วันพุธที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคสัญญาพันธไมตรี v.5

พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ II แห่งเยอรมนี
   

      …ต่อ เรื่องราวการลงนามในสัญญาต่างๆ ในช่วงเวลานี้ของชาวยุโรปยังมีมากมายและสับสนกันอยู่ไม่น้อย กล่าวคือในระหว่างการลงนามที่กล่าวไปแล้วนั้นปรากฏว่ายังมีการลงนามในสัญญาอื่นๆ อีก อาทิ สนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ แม้ว่าในช่วงเวลานั้นจะเกิดสนธิสัญญาไตรมิตรขึ้นมาแล้วก็ตามทีกระนั้นเยอรมนีกับรุสเซียก็ยังลงนามในสัญญาฉบับนี้ อาจนับเป็นสัญญาลับหลังออสเตรียก็ว่าได้ กล่าวคือ ด้วยความที่เยอมนีกลัวว่าตัวเองจะมีปัญหากับฝรั่งเศสอย่างมากและระแวงที่สุดว่ารุสเซียอาจจะร่วมกันกับฝรั่งเศสได้ในที่สุดดังนั้นจึงจำต้องกันรุสเซียให้อยู่ห่างเอาไว้ก่อน จึงได้แอบทำสัญญากับรุสเซียฉบับนี้ขึ้นมา โดยมีเงื่อนไขว่า รุสเซียสัญญาจะไม่ร่วมกับฝรั่งเศสหากว่าฝรั่งเศสรุกรานเยอรมนี และเพื่อเป็นการตอบแทนเยอรมนีก็สัญญาว่าจะสนับสนุนผลประโยชน์ของรุสเซียทางแหลมบอลข่าน ทั้งที่แท้จริงแล้วในสนธิสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิก็มีค้ำอยู่ก่อนแล้ว

ออสโต ฟอน บิสมาร์ค
      

      สนธิสัญญาอินชัวรันส์ มีอายุ 3 ปี หมดอายุลงในปี 1890 ทั้งเยอรมนีและรุสเซียอยากต่ออายุแต่ปรากฏว่ามีบิสมาร์คผู้มีความสำคัญในการทำสัญญานี้ถูกพระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 จักรพรรดิพระองค์ใหม่ของเยอรมนีบังคับให้จำต้องลงจากตำแหน่งเสียก่อน และพระเจ้าไกเซอรที่ วิลเฮล์มที่ 2 ก็รวบอำนาจในการบริหารบ้านเมืองมาอยู่ที่พระองค์แต่เพียงผู้เดียว พระองค์เห็นว่าเยอรมนีก็มีผลประโยชน์อยู่ในคาบสมุทรบอลข่านด้วยเช่นกันดังนั้นจึงควรจะร่วมมือกับออสเตรียในการรักษาผลประโยชน์ในคาบสมุทรบอลข่านเอาไว้ดีกว่า ดังนั้นเมื่อรุสเซียเสนอต่ออายุสนธิสัญญาอินชัวรันส์ กษัตริย์แห่งเยอรมันจึงตอบปฏิเสธไป
ธงสัญลักษณ์แสดงถึงความร่วมมือกันทั้ง 2 ฝ่ายระหว่าง ฝรั่งเศส และ รุสเซีย

    
      เมื่อไม่ได้มีสัญญาลับกับเยอรมนีแล้ว ในปี 1891 รุสเซียจึงหันไปทำสัญญากับฝรั่งเศสขึ้นมาฉบับหนึ่ง เรียกสัญญาฉบับนี้ว่า สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส-รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1891
ภาพความเสียหายของกรุงปารีสบริเวณประตูชัยของฝรั่งเศสหลังความพ่ายแพ้ต่อ ปรัสเซีย ในปี 1871

   
      จุดนี้ต้องย้อนกลับไปดูที่ฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง หลังจากที่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ต่อประเทศปรัสเซียในปี 1871 แล้ว ฝรั่งเศสก็กลายเป็นประเทศยิ่งใหญ่ที่โดดเดี่ยวและบาดเจ็บ ต้องอยู่ตามลำพังและหาเพื่อนไม่ได้ ทั้งนี้เพราะบิสมาร์คใช้ทุกวิธีทางในการกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้สามารถจับมือกับใครได้ กระทั่งถึงวันที่รุสเซียเกิดความโกรธอย่างมากต่อเยอรมนีที่ไม่ยอมต่อสัญญาอินชัวรันส์ ผนวกกับที่รุสเซียก็ยังต้องการเงินจำนวนมากเพื่อมาใช้จ่ายในการพัฒนาบ้านเมืองและฝรั่งเศสยินดีให้กู้ยืมมาก่อนหน้านับแต่ปี 1888 เป็นต้นมาแล้ว
Pont Alexandre III  ในกรุงปารีสและTrinity Bridge ในเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กสองสัญลักษณ์พันธมิตรระหว่าง ฝรั่งเศส รุสเซีย
   

      ลักษณะความสัมพันธ์แบบช่วยเหลือฐานะเจ้าหนี้กับลูกหนี้ระหว่างฝรั่งเศสกับรุสเซียส่งผลให้มิตรภาพทางการฑูตระหว่างสองประเทศเกิดขึ้นมาโดยดี ดังนั้นจึงเกิดการทำสัญญากันขึ้นมาในปี 1891 โดยมีข้อตกลงหลักว่าทั้งสองประเทศจะร่วมกันในการรักษาสันติภาพให้เกิดขึ้นในยุโรป
     
      ต่อมาในปี 1894 ก็ได้ขยายข้อตกลงโดยกำนหดให้อนุสัญญาลับทางทหารระหว่างสองประเทศขึ้น ซึ่งนับได้ว่าเป็นอนุสัญญาป้องกันช่วยเหลือโดยมีเงื่อนไขอย่างย่อๆ ว่า ในกรณีที่ฝรั่งเศสถูกอิตาลีซึ่งมีเยอรมนีหนุนหลังอยู่เข้าโจมตี รุสเซียจะต้องใช้กำลังทั้งหมดที่มีอยู่เข้าโจมตีเยอรมนีและในกรณีที่รุสเซียถูกเยอรมนีหรืออสเตรียที่มีเยอรมนีหนุนหลังอยู่โจมตี ฝรั่งเศสก็จะต้อง ช่วยรุสเซียโดยการเข้าโจมตีเยอรมนี และมีการกำนหดกำลังทัพควรทีไว้ดังนี้ฝรั่งเศสควรมีกำลังทัพ 1,300,000 นาย ขณะที่รุสเซียควรมี 700,000 ถึง 800,000 นาย

ภาพวาดแสดงถึงความร่วมมือกันระหว่างฝรั่งเศสและรัสเซีย (The Blue croos flag) ธงนาวาของรุสเซีย
   
      ดังนั้นสิ่งที่บิสมาร์คกลัวมากที่สุด คือ กลัวว่าฝรั่งเศสจะมีพันธมิตรก็เกิดขึ้นมาจริงในที่สุด เกิดขึ้นหลังจากที่เขาต้องลาออกจากตำแหน่งไป 4 ปี เท่านั้นกล่าวกันว่ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่เขาอยู่ในอำนาจเขาต้องทำงานหนักทุกอย่างเพื่อไม่ให้ฝรั่งเศสสามารถกลับมามีอำนาจในยุโรปได้อีก แต่เพียงไม่นานเท่านั้นหลังจากเขาลงจากตำแหน่งสิ่งที่เขากลัวก็เกิดขึ้นมาจนได้

To be continue

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น