กำเนิดสนธิสัญญาฉันทไมตรีไตรมิตร(Triple entente) ค.ศ.
1907
Triple Entente 1907 |
อย่างที่ว่านั้นเอง
เมื่ออังกฤษสามารถเข้าไปปรองดรองกับฝรั่งเศสได้แล้วทำไมจะไม่สามารถปรองดรองกับรุสเซียได้
ในเมื่อมาถึงเวลานั้นอังกฤษมองว่าชาติที่จะมีปัญหากับอังกฤษมากที่สุดคงไม่มีใครเกินไปกว่าเยอรมนีที่กำลังขยายอำนาจทางทหารของตัวเองอย่างต่อเนื่อง
ดังนั้นในเวลาดังกล่าวอังกฤษจึงเริ่มหันกลับมาใช้กุศโลบาย “มิตรของศัตรูคือศัตรูแต่ศัตรูของศัตรูย่อมคือมิตรแม้ว่าแท้จริงศัตรูของศัตรูนั้นก่อนหน้านี้เคยเป็นศัตรูของเรามาก่อน”
เมื่อจับมือกับฝรั่งเศสได้แล้วในเวลาต่อมาอังกฤษก็เริ่มหันมามองรุสเซีย
ภาพวาดแสดงถึงความไม่ลงรอยกันของรุสเซียและอังกฤษ ในเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์ |
อันที่จริงเราต้องเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างอังกฤษกับรุสเซียเสียก่อนแท้จริงนั้นรุสเซียกับอังกฤษมีปัญหากันมาตลอดเวลา
โดยเฉพาะมีความขัดแย้งกันในอดีตในเรื่องการแย่งชิงผลประโยชน์จากดินแดนสามแห่งของโลก
นั่นคือ
1.บริเวณตะวันออกใกล้
2.ตะวันออกไกล
และ 3.
ตอนกลางของทวีปเอเชีย
โดยที่ทางตะวันนออกใกล้นั้น
รุสเซียหวังเสมอมาว่ารุสเซียจะเข้าไปปลดปล่อยผู้คนแห่งคาบสมุทรบอลข่านให้หลุดพ้นจากอำนาจของตุรกี
และหวังอยู่เสมอเช่นกันที่จะเข้ายึดกรุงคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบลู)
นครหลวงของตุรกีเอาไว้เป็นของตัวเองให้ได้ซึ่งที่ผ่านมาอังกฤษก็มีนโยบายปกป้องตุรกีให้พ้นจากการรุกรานของรุสเซีย
ทั้งนี้ก็เพราะเพื่อหวังจะให้ตุรกีช่วยเหลือในการกัดกันรุสเซียไม่ให้ใหญ่เกินไป
แต่ปรากฏว่าหลังปี 1900 เป็นต้นมาเมื่อเยอรมนีเข้าไปทวีอิทธิพลของตัวเองในตุรกีเรื่อยๆ
ทำให้อังกฤษเกิดความตกใจและไม่แน่ใจว่าแท้จริงแล้วรุสเซียหรือเยอรมนีกันแน่ที่จะทำลายผลประโยชน์อังกฤษ
แผนที่แสดงพื้นที่ข้อพิพาษ 1888-1905 |
ขณะที่ทางตะวันออกไกล คือ
จีน ญี่ปุ่น และแมนจูเรียนั้น
อย่างที่รู้กันมาอย่างดีว่าอังกฤษเช้าไปแสวงหาผลประโยชน์ในแผ่นดินจีนมาอย่างยาวนานแล้ว
แต่เมื่อเข้าไปถึงในปี 1888
ปรากฏว่าชาวรุสเซียเริ่มเข้าไปมีบทบาททางการค้าในจีนมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะการเข้าไปเป็นคู่แข่งกับพ่อค้าอังกฤษในเรื่องการค้าไหมและใบชา
อีกทั้งในเวลาต่อมาเมื่อรุสเซียยกกองทัพเข้าไปยึดครองแมนจูเรียไว้จึงส่งผลให้เกิดการลงนามในสัญญาระหว่างอังกฤษกับญี่ปุ่นที่เรากล่าวไปก่อนหน้านี้นั้นเอง
อังกฤษทำสัญญาไมตรีกับญี่ปุ่นในปี 1902 ญี่ปุ่นเข้าทำสงครามกับรุสเซียในปี 1904 ดังนั้นอังกฤษเลยทำทุกวิธีทางที่จะต้องให้ญี่ปุ่นสามารถเอาชนะรุสเซียให้ได้
ซึ่งก็ประสบความสำเร็จ ค.ศ. 1905 เมื่อรุสเซียพ่ายแพ้ในสงครามรุสเซีย-ญี่ปุ่น
รุสเซียจำต้องถอยทัพออกจากแมนจูเรียเพื่อให้ญี่ปุ่นเข้าไปครอบครอง
ความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ทำให้รุสเซียเสื่อมอิทธิพลในการหาผลประโยชน์ในจีนลงไปด้วยดังนั้นการแข่งขันกันเรื่องผลประโยชน์กับอังกฤษจึงลดลงไปด้วย
ในส่วนเรื่องอำนาจในบริเวณตอนกลางของทวีปเอเชียนั้น
ก็นับเป็นดินแดนอีกแห่งหนึ่งที่เกิดความขัดแย้งกันในเรื่องการหาผลประโยชน์ของรุสเซียและอังกฤษ
กล่าวคือเมื่ออังกฤษได้แผ่อำนาจของตัวเองจากอินเดียขึ้นไปทางเหนือจนสามารถตั้งมั่นอยู่ในอัฟกานิสถาน
พร้อมกันรุสเซียก็ยกกำลังลงใต้จากไซบีเรียมาตั้งประจันที่ชายแดนอัฟกานิสถานเช่นกัน
ไม่เพียงเท่านั้นในเปอร์เซียทั้งอังกฤษและรุสเซียต่างก็เข้าไปลงทุนเพื่อหากำไรอย่างมหาศาลดังนั้นรัฐบาลของทั้งสองชาติจึงสนใจที่เข้าไปสร้างอิทธิพลในเปอร์เซีย
แต่ปรากฏว่าเมื่อปี 1905
เมื่อมีการเลือกตั้งกันใหม่ทั้งสองประเทศจนกระทั่งเปลี่ยนรัฐบาล
ประเทศทั้งสองเลยเริ่มหันหน้าเข้าเจรจากัน
กระทั่งนำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญาทางไมตรี ระหว่างอังกฤษกับรุสเซียในปี 1907 ในที่สุด
โดยมีการตกลงแบ่งเขตเปอร์เซียออกเป็นเขตอิทธิพลระหว่างอังกฤษกับรุสเซียและมีข้อตกลงว่าทั้งสองจะไม่เข้าไปแทรกแซงในทิเบต
และรุสเซียก็รับรองอำนาจของอังกฤษที่มีต่ออัฟกานิสถาน
เรียกว่าสนธิสัญญาฉบับนี้
เป็นข้อตกลงที่ไม่ต่างกันกับที่อังกฤษทำกับฝรั่งเศสเอาไว้
นั้นคือเป็นสนธิสัญญาที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า สัญญาการให้อภัยอโหสิต่อกัน
นั้นเอง
แผนที่แสดงถึงการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของแต่ละประเทศ |
และเมื่อนาวโน้มของมิตรภาพระหว่างชาติเหล่านี้ดูดีขึ้นแล้วนับแต่ปี 1905 เป็นต้น
ทำให้บรรดารัฐบุรุษของทั้งสามชาติต่างพยายามสร้างภาพให้โลกได้ประจักษ์ว่า อังกฤษ
ฝรั่งเศส และรุสเซียเป็นพวกเดียวกันแล้ว แม้ไม่ได้มีการลงนามในข้อสัญญาผูกมัดใดๆ
ก็ตาม กระนั้น
ก็มีความพยายามที่จะสร้างภาพให้ประจักษ์กันโดยเรียกพันธมิตรทั้งสามประเทศว่า
ค่ายฉันทไมตรีไตรมิตร ซึ่งถือว่าจะเป็นเครื่องถ่วงดุลค่ายพันธไมตรีไตรมิตร
ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลีในระยะแรกอยู่
และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ปัญหาระหว่างชาติที่เกิดขึ้นมาทุกปัญหาก็ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่
และยิ่งตกลงกันยากยิ่งกว่าที่เคยเป็นมา
ทั้งนี้เพราะแต่ละชาติแต่ละประเทศต่างคิดว่าตัวมีกลุ่มอำนาจการเมืองระหว่างชาติหนุนหลังอยู่ทั้งสิ้น
และเมื่อเป็นเช่นนี้เองทุกประเทศจึงตั้งมั่นพร้อมที่จะทำสงครามอยู่เสมอ
และนี่คือที่มาที่ไปของบรรดาการรวมกลุ่มพันธมิตรหรือพันธไมตรีที่เกิดขึ้นมาในระหว่างก่อนที่จะเกิดสงครามโลกครั้งที่
1 ขึ้นมา
และเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วกลุ่มสองกลุ่มนี้ก็คือกลุ่มที่ทะเลาะกันเองจนสร้างให้สงครามในครั้งนั้นกลายเป็นสงครามโลกไปในที่สุด
----
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น