วันจันทร์ที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2557

จักวรรดิบริเทน ตัวแปรของอำนาจ

     
 
     ทิ้งท้ายสำหรับตอนกำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร (Triple Alliance)
กล่าวกันว่า สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1891 นี้เป็นก้าวแรกที่นำไปสู่การสถาปนาสัญญาฉันทไมตรี (Triple Entente)
    
ฝรั่งเศส-รุสเซีย ร่วมมือกันจนทำให้เกิด สนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสอง ค.ศ. 1891

      เป็นอันว่ามาถึงจุดนี้ก็เกิดกลุ่มการเมืองของสองมหาอำนาจขึ้นมาแล้วกล่าวคือ กลุ่มแรกคือกลุ่มที่เกิดจากการสถาปนาสัญญาพันธไมตรีไตรมิตร ค.. 1882 ที่มีเยอรมนี ออสเตรีย และอิตาลีกับอีกกลุ่มคือเกิดจากสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีฝรั่งเศส รุสเซีย หรือสนธิสัญญาสัมพันธไมตรีสองประเทศ ค.. 1894 แล้ว ประเทศในทวีปยุโรปก็แบ่งออกเป็นสองค่ายอย่างชัดเจน และเป็นปฏิปักษ์ต่อกันอีกต่างหาก
   
      ยังมีจักวรรดิสำคัญที่ขาดเหลือไม่ได้เข้าร่วมสังฆกรรมกับการรวมตัวร่วมกลุ่มในครั้งนี้อยู่ก็อีกประเทศเดียวนั้นก็คือ อังกฤษ หรือจักวรรดิบริเทน บทความต่อไปนี้จะพูดถึงจักรวรรดิบริเทนใหญ่ หรืออังกฤษ จักรวรรดิที่ทรงอำนาจของโลกเวลานั้นมากๆ หรือเรียกง่ายนั้นก็คือ ตัวแปรของอำนาจ มาร่วมกันติดตามไปกันเลยว่าอังกฤษนั้นจะมีทีท่ายังไงกับสถาณการณ์ ณ ตอนนนั้น

จักวรรดิบริเทนใหญ่กับสัญลักษณ์ของจักวรรดิคือ สิงโต

   จักรวรรดิบริเทน ตัวแปรอำนาจ
   
      นับแต่ปี 1890 เป็นต้นมา บริเทนใหญ่ก็เริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่าการวางตัวลำดำเนินนโยบายอยู่ตามลำพังจะถือว่าเป็นความฉลาดหรือไม่ในเวทีการเมืองโลกหรือยุโรปในเวลานั้น
    
      อีกทั้งก็ต้องคิดว่าเป็นการฉลาดหรือไม่ ที่แม้จะวางตัวเป็นกลางในเวลานั้นก็จริงอยู่ แต่การกระทบกระทั่งกันอยู่เสมอและหวิดจะก่อให้เกิสงครามกับรุสเซียและฝรั่งเศสในเรื่องอาณานิคมก็เกิดขึ้นมาอยู่เสมอ โดยสาเหตุก็มาจากเรื่องของดินแดนในอาณานิคม แต่กระนั้นจักรรวรรดิบริเทนใหญ่ก็ได้แต่คิดเท่านั้น

เหล่านักรบโบเออร์กำลังประจำที่เพื่อทำสงครามกับอังกฤฤษ
   ่
      ต่อเมื่อถึงปี 1899 – 1902 ปรากฏว่าได้เกิดสงครามโบเออร์*** ขึ้นมาประเทศใหญ่ๆ ทางภาคพื้นยุโรปไม่ว่า ฝรั่งเศส รุสเซียและเยอรมนี ได้คิดการที่จะเข้าไปบังคับอังกฤษให้ยุติการรบกับพวกโบเออร์ แม้แนวคิดที่จะร่วมมือกันบังคับให้อังกฤษหยุดและสร้างสันติภาพขึ้นจะไม่ได้เกิดขึ้นมาจริงเพราะมหาอำนาจทั้งสามต่างเกรงในแสนยานุภาพของอังกฤษในเวลานั้นอยู่กระนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นหรือแนวคิดที่ได้ยินมานี้ก็ทำให้อังกฤษต้องหันกลับมาคิดและพิจารณาให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในนโยบายการวางตัวโดดเดี่ยวของตัวเอง…. อังกฤษเริ่มกลับมาลองทบทวนและถามตัวเองแล้ว สำหรับพาทต่อไปเรามาดูกันต่อว่าอังกฤษจะมีทีท่ายังไง

Paul Kruger, photograph from 1879
นักรบของโบเออร์กับสงครามครั้งแรกของดินแดนแห่งนี้

      ***สงครามโบเออร์ เกิดจากพวกดัดช์เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่แหลมกู๊ดโฮปนับแต่ปี 1652 ครั้นถึงปี 1795 กองกำลังของอังกฤษก็เดินทางมาถึง จากนั้นศตวรรษที่ 19 ทั้งอังกฤษและฮอลันดาต่างก็เริ่มขยายอาณานิคมของตนในภูมิภาคนี้ จนกระทั่งปี 1879 อังกฤษก็เริ่มแผ่ขยายดินแดนครอบครองดินแดนของพวกโบเออร์ พวกโบเออร์ นำโดยครูเกอร์ นำพลพรรเข้าต่อต้านอังกฤษ ในปี 1880 นับเป็นสงครามโบเออร์ครั้งแรก การรบบนดินแดนแห่งนี้ระหว่างอังกฤษกับพวกโบเออร์ ดำเนินมาจนถึงปี 1902 จึงยุติลงด้วยการเจรจาสงบศึก
การเจรจายุติสงบศึกระหว่าง พอล ครูเกอร์ กับ เซอร์เอเฟอริน วู๊ด O'Neill's cottage near Amajuba Hill


To be continue

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น