วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กำเนิดภาคีสัญญาพันธมิตร v.2

     

สันนิบาตสามจักรพรรดิ


….ต่อ แต่ทั้งหลายทั้งมวลที่บิสมาร์คคิดก็ใช่ว่าเขาจะมั่นใจเสียทีเดียว บิสมาร์คยังมองการณ์ไกลไปกว่านั้นกล่าว คือเขาเห็นว่าทางที่ดีที่สุดในการกีดกันฝรั่งเศสไม่ให้สามารถรวมกำลังกับชาติอื่นๆ เพื่อกลับมาเล่นงานเยอรมนีได้นั่นก็คือ การทำให้เยอรมนีได้นั่นก็คือ การทำให้เยอรมนีกลายเป็นศูนย์กลางของสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศให้มีอำนาจกว่าอีกกลุ่มสัมพันธไมตรีที่ฝรั่งเศสอาจตั้งขึ้นมาได้ในเวลาต่อมา ดังนั้นแนวความคิดเรื่องการรวมกลุ่มประเทศมหาอำนาจเพื่อคานอำนาจเพื่อคานอำนาจคนอื่นก็เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก
     
      โดยที่การรวมกลุ่มกันครั้งแรกนั้นเริ่มที่เยอรมนีโดยบิสมาร์คคิดทำสัมพันธไมตรีกับรุสเซียและออสเตรียก่อน โดยเกิดการลงนามเซ็นสัญญากันขึ้นเป็นครั้งแรกในปี 1872 เรียกกันว่า สัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิ
    
จากซ้ายฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย
กลางไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1
ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2

      สันนิบาตสามจักรพรรดิ มีอายุระหว่าง ค.. 1872-1876 เกิดขึ้นเมื่อโดยการลงนามของสามจักรพรรดิของสามชาติ คือ จักวรรดิเยอรมนี รุสเซีย และออสเตรีย
    
      ต้องเข้าใจกันก่อนว่า ก่อนที่ปรัสเซียจะรวมตัวและกลายเป็นจักรพรรดิเยอรมนีนั้นครั้งหนึ่งปรัสเซียเคยเข้าไปช่วยเหลือรุสเซียในการปราบกบฏชาวโปลซึ่งเกิดขึ้นในปี 1863 จึงถือว่าทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์กันอยู่บ้าง ขณะที่กับออสเตรียนั้น แม้ว่าออสเตรียจะแพ้สงครามกับปรัสเซียมาก่อนแต่นโยบายที่ปรัสเซียนำมาใช้กับผู้แพ้สงครามก่อนหน้านั้นที่โอนอ่อนผ่อนปรนกันมาก็ทำให้ออสเตรียเกิดความรู้สึกที่ดีอยู่ไม่น้อย
    
      ครั้นเมื่อบิสมาร์คเจรจาทาบทามประเทศทั้งสอง ทั้งสองฝ่ายจึงสามารถโอนอ่อนเข้าหากันได้ โดยในเดือนกันยายน 1872 กษัตริย์ทั้งสามพระองค์คือ ฟรานซิส โจเซฟแห่งออสเตรีย ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย และไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 1 แห่งเยอรมนี ได้ทรงพบกันที่กรุงเบอร์ลินและอีกหนึ่งปีต่อมาก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาสามจักรพรรดิขึ้น
    
      กระนั้นสนธิสัญญาในการรวมตัวและช่วยเหลือกันนี้ก็มีปัญหา ทั้งนี้เพราะไม่ได้คำนึงถึงกรณีความสัมพันธ์ของรุสเซียและออสเตรีย โดยเฉพาะการที่ออสเตรียและรุสเซียแย่งชิงกันเข้าไปมีอำนาจทางคาบสมุทรบอลข่านอยู่ ดังนั้นผลจากความแตกแยกนี้ก็ทำให้สนธิสัญญาไม่ยืนยาว*** และต้องปิดฉากลงในปี 1876 กล่าวคือหลังเกิดความแตกแยกระหว่างสองชาติแล้วก็นำมาสู่การลงนามในสนธิสัญญาใหม่ ครานี้เรียกกันว่า สัญญาไมตรีสองประเทศ ค.. 1879…
To be continue

แผนที่แสดงบริเวณคาบสมุทรบอลข่าน

***ปัญหาของรุสเซียและออสเตรียในคาบสมุทรบอลข่านที่ว่านี้ เกิดขึ้นเมื่อปี 1875 เมื่อบอสเนียเฮอร์เซโกวินา และบัลแกเรียซึ่งตั้งอยู่บนคาบสมุทรบอล่าน แต่เวลานั้นอยู่ภายใต้การปกครองของตรุกี(ออตโตมัน)ได้ก่อกบฏขึ้นมา 

Russian-Turkish War, 1877-1878.
     
      ทำให้รุสเซียฉวยโอกาสที่เกิดความวุ่นวายขึ้นมาในครั้งนั้นประกาศสงครามกับตรุกีในปี 1877 และตุรกีก็เป็นฝ่ายปราชัยจำเป็นต้องลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพซานสเตฟานโนเมื่อปี 1878 กับรัสเซีย 
    
การลงนามสนธิสัญญาซานสเตฟานโน 1878
      ซึ่งเงื่อนไขในสัญญาฉบับนี้เปิดโอกาสให้รุสเซียสามารถขยายอิทธิพลเข้าไปในคาบสมุทรบอลข่านอย่างมหาศาล ทำให้ออสเตรียตกใจ ทั้งนี้เพราะออสเตรียมีนโยบายที่จะขยายอำนาจไปทางคาบสมุทรบอลข่านเหมือนกัน อังกฤษเข้าสนับสนุนออสเตรียเพราะต้องการใช้ออสเตรีย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น