเชสไมเคิลล่า พร้อมด้วยพระสวามี (ขวา) , 
แถวหลังสุด: อาร์คดัชเชสวาร์ลบูก้า พร้อมด้วยพระสวามี (ซ้าย)
     
       ราชวงศ์ฮับบูร์กนั้นได้ปกครองประเทศในฐานะสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งออสเตรีย (Emperor of Austria) และอาณาจักรฮังการีในฐานะสมเด็จพระราชาธิบดีแห่งฮังการี (Apostolic King of Hungary) ผู้ทรงเปรียบเสมือนเบื้องขวาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า นอกจากนั้นยังได้ปกครองทั่วทั้งทางตะวันตกและทางเหนือ รวมทั้งครึ่งหนึ่งของทวีปยุโรปเลยทีเดียว โดยทุกประเทศที่อยู่ภายใต้จักรวรรดินี้ มีรัฐบาลเป็นของตนเอง มิได้มีรัฐบาลและศูนย์กลางทางการเมืองหรือรัฐบาลที่ประเทศเดียว

                                      
                                                            แผนที่จักรรวรรดิออสเตรีย-ฮังการ


             
         เมืองหลวงของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีนั้นมี มีอยู่ 2 เมืองด้วยกันคือกรุงเวียนนา ที่ประเทศออสเตรีย และกรุงบูดาเปสต์ที่ประเทศฮังการี ในยามนั้นจักรวรรดิแห่งนี้มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากจักรวรรดิรัสเซีย และเป็นอาณาจักรทีมีประชากรหนาแน่นเป็นอันดับ  3 รองจากจักรวรรดิรัสเซียและจักรวรรดิเยอรมนี ซึ่งปัจจุบันนี้ พื้นที่ที่เคยเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดินั้นมีประชากรรวมทั้งหมดถึง 73 ล้านคน
           
            ออสเตรียและฮังการีต่างมีรัฐสภาเป็นของตนเอง และมีนายกรัฐมนตรีเป็นของตนเอง แต่รัฐสภาทั้งหมดอยู่ภายใต้อำนาจของสมเด็จพระจักรพรรดิหรือสมเด็จพระราชาธิบดีแต่พียงพระองค์เดียว ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จและสภาของสำนักอิมพีเรียลนั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับกองทัพราชนาวี การต่างประเทศและสหภาพต่างในจักรวรรดิ เป็นต้น 

สมเด็จพระจักรพรรดิและพระราชาธิบดีพระองค์แรกในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

พระนามเต็ม: ฟรานซ์ โจเซฟ คาร์ล
           สภาคณะรัฐมนตรีของจักรวรรดิเป็นตัวควบคุมรัฐสภาทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วย 3 รัฐมนตรีที่มีส่วนร่วมในการควบคุมด้วย คือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผู้ส่วนร่วมอื่นๆ อีก เช่นอาร์คดยุคและอาร์คดัชเชส รวมทั้งพระราชวงศ์อิมพีเรียลบางพระองค์อีกด้วย โดยคณะผู้แทนจากออสเตรีย 1 คน และจากฮังการีอีก 1 คนจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายของสภาสามัญของคณะรัฐมนตรีหรือจัดการทรัพย์สินแผ่นดิน โดยให้ 2 รัฐบาลเป็นตัวกำหนดและควบคุมการบริหารและการจัดการทรัพย์สินแผ่นดินอย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนสุดท้ายของการประชุมทุกครั้ง คณะรัฐมนตรีจะต้องยื่นถวายฏีกาต่อสมเด็จพระจักรพรรดิ ซึ่งพระองค์ทรงเป็นผู้ตัดสินความทั้งหมด

ธนบัตร 20 โครนที่ใช้กันในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี

          หน้าที่รับผิดชอบระหว่างคณะรัฐมนตรีฝ่ายหนึ่งกับคณะรัฐมนตรีอีกฝ่ายหนึ่ง ได้สร้างความไม่ลงรอยกันและไร้ประสิทธิภาพใรการบริหารงาน บริหารกองทัพบอกนั้นได้อยู่ในภาวะลำบาก เป็นกองทัพที่ไร้ประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่ารัฐสภากลางได้กำหนดทิศทางการบริหารงานของกองทัพบก และกระทรวงกลาโหมแล้ว แต่รัฐบาลออสเตรียและรัฐบาลฮังการีจะมีกำหนดกฏหมายบังคับ การเกณฑ์ทหาร การจัดหาและการย้ายทหารไปออกรบ และกฏหมายบังคับเฉพาะเมือง ที่ไม่ใช่ทหารเกณฑ์แต่เป็นสมาชิกของกองทัพบกโดยบางส่วนให้กระแสว่า แต่รัฐบาลควรจะเข้มแข็ง ควรเข้มงวดต่อการบริหารตัวเองมากกว่านี้ แทนที่จะมาไปใส่ใจรับผิดชอบรัฐสถาสามัญ

สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 1จักรพรรดิแห่งออสเตรียองค์สุดท้าย
การประกาศยุบจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีถูกตีพิมพ์และแจกจ่ายเมื่อ พ.ศ. 2461 ในคราโคว์ (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของโปแลนด์)
  
         ความสัมพันธ์ทางการเมืองในครึ่งศตวรรษแรก หลังปี 1867 นั้นมีการขัดแย้งในเรื่องของการจัดการพิกัดอัตราภาษีศุลากากรหรือค่าธรรมเนียมภายนอก และการจัดการทางการเงินคณะรัฐบาล ภายใต้ข้อกำนหนดของการเจรจาต่อรองระหว่างออสเตรียและฮังการี รวมไปถึงข้อตกลงที่มีการเจรจาทุกๆ 10 ปี โดยกำหนดสิ่งที่ต้องทำในคณะรัฐบาลต่างๆ โดยมีการออมเงินเพื่อให้ความสับสนอลหม่านทางการเมืองได้คืนสู่สภาพกลับมาเป็นเหมือนเดิม การได้โต้เถียงระหว่างรัฐบาลในจักรวรรดิในช่วงปี 1900 ซึ่งทำให้ยืดระยะเวลาวิกฤติการเมืองการปกครองไปอีก ซึ่งมีความขัดแย้งกันในรัฐบาลรวมทั้งหน่วยรบและกองทัพของฮังการีเป็นตัวนำ ซึ่งเป็นการเพิ่มขยายอำนาจทางทหารของฮังการี เมื่อเดือนเมษายน 1906 โดยมีนักชาตินิยมฮังการีมีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม การกลับสู่สภาวะปกติในจักวรรดิก็เป็นได้แค่เพียงชั่วคราว แต่ก็ได้จัดการให้กลับสู่ภาวะปกติเมื่อเดือนตุลาคม 1907 และในเดือนพฤศจิการยน 1917 ได้วางรากฐานใหม่สถานะใหม่ของจักรวรรดิใหม่แต่ด้วยเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น จักรวรรดิก็นำไปสู่อวสาน