เรียกว่าสัญญาฉบับนี้มีเอาไว้เพื่อป้องกันรุวเซียเป็นหลักและฝรั่งเศสเป็นรองนั้นเอง
แต่ปรากฏในเวลาต่อมาว่า
ได้มีความพยายามที่จะให้มีการกลับมาต่อสัญญาสันนิบาตสามจักรพรรดิขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง
กล่าวคือ หลังสิ้นสุดสัญญาฉบับนี้ลงไปแล้ว
แท้จริงนั้นบิสมาร์คก็ยังเสียดายสัญญาฉบับนี้อยู่
โดยเฉพาะอย่ายิ่งพระเจ้าไกเซอร์ที่ 1 แห่งเยอรมนีก็ได้ทรงยืนยันให้มีการต่อสัญญาขึ้นมาใหม่
อีกทั้งเมื่อเวลาผ่านไปรุสเซียก็เริ่มมีความคิดที่อยากจะกลับมาต่อสัญญากับเยอรมนีอีกครั้งหนึ่ง
ทำให้เกิดการเจรจารอบใหม่ ประจวบกับทางออสเตรียในเวลานั้นมีผลกระทบจากการได้เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษของนายแกลดสตันซึ่งเป็นบุคคลที่จงเกลียดจงชังออสเตรีย
ทำให้ออสเตรียจำเป็นต้องแสวงหาพันธมิตร เมื่อมีการทาบทามออสเตรียจึงยินยอมแต่โดยดีที่จะกลับมาลงนามอีกหนหนึ่ง
ดังนั้นในเดือนมิถุนายน 1881 สัญญาฉบับนี้ก็ได้รับการต่อายุอีกครั้ง
สัญญานี้พอจะสรุปเงื่อนไขได้ว่า
ในกรณีที่ประเทศหนึ่งประเทศใดยกเว้นตุรกี้(ออตโตมัน) บุกรุกประเทศในสัญญา ทุกฝ่ายจะวางตัวเป็นกลางแต่หากว่าตุรกีบุกรุกเประเทศใดประเทศหนึ่ง
ทุกฝ่ายจะต้องมาตกร่วมกันว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป
และต้องปล่อยให้คายสมุทรบอลข่านดำรงอยู่เช่นที่เป็นอยู่ในเวลานั้น
โดยที่ทุกฝ่ายต้องไม่เข้าไปเกี่ยวข้องยกเว้นแต่เรื่องที่ออสเตรียสามารถเข้ารวบรวมมนฑลบอสเนียและเฮอร์เซโกวินาได้
กับอีกกรณีคือโรมาเนียที่รุสเซียจะสามารถเข้าไปดำเนินการได้ตามแต่สะดวก
ซึ่งสัญญาฉบับนี้ก็ใช้ได้สมัยหนึ่งคือ 3 ปี แต่มีการต่ออายุอีกครั้งในปี 1884
แต่ปรากฏว่าเมื่อถึงปี 1887 สัญญานี้ก็ต้องเลิกไปเพราะรุสเซียกับออสเตรียมีปัญหากันในเรื่องคาบสมุทรบอลข่านอีกครั้งหนึ่ง…
To be continue
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น