วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

วิกฤตการเมืองและสงครามก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ตอน สงครามออตโตมัน กับ อิตาลี 1911

สงครามออตโตมันกับอิตาลี ค.. 1911
    
อันวาร์ ปาชา ผู้นำตุรกีเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี 1914
     อาณาจักรหรือจักรวรรดิออตโตมัน ที่กำลังกลายเป็นคนป่วยแห่งยุโรในเวลานั้นดูเหมือนจะป่วยหนักขึ้นเพราะภายในอาณาจักรของตนเองต้องผจญภัยกับการแก้ปัญหาการลุกขึ้นมาปฏิวัติของกลุ่มเติร์กหนุ่ม** ครั้นมาถึงเดือนกันยายน 1911 อิตาลีก็ได้ส่งทหารเข้ายึดทริโปลีและซีเรไนกาและประกาศตั้งตัวเองเป็นประเทศอารักขารัฐทั้งสอง
ปืนใหญ่อิตาลีใกล้กรุงทริโปลี 1911
    
      รัฐบาลเติร์กหนุ่มของตุรกีในเวลานั้นซึ่งถือว่าดินแดนทั้งสองแห่งเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิตนเองก็ได้ลุกมาประกาศสงครามกับอิตาลี พร้อมกับส่งกองทัพออกไปทำสงครามในดินแดนที่กล่าวมาทันที


      การต่อสู้ดำเนินไปด้วยกำลังทัพของตุรกีที่มีอยู่น้อยนิดไม่อาจเปรียบกับอิตาลีได้เลย เพียงปีเดียวสงครามก็สงบลง มีการลงนามในสนธิสัญญาโลซานน์ในเดือนตุลาคม 1912 โดยยอมให้อิตาลีได้ดินแดนทั้งสอง แห่งอีกทั้งอิตาลียังได้อารักขาหมู่เกาะโดเดกานิสเป็นของแถมอีกด้วย
    
คณะผู้แทนตุรกีและอิตาลีที่เมืองโลซานน์
      เรียกว่านอกจากจะพ่ายแพ้แล้ว ตุรกียังต้องบอบช้ำซ้ำเติมอีกต่างหากในห้วงเวลานั้นเกิดการอภิปรายกันขนานใหญ่ในยุโรป ทั้งนี้เพราะรับรู้กันเสมอว่าตุรกีนั้นมีความสัมพันธ์อันดียิ่งกับเยอรมนี แม้อิตาลีก็จะเป็นหนึ่งในกลุ่มสัมพันธไมตรีไตรมิตรด้วยแต่อิตาลีก็ไม่ได้แสดงออกหรือสนใจจงรักภักดีอะไรมากนัก อีกทั้งการที่อิตาลีบุกตุรกีขณะที่เยอรมนียังพยายามผูกสัมพันธ์กับตุรกีก็ยิ่งดูไม่เหมาะสม แต่มันก็เกิดขึ้นมาแล้วและเกิดขึ้นมาจนได้ทำให้เกิดรอยร้าวไปทั่วยุโรปแล้ว---

  **เติร์กหนุ่มคืออะไร ในช่วง ค.. 1876 กลุ่มปัญญาชนในอาณาจักรออตโตมัน ซึ่งเรียกตนว่า เติร์กหนุ่ม (Young Tuks)
การปฏิวัติในอาณาจักรออตโตมันโดยกลุ่มเติร์กหนุ่ม
ได้ลุกขึ้นมาเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมือง และได้บีบให้สุลต่านดุลฮามิดที่
2 พระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก เปลี่ยนแปลงการปกครองอาณาจักรออตโตมันมาเป็นระบบรัฐสภาโดยมีสุลต่านเป็นประมุขครั้งแรก รัฐธรรมนูญดังกล่าว ส่งผลให้ในปี 1908 กลุ่มเติร์กหนุ่มได้ก่อการปฏิวัติบีบบังคับให้สุลต่านอับดุลฮามิดที่ 2 ประกาศใช้รัฐธรรมนูญอีกครั้ง 

       ต่อมาสุลต่านพระองค์นี้ได้ถูกปลดออกจากพระราชอำนาจสุลต่านเมห์เมตที่ 5
ซึ่งขึ้นครองราชย์ต่อมาไม่มีพระราชอำนาจทรงเป็นเพียงหุ่นเชิดของกลุ่มเติร์กหนุ่มเท่านั้น อันวาร์ ปาชา ผู้นำเติร์กหนุ่มได้รวบรวมอำนาจปกครองประเทศไว้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด และในปี 1914 ได้นำประเทศเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับ ฝ่ายเยอรมนี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น