สงครามบอลข่านครั้งที่ 2 ค.ศ. 1913
เมื่อเซอร์เบียบถูกออสเตรีย – ฮังการี
และอิตาลีกันท่าในอัลเบเนียแล้ว แต่ตนเองยังต้องการทางออกทะเละอยู่ ดังนั้นเซอร์เบียจึงหันไปขอส่วนแบ่งในมาซิโดเนียจากบัลแกเรียเพิ่มมากยิ่งขึ้น
บัลแกเรียก็รีบออกมาปฏิเสธ โดยมีรุสเซียหนุนหลังอยู่บัลแกเรียที่อดีตก็ไม่เคยถูกกับเซอร์เบียอยู่แล้วจึงส่งกำลังออกไปโจมตีกองทหารองเซอร์เบียกับกรีซทางมาซิโดเนียในเดือนมิถุนายน
1913
มอนเตเนโกร โรมาเนีย
และตุรกี ก็กระโดดเข้าร่วมรบกับฝ่ายของเซอร์เบียกับกรีซ
การที่ตุรกีกระโดดเข้ามาร่วมด้วยก็เพราะตุรกีหวังว่าหากเป็นไปได้ตนเองอาจจะได้รับดินแดนทางแคว้นเทรซซึ่งก่อนหน้านี้บัลแกเรียแย่งเอาไปก่อนแล้วคืนได้
สงครามครั้งนี้การสู้รบกันอย่างหนัก จนสุดท้ายบัลแกเรียสู้ไม่ไหว
ต้องยอมแพ้และยอมรับเงื่อนไขในสนธิสัญญาบูคาเรสต์ เมื่อเดือนสิงหาคม 1913
โดนเนื้อหาตามสนธิสัญญานี้มีว่า
บัลแกเรียจะได้รับส่วนแบ่งในดินแดนมาซิโดเนียน้อยลงกว่าที่ได้ตกลงไว้เดิมมาก
และเซอร์เบียก็จะได้ดินแดนทางมาซิโดเนียมากกว่าบัลแกเรียซึ่งก็ทำให้เซอร์เบียใหญ่โตขึ้นกว่าเดิม
แต่ก็ยังไม่มืทางออกทะเลอยู่ดี ส่วนกรีซก็จะได้รับเมืองสโลนิกาและฝั่งทะเลทางแคว้น
เทสสาลี ทั้งบัลแกเรียยังต้องยกโดยรุดจาตอนใต้ให้แก่โรมาเนีย
ส่วนตุรกีจะเหลือดินแดนทางยุโรปเพียงแค่ด้านตะวันออกของแคว้นเทรซและเมืองเอเดรียนโนเปิล
บรรดาวิกฤตการณ์และสงครามที่เกิดขึ้นมานี้
ล้วนแต่เป็นตัวจุดประกายของสงครามใหญ่ที่กำลังจะเกิดขึ้นมาทั้งสิ้น
แม้วิกฤตการณ์จะผ่านพ้นไปแล้วแต่ว่ากันว่าหลังสิ้นสงครามบอลข่านภัยแห่งสงครามได้แผ่เข้าครอบงำทวีปยุโรปเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น
แม้สงครามการต่อสู้บนคาบสมุทรบอลข่านจะยุติลงแล้วก็ตามแต่คาบสมุทรแห่งนี้ก็ยังคงอยู่ในสภาพยุ่งเหยิง
บัลแกเรียต้องการแก้แค้นเซอร์เบีย
ส่วนเซอร์เบียเมื่อได้ดินแดนมาเพิ่มจนประเทศตนเองใหญ่โตขึ้นเป็นสองเท่าก็ยิ่งกระหายที่จะสร้าง
“มหาอาณาจักรเซอร์เบีย” โดยมองแหละหวังว่าจะรวมเอาดินแดนซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของชาวสลาฟจากจักรวรรดิออสเตรีย
– ฮังการี มาไว้เป็นของตน โดยรุสเซียก็สนับสนุนอย่างเต็มที่
ทั้งนี้เพราะมองว่าตนเองจะได้กลายเป็นมหานาจยุโรปตะวันออกเฉียงใต้อย่างแท้จริง
อีกทั้งความต้องการที่จะได้ใช่ช่องแคบดาร์คเนลส์กับช่องแคบฟอรัสได้สะดวก ซึ่งแผนการนี้รุสเซียก็ไปขัดแย้งกับแผนของเยอรมนีที่ต้องการสร้างทางรถไฟจากเบอร์ลินไปยังแบกแดดและต่อออกไปจนถึงอ่าวเปอร์เซีย
ตุรกีนั้นอนุญาตให้เยอรมนีสร้างได้แต่ส่วนหนึ่งของเส้นทางนี้ก็ยังต้องผ่านเซอร์เบียอยู่ดี
ดังนั้นเยอรมนีจึงต้องยืนยันแข็งขันไม่ให้ชาวสลาฟรวมตัวกันได้
มาถึงชั่วโมงนี้ประเทศทั้งหมดในยุโรปต่างรู้อยู่แก่ใจทั่วไปแล้วว่า
การแย่งกันแสวงหาผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นไปทั่วนี้เกิดจะนำมาซึ่งสงคราม
ทางออกเดียวที่ทำได้เวลานั้นก็คือ แต่ละประเทศต้องเตรียมตัวให้ดีที่สุด เพื่อว่าเวลาเกิดเรื่องขึ้นมาตนเองจะได้สามารถเข้าปฏิบัติการได้ทันทีทันใด
เยอรมนีและฝรั่งเศสเพิ่มกำลังทหารบกของตนเอง
ส่วนอังกฤษรัฐสภาก็ออกเสียงเพิ่มงบประมาณมหาศาลแก่กองทัพเรือของตนเอง
เยอรมนีและตุรกีตกลงให้นายเยอรมนีเข้าฝึกวิชาทหารให้แก่กองทัพตุรกี
แถมยังมีข้อตกลงอีกว่าเมื่อฝึกเสร็จแล้วก็จะให้ทหารเหล่านั้นอยู่ใต้การบังคับบัญชาการของนายทหารเยอรมนี
แม้แต่เบลเยียมก็นำเอาวิธีการเกณฑ์พลเมืองเข้ามาเป็นทหารแบบเยอรมนีมาใช้
ทั้งนี้ก็เพื่อเตรียมตัวเอาไว้เพราะถึงเวลานั้นเยอรมนีได้สร้างทางรถไฟจนมาประชิดชายแดนเบลเยียมแล้ว
ก็หมายความว่าหากเกิดสงครามขึ้นมาเยอรมนีต้องยกพลผ่านเบลเยียมไปยังฝรั่งเศสอย่างแน่นอน
ทั่วภาคพื้นยุโรปทุกคนรู้ดีว่าสงครามใหญ่ใกล้จะปะทุขึ้นทุกที
- - -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น