วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สงครามโลกครั้งที่ 1 #แนวรบด้านตะวันตก

สงครามโลกครั้งที่ 1

สงคราม ค.. 1914 – 1915
     
       หลังจากที่กระสุนนัดแรกดังขึ้นมาแล้ว แผนการ การสงครามก็ถูกนำมาใช้อย่างต่อเนื่อง
       
       บทความบทนี้จะนำเสนอ ถึงแต่ละจุดของสงครามไม่ว่าจะเป็นทิศเหนือ ใต้ ออก ตก หรือแม้กระทั่งคาบสมุทรต่างๆ โดยจะเริ่มจาก แนวรบด้านตะวันตกก่อน
    
       ตอนที่ 1  แนวรบด้านตะวันตก เยอรมนี ฝรั่งเศส ในสงครามแห่งลุ่มแม่น้ำมาร์น (Maene)
   
       ในแนวรบด้านตะวันตกนี้ หมายถึงการรุกเพื่อเข้าไปโจมตีฝรั่งเศสของเยอรมนี
    
       กล่าวกันว่าแผนสงครามดั้งเดิมของเยอรมนีนั้นมีความมุ่งหมายที่จะทุ่มเทกำลังทหารเข้าสู่ฝรั่งเศส และจะโจมตีฝรั่งเศสให้ชนะโดยเร็วที่สุด คือไม่เกินสองหรือสามสัปดาห์ ซึ่งการที่จะให้สำเร็จดังนี้ จะต้องดำเนินไปตามที่แผนที่ชื่อว่า ชลีฟเฟน
     
แผนที่แสดงแนวรบบริเวณแม่น้ำมาร์น(Marne)
       
       นั่นคือ ต้องทุ่มเทกองทัพจำนวนมากเข้าสู่ฝรั่งเศสโดยผ่านทางเบลเยียมเพราะเป็นทางตัดตรง แล้วจะตีโอบเป็นวงล้อมกองทหารฝรั่งเศสซึ่งเยอรมนีคาดเอาไว้ว่าจะมาตั้งรับอยู่ทางอัลชาช
      
       แผนการชลีฟเฟนนี้เป็นแผนที่ ชลีฟเฟน ซึ่งเป็นประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการของเยอรมนีเป็นผู้คิดขึ้น และถือกันว่าเป็นแผนยุทธศาสตร์ชิ้นเยี่ยม แต่ปรากฏ มอลต์เก ซึ่งได้เข้ารับตำแหน่งประธานคณะนายทหารฝ่ายเสนาธิการแทนชลีฟเฟนได้ปรับปรุงแผนนี้เสียจนกระทั่งแผนไม่ได้ให้ผลอย่างที่คาดเอาไว้แต่ต้นเลย
     
       ทั้งนี้เพราะมอลต์เก ได้ทำให้ปีกขวาของกองทัพใหญ่อ่อนกำลังลงทำให้ขาดกำลังที่จะเป็นในการจะตีเข้าโอบล้อมทหารฝรั่งเศส
      
ทหารฝรั่งเศสในยุทธการแม่น้ำมาร์น
       แต่เดิมแผนการชลีฟเฟนได้มีเป้าหมายเพื่อให้ปีกขวาของกองทัพเยอรมนีโจมตีเข้าสู่ทางตะวันตกของกรุงปารีส อย่างไรก็ตาม ด้วยความเชื่องช้าและความไร้ประสิทธิภาพของพาหนะม้าลากขัดขวางรถไฟขนเสบียงของเยอรมนี ทำให้กองทัพพันธมิตรสามารถหยุดยั้งการรุกของเยอรมนีได้ ยุทธภูมิแม่น้ำมาร์นครั้งที่ 1 ( 5- 12 กันยายน )
      
       ฝ่ายฝรั่งเศสนั้นแม้ว่าจะเพลี่ยงพล้ำไปในสัปดาห์แรก ๆ เพราะถูกโจมตีโดยไม่ทันได้ตั้งตัว กระนั้นภายใต้การบังคับบัญชาของนายพลยอฟร์ กองทัพก็สามารถฟื้นตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว กองทัพบกของฝรั่งเศสสามารถต้านทานการรุกของเยอรมนีได้อย่างกล้าหาญ
   
ทหารฝรั่งเศสตั้งแนวรับหลังคลองแม่น้ำมาร์น
   
       กล่าวว่า การรบอย่างเด็ดขาดเกินขึ้นครั้งแรกที่แม่น้ำมาร์น ซึ่งเกิดขึ้นในเดือนกันยายน ประมาณวันที่ 5-12 โดยที่ทั้งสองฝ่ายได้เข้ารบกันอย่างดุเดือนและเมื่อเยอรมนีไม่สามารถยึดกรุงปารีสเอาไว้ได้การรบของทั้งสองฝ่ายจึงต้องหยุดลงลงโดยที่เยอรมนีได้ถอยกำลังไปตั้งมั่นที่แวร์ดัง ที่นี่เองว่ากันว่าเยอรมนีสามารถสังหารทหารพันธมิตรได้มากกว่า 230,000 คน แม้ฝ่ายพันธมิตรจะพยายามขับไล่แต่ก็ไม่สำเร็จแถมเยอรมนีก็ได้พยายามเข้ายึดเมืองท่าต่างๆ ทางบริเวณช่องแคบ ทั้งนี้เพื่อที่จะขับไล่อังกฤษให้พ้นจากแผ่นดินทวีปออกไปแต่ก็ยังไร้ผล
    

       กระทั่งสิ้นปี 1914 แนวรบด้านตะวันตกนี้ยังอยู่คงที่ แม้จะมีความเปลี่ยนแปลงบ้างก็เป็นเรื่องเล็กเรื่องน้อย เหตุการณ์คงที่อยู่เช่นนั้นถึงสามปี
     
สภาพเมืองบริเวณแม่น้ำมาร์นหลังสงครามสงบ
       สงครามในแนวรบด้านตะวันตกนี้กลายเป็นสงครามที่คู่ปฏิปักษ์ทั้งสองฝ่ายต่างใช้สนามเพลาะเป็นที่มั่นกำบังตน แล้วหาทางสังหารฝ่ายตรงข้ามจนกว่าจะล้มตายไปตามๆ กัน หรือจนกว่าจะหมดกำลังยอมแพ้กันไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
     
       แนวรบด้านตะวันตกมีความยาวจากทะเละเหนือลงมาทางใต้ถึงสวิส คือยาวทอดตามแนวเส้นกั้นเขตแดนฝรั่งเศสและเยอรมนี เว้นไว้เสียแต่ดินแดนในฝรั่งเศสและเบลเยียมที่อยู่ในความยึดครองของเยอรมนี เยอรมนียึดครองเบลเยียมได้เกือบทั้งประเทศ และได้เข้ายึดครองดินเดนของฝรั่งเศสอีก 21,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งในดินแดนส่วนนี้เป็นแหล่งแร่และถ่านหินที่สำคัญ

     
แม่น้ำมาร์นในปัจจุบัน ในฝรั่งเศส
       การรบที่แม่น้ำมาร์นได้ยุติปัญหาทางแนวรบด้านตะวันตกเป็นระยะเวลาถึงสามปี ในที่สุดได้ทำให้เยอรมนีต้องพ่ายแพ้ในสงคราม ความหวังเยอรมนีเคยยึดมั่นเอาไว้ว่าจะมีชัยชนะอย่างรวดเร็วและสุดท้ายมีเวลา ทำให้สัมพันธมิตรสามารถหาทางเอาชนะเยอรมนีได้ในที่สุด---

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น